09.00 INDEX อนาคตประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ อนาคตของประชาธิปัตย์

อนาคตประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ อนาคตของประชาธิปัตย์

พรรคประชาธิปัตย์ กำลังตกเป็น ‘เป้าหมาย’ ใหญ่ในกระแสแห่งการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560

ทำไม คำตอบ 1 มาจากความเป็น ‘สถาบัน’ ในทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์

เนื่องจากก่อรูปขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2489

Advertisement

เปรียบเทียบกับพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคก้าวไกล แล้วถือได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์มีรากฐานมาอย่างยาวนาน

น่าจะเป็น ‘บรรทัดฐาน’ น่าจะเป็น ‘มวยหลัก’ ในท่ามกลาง ความปั่นป่วนในทางการเมือง

Advertisement

คำตอบ 1 มาจาก ‘แนวทาง’ ของพรรคประชาธิปัตย์เอง

เป็นแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ก่อนการเลือกตั้งและภาย หลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2562

โดยมี ‘รัฐธรรมนูญ’ เป็น ‘เงื่อนไข’ สำคัญ

หากจะดูท่วงท่า และอาการของพรรคประชาธิปัตย์ต้องดูการเปลี่ยน ผ่านจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มายัง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ เป็นหลัก

ก่อนเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ชูนโยบายไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และยืนยันต้องแก้รัฐธรรมนูญ

ภายหลังการเลือกตั้ง ภายในพรรคประชาธิปัตย์แตกความคิด เป็น 2 แนวทาง แนวทางหนึ่ง ต้องการเข้าร่วมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แนวทางหนึ่ง ไม่ต้องการเข้าร่วม

เมื่อมติของพรรคเป็นไปในแนวทางแรก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงลาออกจากสมาชิกภาพแห่ง ส.ส. และหัวหน้าพรรค ตำแหน่งหัวหน้าพรรคจึงเป็นของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์

พรรคประชาธิปัตย์ประกาศเข้าร่วมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมกับเงื่อนไขหนึ่งคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

คำถามก็คือ พรรคประชาธิปัตย์จริงจังเพียงใดกับเงื่อนไขนี้

การประชุมรัฐสภาในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน จึงเป็นการประชุมที่ไม่เพียงแต่จะชี้อนาคต พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หากแต่ยังชี้อนา คตของพรรคประชาธิปัตย์ด้วย

นั่นก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ยังเลือกที่จะเดินแนวทางเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือจะมีแนวทางเป็นของตนเอง

แนวทางของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ย่อมเป็นแนวทางเดียว กับ 250 ส.ว.พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรครวมพลังประชาชาติไทย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image