เป้าหมาย ชุมนุม ราชประสงค์ พุ่งตรงใส่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา
การชุมนุมของ “คณะราษฎร 2563” เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันพฤหสบดีที่ 15 ตุลาคม แตกต่างไปจากการชุมนุมของ “คณะราษฎร 2563” เมื่อเวลา 08.00 น. ของวันพุธที่ 14 ตุลาคม เป็นอย่างมาก
แม้จะกระทำและดำเนินการในนาม “คณะราษฎร 2563”
กระนั้น ปัจจัย 1 ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดก็คือ การชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคมถึงจะมีพรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะที่การชุมนุมในวันที่ 15 ตุลาคมมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
อย่างหลังนี้มีข้อกำหนดอย่างเด่นชัดว่าห้ามมีการชุมนุมและมั่ว สุมกันจำนวนเกิน 5 คนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ความหมายก็คือห้ามชุมนุมอย่างสิ้นเชิง
เป็นประกาศและข้อบังคับอันเป็นผลจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 ตุลาคมและแสดงเจตจำนงอย่างเด่นชัดว่าไม่ต้องการให้มีการชุมนุม ในวันที่ 15 ตุลาคมบังเกิดขึ้น
แต่แล้วผลก็ปรากฏดังที่เห็นๆ กันตั้งแต่เวลา 15.00 น.เศษของวันที่ 15 ตุลาคมจนกระทั่งประกาศยุติในเวลา 22.00 น.
ความหมายของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกทม.แม้ไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเท่ากับการประกาศกฎอัยการศึก แต่ก็เท่ากับอำนาจอันเบ็ดเสร็จมาอยู่ในมือของนายกรัฐมนตรี
ทำให้อำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใกล้เคียงกับอำนาจที่เคยมีในห้วงหลังรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557
เพราะภายในประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในรุ่งสางของวันที่ 15 ตุลาคม ส่งผลให้อำนาจที่เคยมีจากประกาศของคสช.และคำสั่งของ หัวหน้าคสช.บางฉบับได้หวนกลับมาโดยอัตโนมัติ
จึงปรากฏข้อสังเกตว่าเท่ากับเป็นการทำรัฐประหาร “เงียบ” ไม่ว่าจะมาจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน ไม่ว่าจะมาจากคณะก้าวหน้า ไม่ว่าจะมาจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน
คำถามก็คืออำนาจที่ว่านี้เป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อเห็นการชุมนุม ณ แยกราชประ สงค์ย่อมตอบได้เป็นอย่างดีในอำนาจที่มีอยู่ในมือของตน
ความหมายของการชุมนุมในวันที่ 15 ตุลาคม และจะมีอีกในวันที่ 16 ตุลาคมจึงเป็นการท้าทายโดยตรงต่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มี ความร้ายแรงในเขต กทม.
เป็นการชุมนุมแม้ว่า “ผู้นำ” จะถูกจับกุมคุมขังคนแล้วคนเล่า
ความหมายในที่สุดจึงเท่ากับเป็นการท้าทายต่ออำนาจที่มีอยู่ในมือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เบื้องหน้าการชุมนุมแล้วชุมนุมอีกของ “คณะราษฎร 2563”