09.00 INDEX แนวโน้ม เป็นไปได้ ที่จะรัฐประหาร มองจาก บรรทัดฐาน แห่งกาลอดีต

สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันหากยึด”บรรทัดฐาน”จากอดีต ไม่ว่าจะเป็นกันยายน 2549 หรือเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

หนทางต่อไปที่คาดหมายได้เลยก็คือ จะต้องมีการยึดอำนาจ จะต้องมีการรัฐประหาร

เป็นความเคยชินที่จะใช้”การทหาร”มาแก้ปัญหา”การเมือง”

เพราะว่าองค์ประกอบของความขัดแย้งที่ดำรงอยู่นับแต่ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2562 เป็นต้นมาล้วนแต่หนุนเสริมให้เกิดการตัดสินใจแบบนั้นทั้งสิ้น

Advertisement

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานการณ์ที่คุกรุ่นตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคม 2562 และสะท้อนออกรุนแรงมากยิ่งขึ้นนับแต่เดือนกุมภา พันธ์ 2563

และมาปรากฏอีกครั้งนับแต่เดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ต่อเนื่องมายังเดือนตุลาคม

กลิ่นอายของการยึดอำนาจ การรัฐประหารจึงโชยกรุ่น

Advertisement

ถามว่าอะไรคือเหตุผลที่ พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน ใช้เป็นข้ออ้างในการ ยึดอำนาจเมื่อเดือนกันยายน 2549

เพราะเกรงว่า”ความขัดแย้ง”จะบานปลายกลายเป็น”วิกฤต”

ถามว่าอะไรคือเหตุผลที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้เป็นข้ออ้างในการยึดอำนาจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

เพราะเกรงว่า”ความขัดแย้ง”จะบานปลายกลายเป็น”วิกฤต”

ความขัดแย้งในทางสังคมในปัจจุบันเกิดขึ้นอย่างเด่นชัดอย่าง ยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อ”เยาวชนปลดแอก”ได้ทะลุเพดานเดิมจนหมดสิ้น กระทั่งมีการเดินขบวนไปหน้าสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี

ขณะเดียวกัน ก็มีการปลุกมวลชน”คนเสื้อเหลือง”ขึ้นมาจุดแล้วจุดเล่าเพื่อมาต้านการขยายเพดานอันมาจาก”เยาวชนปลดแอก”เกิดเป็นมวลชนอีกฝ่ายที่พร้อมปะทะกันด้วยความรุนแรง

นี่ย่อมเป็น”กองเพลิง”ที่ได้รับการสุมไฟด้วยอัตราเร่งที่รวดเร็ว

คำถามอยู่ที่ว่า ใครกันเล่าที่โยนฟืนเข้าไป ใครกันเล่าที่สาดน้ำมันเข้าไป

ความเป็นไปได้ที่จะมีการยึดอำนาจ ความเป็นไปได้ที่จะมีการนำเอามาตรการ”การทหาร”มาจัดการกับปัญหา”การเมือง”มีอยู่สูง

หากมองจาก”บรรทัดฐาน”เดิมในทางประวัติศาสตร์การเมือง

ประเด็นที่ยังมิได้เป็นไปตามนั้นอาจเพราะกำลังประเมินอยู่ว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เพียงใดและอย่างไร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image