09.00 INDEX เงาสะท้อน การเมือง แบบเก่า ในรัฐธรรมนูญ ใน สมานฉันท์

09.00 INDEX เงาสะท้อน การเมือง แบบเก่า ในรัฐธรรมนูญ ใน สมานฉันท์

ระหว่างการขับเคลื่อนในเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม “รัฐธรรมนูญ” กับการขับเคลื่อนในกระบวนการแห่งคณะกรรมการ “สมานฉันท์” มีทั้งความ ขัดแย้งและความสัมพันธ์

อย่าลืมเป็นอันขาดว่าภาระหน้าที่ด้านหลักของ “คสช.” ในการก่อรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 คืออะไร

คือการเข้ามาเพื่อยุติ “ความขัดแย้ง” ภายในสังคมไทย

ในยุคคสช.จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ขึ้นโดยมีกระทรวงกลาโหมเป็นแม่งานหลัก ภายใต้การดำเนินการของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

Advertisement

ครั้งนั้นได้รับความไว้วางใจเป็นอย่างสูง ไม่ว่าฝ่ายของพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าฝ่ายของพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าฝ่ายของนปช. ไม่ว่าฝ่ายของกปปส.หรือพันธมิตร ต่างเข้าร่วมอย่างคึกคัก

เป็นการเข้าร่วมด้วยความเชื่อมั่นว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ จะสามารถสร้างความปรองดองสมานฉันท์ได้

แต่ในที่สุดก็ได้เพียง “น้องเกี่ยวก้อย” มาเป็น “โลโก้”

Advertisement

เมื่อมีข้อเรียกร้องของ “เยาวชนปลดแอก” ในเรื่องของ “รัฐธรรมนูญ” นับแต่การชุมนุมเมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 เป็นต้นมา และได้รับการ ขานรับจากทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน

สังคมเริ่มมี “ความหวัง” อีกคำรบหนึ่งว่า กระบวนการแก้ไขเพิ่ม เติมจะเป็นรูปธรรมแห่งการปรองดองสมานฉันท์ในทางการเมือง

จากสำนึกร่วมที่ว่า “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560” คือตัว “ปัญหา”

แต่แล้วจังหวะก้าวแต่ละจังหวะก้าวอันขับเคลื่อนผ่านวิถีแห่งระบบรัฐสภา แทนที่จะสร้างภาพแห่งการประนีประนอมระหว่างแต่ละกลุ่มอำนาจบนพื้นฐานของการประสานประโยชน์ทางการเมือง

แต่ในที่สุดกลับเป็นภาพแห่งการชิงความได้เปรียบในแบบพวก มากลากไปในทางการเมือง โดยการสมคบคิดระหว่าง 250 ส.ว.กับ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล

เป็นการรักษาประโยชน์ตน เป็นการสืบทอดอำนาจการเมือง

เมื่อภาพแห่ง”รัฐธรรมนูญ”ออกมาเช่นนี้จึงแทบไม่เหลือความมั่นใจอะไรต่อความพยายามในเรื่องของ “สมานฉันท์”ในทางเป็นจริง

ในที่สุด ไม่ว่ากรณีของ “รัฐธรรมนูญ” ไม่ว่ากรณีของคณะกรรมการ “สมานฉันท์” ก็เท่ากับเป็นการยืนยันการจมปลักอยู่กับภาพทางการ เมืองในแบบเก่า

การเมืองแห่งการสืบทอดอำนาจ การเมืองแห่งการแย่งชิงประโยชน์ มิได้เป็นการเมืองใหม่ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image