09.00 INDEX ชะตากรรม กรรมการสมานฉันท์ เบื้องหน้า คำปฏิเสธ จากเพื่อไทย

พลันที่พรรคเพื่อไทยตอบปฏิเสธการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งภายในคณะกรรมการ ”สมานฉันท์” อันขับเคลื่อนโดย นายชวน หลีกภัย แนวโน้ม ของคณะกรรมการก็เริ่มส่อแววว่า ”ไม่” สมานฉันท์ขึ้นมาโดยปริยาย

สังคมอาจคิดและประเมินจากบทบาทของ ”เยาวชนปลดแอก” ว่าเป็นคู่แห่งความขัดแย้งที่สำคัญ

เป็นการประเมินจากสภาพความเป็นจริงของเดือนกรกฎาคม ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กระทั่งพัฒนามาเป็น ”คณะราษฎร 2563” ในเดือนตุลาคม

ทั้งๆที่ในความเป็นจริงอันหนักแน่นและจริงจังปัญหาและความ ขัดแย้งเริ่มมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 และต่อ เนื่องมายังก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

Advertisement

หากระบุอย่างเป็นรูปธรรมก็คือ ความขัดแย้งที่มีต่อพรรคไทยรักไทย ความขัดแย้งที่มีต่อพรรคพลังประชาชน กระทั่งเป็นความขัด แย้งซึ่งต่อเนื่องมายังพรรคเพื่อไทย

ในเมื่อพรรคเพื่อไทยปฏิเสธการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งภายในคณะกรรมการ ”สมานฉันท์” เสียแล้วทุกอย่างก็จบ

หากดูกระบวนการเกิดขึ้นและความพยายามในการขับเคลื่อนสิ่งที่เรียกว่าคณะกรรมการ ”สมานฉันท์” ก็จะมองเห็นว่าดำเนินมาด้วยความไม่ราบรื่นตั้งแต่เบื้องต้น

Advertisement

ตอนที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอและ นายชวน หลีกภัย ในฐานะประธานรัฐสภาขานรับเหมือนกับทุกอย่างสดสวยกาววาว

ยิ่งเมื่อ นายชวน หลีกภัย ต่อสายไปยัง ”อดีต” นายกรัฐมนตรีสังคมก็เริ่มมองเห็นความหวังปรากฏขึ้นริบหรี่ ไม่ว่าจะมาจาก นายอานันท์ ปันยารชุน ไม่ว่าจะมาจาก นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

แต่เมื่อปะทะเข้ากับกระแสต้านอย่างรุนแรงจากพรรคพลังประชารัฐ จากภายใน 250 ส.ว. สังคมก็สัมผัสได้ในอุปสรรคและขวาก หนามที่สำคัญ

อย่าได้แปลกใจหากจะมีการปฏิเสธจากพรรคก้าวไกล

อย่าได้แปลกใจหากจะมีการปฏิเสธอย่างเป็นทางการมาจาก พรรคเพื่อไทยอันเท่ากับเป็นการปิดเกมไปโดยปริยาย

เมื่อนำกรรมการ ”สมานฉันท์” ชุด นายชวน หลีกภัย เทียบกับกรรมการ ”สมานฉันท์” ชุด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็จะมองเห็นอาการ บิดเบี้ยวอย่างเด่นชัด

เป็นความบิดเบี้ยวที่สรุปได้เลยว่าไม่มีโอกาสได้เกิดขึ้นได้อย่าง องอาจในทางเป็นจริง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image