‘อ.เข็มทอง ลั่น ‘รธน.60’ คือผีแห่งวงการกฎหมาย – 6 ตุลาวนซ้ำได้ เหตุไทยมีวัฒนธรรม ลอยนวล-พ้นผิด

‘อ.เข็มทอง ลั่น ‘รธน.60’ คือผีแห่งวงการกฎหมาย – 6 ตุลาวนซ้ำได้ เหตุไทยมีวัฒนธรรม ‘ลอยนวล-พ้นผิด’

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ จัดงานครบรอบ 44 ปี 6 ตุลา 19
โดยเวลา 09.50 น. มีการเสวนาในหัวข้อ “หา(ย)” : อุดมการณ์- ความทรงจำ- รัฐธรรมนูญ

เวลา 11.07 น. อาจารย์ ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย กล่าวว่า ตัวเองเป็นเหมือนนักเรียน ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ที่มาฟังการแลกเปลี่ยน เพราะการศึกษาไม่มีมีการเรียนการสอน เรื่อง 6 ตุลา รู้เพียงเล็กน้อย แม้เรียนรัฐศาสตร์ กลับไม่มีความทรงจำของ 6 ตุลา ดังนั้น จึงมองว่าธรรมเนียมการเล่าเรื่อง 6 ตุลา มีที่ ม.ธรรมศาสตร์ที่เดียว

“เราเรียนกฎหมายฉบับที่ใช้อยู่ ตอนเข้ามาเป็นนิสิต นิติศาสตร์ แรกๆ ได้หนังสือ 2 เล่ม คือ ภาษากฎหมายไทย และคู่มือนักศึกษากฎหมาย มีหลายเรื่อง ที่นิติศาสตร์ไม่รู้ เราข้ามไป ซึ่งฟังแล้วเขิน ที่เป็นนักกฎหมายมหาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญมีที่น้อยมาก ถ้าสามเณรถนอมกลับมา เชื่อว่า ต้องมีอะไรให้นักกฎหมายมหาชนพูด เป็นเรื่องของคน และอุดมการณ์ อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่ออ่านรัฐธรรมนูญ ปี 17 พบว่า ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่แย่ ค่อนข้างคล่องตัว มีลักษะก้าวหน้าขึ้นหลายอย่าง สถาบันการเมืองที่ง่าย เกิดขึ้นจริง แต่อยู่ได้แค่ 2 ปีก็ตายลงไป คือสิ่งที่กระทบใจนัก”

อาจารย์ ดร.เข็มทองกล่าวว่า 6 ตุลา เกิดการละเมิดกฎหมายชนิดใหม่ อุกอาจ กลางเมือง ท่ามกลางสายตาคนจำนวนมาก คือลักษณะพิเศษในรัฐที่ดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Advertisement

“ความรุนแรงเกิดได้จากรัฐ การฆ่าคน ก็ต้องมีความผิด 6 ตุลาจึงสำคัญตรงนี้ หากมีการลุกฮือของมวลชน ในการใช้ความรุนแรงกลางเมืองได้โดยไม่เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ก็ต้องเป็นมวลชนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบางส่วนให้กระทำได้ ซึ่งหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ แทบไม่ค่อยมีใครพูดด้วยความภูมิใจ ทุกคนเงียบหาย แต่สิ่งที่เป็นปัญหาต่อมา ลึกสุด คือในระดับอุดมการณ์ที่ไม่หายไป อาจแผ่วลงบางช่วง แต่ปี 48-49 ก็กระพืออุดมการณ์แบบนี้ขึ้นมาได้”

6 ตุลาคือความขัดแย้งขั้นพื้นฐานมากๆ สรุปแล้ว เราฆ่าคนเพื่อรักษาโครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองได้หรือไม่ เพราะมีคนสมาทานพร้อมฆ่าคนอีกฝ่ายโดยไม่ต้องรับผิดใดๆ รัฐธรรมนูญ 17 จึงอยู่ได้ไม่นาน โดนทหาร มวลชนกดดันขนาดนั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับไหนรับมือวิกฤตขนาดนั้นได้ จึงต้องล้มไป คือกรณีศึกษาในการปลุกมวลชนขึ้นมาท้าทายรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ปี 49 เป็นต้นมา ก็ว่าได้”

อาจารย์ ดร.เข็มทอง กล่าวต่อว่า ปี 63 ก็เริ่มเห็นการปลุกมวลชน ไม่เพียงการเมืองระดับชาติ การจัดการภารกิจบางเรื่อง เช่น วัดพระธรรมกาย สื่อฝ่ายขวามีส่วน สภาพแบบนี้ อะไรที่เขียนในรัฐธรรมนูญไม่มีผล ใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการบางอย่างก็ว่าได้ จึงต้องทำลายรัฐธรรมนูญลงไป

Advertisement

รัฐธรรมนูญปี 60 จะเห็นการถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลาย เช่น เสรีภาพในการแสดงออก บางเรื่องพูดไม่ได้ ต้องปิดปาก รัฐธรรมนูญในแง่กฎหมายสูงสุดเกิดไม่ได้ เป็นได้ในแง่เครื่องมือ สุดท้ายมวลชนปีกขวา แผ่วไป และมีการปลุกใหม่ในปี 63

ที่น่าสนใจคือ ผู้นำอำนาจประชานิยม มีมวลชนขนาดใหญ่สนับสนุนอยู่ ในขณะที่อำนาจนิยมในไทย มวลชนนิดเดียว ใช้เพื่อยืนยันว่า ฝั่งประชาธิปไตยมีมวลชนเสียงข้างมาก ซึ่ง เขาก็พร้อมหยิบแสนกว่าชื่อได้เช่นกัน ทั้งหมดเพื่อท้าทายการดำรงอยู่ของรัฐธรรมนูญ ทั้ง ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ การใช้มวลชน และอุดมการณ์ที่ไม่ลงรอย จึงต้องถามว่า ฝั่งไหนกันแน่ที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันง่อนแง่น รัฐธรรมนูญ ปี 60 จะเรียกว่าผี หรือฝันร้ายดี เพราะไม่ว่าจะจับปัญหาไหน น่าแปลกที่เดินวนไปที่ 6 ตุลาอยู่ดี เพราะประเทศเรามีวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด ทหารไม่กลับเข้ากรมกอง

“ถ้าเรายังไม่สะสาง ชำระให้เข้าใจ โอกาสที่จะเดินไปข้างหน้าเป็นเส้นตรงจะยาก เราจะเดินวนอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ เป็นผีที่หลอนวงการกฎหมายรัฐธรรมนูญ” อาจารย์ ดร.เข็มทองกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image