คปท.ออกแถลงการณ์ให้ รบ.จัดการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งภายในปี 2563

เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (คปท.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง ให้รัฐบาลจัดการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งภายในปี 2563

ระบุว่า ​นับตั้งแต่รัฐประหารภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ใช้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 85/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว รวมทั้งใช้อำนาจ ม.44 แต่งตั้งผู้บริหารท้องถิ่น จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 6 ปีเต็มที่รัฐบาลได้แช่แข็งการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น แม้รัฐบาลได้กล่าวอย่างต่อเนื่องว่าได้มีการเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งท้องถิ่นและการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น แต่ระยะเวลาที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจและรัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งท้องถิ่นและการปกครองท้องถิ่นที่เป็นองค์กรรากฐานของระบอบประชาธิปไตย

​ตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลใช้อำนาจแช่แข็งการปกครองท้องถิ่นนั้น ได้สร้างปัญหาให้กับการปกครองท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสียโอกาสในการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาสาธารณะที่กระทบต่อชีวิตประชาชนในท้องถิ่น นอกจากนี้ รัฐบาลยังเปิดโอกาสให้ข้าราชการส่วนภูมิภาคแทรกแซงกระบวนการบริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการทำลายหลักการการปกครองท้องถิ่นอย่างเลวร้ายและไม่สมควรเกิดขึ้น

​การแช่แข็งการปกครองท้องถิ่นโดยไม่มีการเลือกตั้งผู้บริหารและสภาท้องถิ่นมานาน 6 ปีเต็ม ได้ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลายเป็นหน่วยกลไกของรัฐบาล จัดทำดำเนินโครงการต่างๆ ตามคำสั่งของรัฐบาล ฝ่ายบริหารท้องถิ่นขาดการริเริ่มสร้างสรรค์ ขาดการสร้างนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาท้องถิ่น ขาดความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาของประชาชนในท้องถิ่น บุคลากรมีจิตใจทำงานแบบราชการประจำดั้งเดิมที่ขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาเป็นสำคัญ เกิดสภาพการบริหารท้องถิ่นที่ไร้ประสิทธิภาพ มีการทุจริตอย่างต่อเนื่องและไร้กระบวนการตรวจสอบที่แท้จริง ผู้นำท้องถิ่นอยู่ในอำนาจนานเกินวาระทำให้เกิดการสร้างอำนาจอิทธิพลในท้องถิ่น ทำลายหลักธรรมาภิบาลในการปกครองท้องถิ่น ทำลายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ทำลายสิทธิอำนาจของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการปกครองท้องถิ่นที่ต้องเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ตามหลักประชาธิปไตย

Advertisement

​ดังนั้น หากไม่มีการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ย่อมเท่ากับรัฐบาลมีเจตนาทำลายประชาธิปไตยท้องถิ่น ซึ่งเป็นรากฐานระบอบประชาธิปไตยของชาติ และเป็นผลประโยชน์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนทั้งประเทศ ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่นจึงเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งภายในปี 2563 เพื่อที่จะได้เริ่มต้นฟื้นฟูการปกครองท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง

อาจารย์และนักวิชาการลงนามในแถลงการณ์เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (คปท.)

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์​สถาบันรัฐศาสตร์ ม.รังสิต
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว​​คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุฑฒจักร สิทธิ​​รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร
4. อาจารย์ วิชาญ ฤทธิธรรม​​​​รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัญชลี รัตนะ​​​รัฐศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง ม.สวนดุสิต
6. ดร.ธรรมรัตน์ โพธิสุวรรณปัญญา​​​คณะรัฐศาสตร์ มรภ.ชัยภูมิ
7. อาจารย์ คมลักษณ์ ไชยยะ​​​​คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา
8. อาจารย์ ศราวุฒิ วิสาพรม​​​​วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บูฆอรี ยีหมะ​​​รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.สงขลา
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัฐพล​ ฤทธิธรรม​​​รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร
11. รองศาสตราจารย์ ดร.อลงกรณ์ อรรคแสง​​วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วินัย ผลเจริญ ​​วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ ​วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น
14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ ​​การปกครองท้องถิ่น มรภ.พระนครศรีอยุธยา
15. อ.ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ ​​​​การพัฒนาสังคม มรภ.ราชนครินทร์
16. อาจารย์ ปฐมพงศ์ มโนหาญ ​​​สำนักวิชานวัตกรรมสังคม ม.แม่ฟ้าหลวง
17. อาจารย์ ศิริลักษณ์ ศรีกล่ำ ​​​​การสอนภาษาไทย ม.กาฬสินธุ์
18. อาจารย์ อรอนงค์ โรงรักษา ​​​ภาษาญี่ปุ่น มรภ.ราชนครินทร์
19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพพร ขุนค้า ​​​รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.ราชนคนินทร์
20. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มูนีเราะฮ์ ยีดำ​​​รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา
21. อาจารย์ ปราโมทย์ ระวิน ​​​​ภาษาไทย มรภ.พระนครศรีอยุธยา
22. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน ​ปรัชญาสังคมและวัฒนธรรม มรภ.มหาสารคาม
23. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปกาศิต เจิมรอด​​​นิติศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา
24. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ​​​​คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.ลำปาง
25. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ​คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
26. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาตยา อยู่คง​​​คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
27. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน ​​คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
28. อาจารย์ ศุภกร ชมศิริ ​​​​คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ
29. ทศพล กรรณิกา ​​​​​นักศึกษาปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
30. อาจารย์ ดร.ศิริพงษ์ ทองจันทร์ ​​​รัฐศาสตร์ มรภ.มหาสารคาม
31. อาจารย์ ตราดุลย์ นรนิติผดุงการ ​​​นิติศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา
32. อาจารย์ จรัส ประจันพาณิชย์​​​คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
33. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล ​​คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
34. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกรินทร์ ต่วนศิริ ​​คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
35. รองศาสตราจารย์ ดร.สามารถ ทองเฝือ ​​คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
36. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฮัสบุลเลาะ อาศิสสกุล ​​รัฐประศาสนศาสตร์ ม.ฟาฏอนี
37. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มูฮัมหมัด อิลยาส หญ้าปรัง ​คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
38. อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.อนิรุต หนูปลอด ​​การเมืองและการปกครองท้องถิ่น ม.แม่โจ้-ชุมพร
39. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ชุมพล แก้วสม ​การเมืองและการปกครองท้องถิ่น ม.แม่โจ้-ชุมพร
40. อาจารย์ เกศศิรินทร์ มัธยทรัพย์ ​​​โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ม.มหิดล
41. อาจารย์ งามศุกร์ รัตนเสถียร ​​​สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
42. อุเชนทร์ เชียงเสน ​​​​สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
43. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนิต โตอดิเทพย์ ​​คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.บูรพา
44. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร ​​สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
45. รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ ​​คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
46. อาจารย์ ดร.ธนาวิ โชติประดิษฐ ​​​คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร
47. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ บังเพลิง ​​คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ม.มหาสารคาม
48. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวัช ศรีโภคางกุล ​​วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น
49. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ ​​วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
50. รองศาสตราจารย์ ดร.รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข​​รัฐศาสตร์ ม.บูรพา
51. อาจารย์ ฌญาพัทร์ ธัญญกิจ ​​​รัฐศาสตร์ ม.บูรพา​
52. อาจารย์ จิรายุทธ์ สีม่วง ​​​​รัฐศาสตร์ ม.บูรพา
53. ชัยพงษ์ สำเนียง ​​​​​ประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
54. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรัช คมพจน์ ​​​สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
55. ดร.อันธิฌา แสงชัย​​​​ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
56. อาจารย์ สุริยานนท์ พลสิม ​​​​วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น
57. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ​​​​คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
58. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ​​​​คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
59. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิพัฒน์ สุยะ ​​​คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
60. อาจารย์ ธวัชชัย ป้องศรี ​​​​วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
61. อาจารย์ ปฤณ เทพนรินทร์​​​​วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
62. นายอลงกรณ์ ศิลปดอนบม ​​​​นิสิตปริญญาเอก วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
63. นายกฤดิทัต ฉายไสว​​​​นิสิตปริญญาเอก วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
64. นายสุนันท์ คำลุน​​​​​นิสิตปริญญาเอก วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
65. นายโสภณวิชญ์ ผ่องลำเจียก​​​นิสิตปริญญาเอก วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
66. อาจารย์ จ.ส.ต. ดร.รัฐ กันภัย​​​รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.เพชรบุรี
67. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน​​รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.เพชรบุรี
68. ดร.กรวิทย์ เกาะกลาง ​​​​รัฐประศาสนศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี
69. สรพจน์​ เสวน​คุณากร​ ​​​​คณะ​ศิลปศาสตร์​ ม.อุบล​ราชธานี​
70. อาจารย์ วรางคณา ปัญญามี ​​​คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.พระนครศรีอยุธยา
71. รองศาสตราจารย์ สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณ ​​อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
72. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น ​​เลขาธิการกลุ่มส่งเสริมธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
73. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไททัศน์ มาลา ​​คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ
74. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดารารัตน์ คำเป็ง​​​คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.พะเยา
75. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์​​คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.พะเยา
76. อาจารย์ เกรียงไกร ศรีโนนเรือง​​​รัฐศาสตร์ มรภ.สกลนคร
77. กล่อมศรี สิทธิศักดิ์ ​​​​นักศึกษาปริญญาเอก รัฐศาสตร์ มรภ.มหาสารคาม
78. ขวัญชัย เกิดแดน ​​​​​คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
79. รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน ​​รัฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง ม.สวนดุสิต
80. อาจารย์ ดร.ขนิษฐา สุขสง​​​​คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
81. ศาสตราจารย์ ทักษ์ เฉลิมเตียรณ​​อดีต Director of the Southeast Asia Program, Cornell University, USA
82. ดร.พัชราภา ตันตราจิน ​​​​คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา
83. ธนรัตน์​ มังคุด​​​​​สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
84. ทับทิม ทับทิม​​​​​นักวิจัยสมทบ RCSD คณะสังคมศาสตร์ ม. เชียงใหม่
85. ภัสสรา บุญญฤทธิ์ ​​​​นักศึกษาปริญญาเอกสาขา Gender and Development Studies (GDS), Asian Institute of Technology (AIT)
86. พัชรี มณีไพโรจน์​​​​​นักศึกษาปริญญาเอก รัฐศาสตร์ มรภ.มหาสารคาม
87. นพพล แก่งจำปา ​​​​​ภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.มหาสารคาม
88. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรวัฒน์ ขวัญใจ ​​​คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
89. ศักรินทร์ ณ น่าน ​​​​​คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
90. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรพศ ทวีศักดิ์ ​​​ม.สวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งหัวหิน
91. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานุภาพ รักษ์สุวรรณ์ ​​รัฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง ม.สวนดุสิต
92. ณัฐกร วิทิตานนท์ ​​​​​รัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.เชียงใหม่​​
93. ดร.นพพล อัคฮาด ​​​​วิทยาการจัดการ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
94. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บูชิตา สังข์แก้ว ​​รัฐศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง ม.สวนดุสิต
95. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดนุสรณ์ กาญจนวงศ์ ​​รัฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง ม.สวนดุสิต
96. ศาสตราจารย์ ดร.บุญทัน ดอกไธสง ​​​คณะสังคมศาสตร์ ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
97. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนพร ศรียากูล ​​ภาควิชาการจัดการ ม.เทคโนโลยีมหานคร
98. ดร.ประเวศนฺ์ มหารัตน์สกุล ​​​​รัฐประศาสนศาสตร์ ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
99. อาจารย์ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ ​​รัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
100. รองศาสตราจารย์ ดร.อรสา จรูญธรรม ​คณะครุศาสตร์ มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ
101. ดร.วีรวรรณ มานะกุล ​​​อดีต Lecturer, Hokkaido University, Japan
102. อาจารย์ศิวพล ชมภูพันธุ์ ​​​รัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรร

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image