นิด้าโพลสำรวจ เชื่อ ‘ม็อบ’ ยกระดับ ‘ซูเปอร์โพล’ เผยขอให้หยุดชุมนุม

Demonstrators are seen gathered at the Democracy Monument during a Thai anti-government mass protest, on the 47th anniversary of the 1973 student uprising, in Bangkok, Thailand October 14, 2020. REUTERS/Jorge Silva

นิด้าโพลสำรวจ เชื่อ ‘ม็อบ’ ยกระดับ ‘ซูเปอร์โพล’ เผยขอให้หยุดชุมนุม

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. สำนักโพล 2 สำนักได้เปิดผลผลสำรวจเกี่ยวกับการชุมนุม โดยศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลสำรวจ เรื่อง พลเอกประยุทธ์เดินหน้าต่อ แล้วม็อบละŽ สำรวจระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคม จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวม 1,315 หน่วยตัวอย่าง

ทั้งนี้ เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยที่ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังดำรงตำแหน่งนายกฯต่อไปได้ พบว่าร้อยละ 27.38 ระบุว่า สถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงขึ้น อย่างน่ากังวล, ร้อยละ 22.89 ระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงเหมือนเดิม แต่ไม่มีอะไรน่ากังวล, ร้อยละ 17.64 ระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงขึ้น แต่ไม่น่ากังวล, ร้อยละ 17.49 ระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงเหมือนเดิม และยังคงน่ากังวลอยู่, ร้อยละ 6.85 ระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะลดความร้อนแรงลง, ร้อยละ 6.46 ระบุว่าไม่มีเรื่องใดให้น่ากังวล

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการยกระดับการชุมนุมทางการเมืองของม็อบราษฎร โดยใช้ผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อกดดันให้รัฐบาลทำตามข้อเรียกร้อง พบว่าร้อยละ 35.13 ระบุว่าการชุมนุมจะยกระดับ แต่ไม่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้, ร้อยละ 29.36 ระบุว่าการชุมนุมจะไม่สามารถยกระดับ และไม่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้, ร้อยละ 12.17 ระบุว่าการชุมนุมจะยกระดับ จนสามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้, ร้อยละ 8.21 ระบุว่าการชุมนุมจะลดระดับ และไม่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้, ร้อยละ 7.45 ระบุว่าการชุมนุมจะไม่สามารถยกระดับ แต่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้, ร้อยละ 2.43 ระบุว่าการชุมนุมจะลดระดับ แต่สามารถกดดันรัฐบาลให้ทำตามข้อเรียกร้องได้

วันเดียวกัน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพลนำเสนอผลสำรวจเรื่องราษฎร จะไปต่อ ทางออกประเทศไทย กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 2,108 ระหว่างวันที่ 1-5 ธันวาคม เมื่อถามถึงความเห็นราษฎรเรื่องการหยุดม็อบคุกคามผู้อื่น หยุดเบียดเบียนผู้อื่น หยุดสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นที่ต้องการเดินทางสัญจรไปมา พบว่าร้อยละ 98.2 ระบุหยุดได้แล้ว มีเพียงร้อยละ 1.8 ระบุว่าทำต่อไป เมื่อถามถึงความรู้สึกเบื่อหน่าย พบว่าร้อยละ 98.6 รู้สึกเบื่อหน่าย บรรดารัฐมนตรีที่เอาแต่เปิดงาน นิทรรศการ วันเปิดคือวันปิด เสียดายงบประมาณ ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ควรทำอะไรที่เป็นโครงการที่เด็กและเยาวชนและประชาชนจับต้องได้จะดีกว่า

Advertisement

เมื่อถามถึง ความต้องการเรื่องที่เป็นประโยชน์เรื่องแรก ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.8 ระบุต้องการให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯเป็นผู้ถือธงนำปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบของประเทศ เมื่อถามถึงความเห็นต่ออุปสรรคของการศึกษา พบว่าร้อยละ 97.5 ระบุ ตัวเด็ก นักเรียน นักศึกษาเอง คือ อุปสรรค ร้อยละ 96.7 ระบุคุณภาพชีวิตของครู อาจารย์ ภาระหนี้สิน ค่าตอบแทนที่ไม่ดีพอ ร้อยละ 96.5 ระบุ การเรียนการสอน หลักสูตร ร้อยละ 96.4 ระบุ รัฐบาลและนโยบายด้านการศึกษา ร้อยละ 96.1 ระบุ ความไม่พร้อมของแต่ละโรงเรียน และสถานศึกษาแต่ละแห่ง ร้อยละ 96.0 ระบุ พ่อแม่ผู้ปกครอง คือ อุปสรรค ร้อยละ 94.2 ระบุ ตัวครู อาจารย์ ไม่มีความรู้ความสามารถพอ คุณภาพไม่ดีพอ ร้อยละ 93.8 ระบุ ม็อบและการยุยงปั่นกระแส สร้างทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กเยาวชนเป็นอุปสรรค ขณะที่เพียงร้อยละ 28.9 เท่านั้นที่ระบุ การแต่งกาย เครื่องแบบนักเรียน นักศึกษา เป็นอุปสรรคของการศึกษามากถึงมากที่สุด เมื่อถามถึงความต้องการเร่งด่วนของราษฎร ต่อนายกฯ พบว่าร้อยละ 98.4 ต้องการใช้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นช่องทางช่วยเหลือเด็กยากจน แก้อุปสรรคของการศึกษา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image