09.00 INDEX จับตา นัดชุมนุม ราชประสงค์ ภายใต้ สถานการณ์ “ฉุกเฉิน”

09.00 INDEX จับตา นัดชุมนุม ราชประสงค์ ภายใต้ สถานการณ์ “ฉุกเฉิน”

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเน้นลงไปใน “กทม.” ตามมาด้วยการแต่งตั้งให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เข้ามารับผิดชอบ

เป็นเรื่องที่สามารถ “คาด” ได้ตั้งแต่มีข่าวปล่อย “หลุด”ออกมาลอยว่อนอย่างอึกทึกครึกโครม

สำหรับผู้ที่เคยผ่านสถานการณ์ในห้วงก่อนรัฐประหารเมื่อเดือน กันยายน 2549 สถานการณ์ในห้วงก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภา คม 2557 จะไม่แปลกใจเลยแม้แต่น้อย

“กลิ่น” ลอยมาตั้งแต่การแถลงของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประ สานเข้ากับข่าวอันเกี่ยวกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ตลอดจน นพ.เหรียญทอง แน่นหนา และท่านสุวิทย์ แห่งวัดอ้อน้อย

Advertisement

ยิ่งกว่านั้น เมื่อมีการส่งกำลังหน่วยคอมมานโดปราบจลาจลเข้มข้นนับร้อยเข้าไปรวบตัว ไผ่ ดาวดิน ลงจากรถเครื่องเสียงบริเวณ หน้าร้านแม็คโดนัลด์

แม้กลิ่นเหล่านี้มักจะมากับ “รัฐประหาร” แต่ไม้เด็ดของรัฐบาล กลับกลายเป็น “สถานการณ์ฉุกเฉิน” เข้มข้นเฉพาะในส่วนของกทม.

ใครที่ติดตามการชุมนุมของ “คณะราษฎร 2563” บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เย็นกระทั่ง 02.00 น.ย่อมสัมผัสได้ใน “สัญญะ” ทางการเมือง

Advertisement

พลันที่ นายอานนท์ นำพา ออกมาประกาศสลายการชุมนุมและประกาศนัดชุมนุมใหม่ที่ราชประสงค์ในวันที่ 15 ตุลาคม

นั่นสะท้อนให้เห็นว่าบรรดาแกนนำ “คณะราษฎร 2563” ก็กระสาว่าสถานการณ์ในตอนรุ่งอรุณเบิกฟ้า ณ บริเวณหน้าทำเนียบ รัฐบาลจะเป็นอย่างไร

เพียงแต่ไม่ได้คิดว่าทางด้านของเจ้าหน้าที่จะสนธิกำลังอย่างรวดเร็วในตอน 04.00 น.ก็เริ่มออกปฏิบัติการสลายการชุมนุมท่าม กลางการทะยอยออกจากพื้นที่ของมวลชน

ในที่สุด “อานนท์ เพนกวิน ไมค์” ก็ถูกรวบเรียบร้อย

หากแกนนำระดับ นายอานนท์ นำพา ก็กระสาในกลิ่นและแถลงสลายการชุมนุมสะท้อนว่าก็ได้เตรียมในทางความคิดแล้ว

คำถามที่ตามมาก็เหมือนกับทุกครั้งที่มีการจับกุมตัวแกนนำไม่ว่า นายอานนท์ นำพา ไม่ว่า นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ไม่ว่า นายภาณุพงศ์ จาดนอก ก่อนหน้านี้

นั่นก็คือ สามารถสยบมิให้เกิดการชุมนุมนัดต่อไปได้หรือไม่

เป้าหมายของคำถามจึงรวมศูนย์ไปยังการนัดชุมนุม ณ ราชประสงค์ในวันที่ 15 ตุลาคมว่าจะออกมาอย่างไร

นี่ย่อมเป็นการเฝ้ามองเหมือนกับกรณีวันที่ 14 ตุลาคม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image