‘เพื่อไทย’ สัมมนา ‘คิดใหม่ ทำใหม่ อบจ. 2021 : สร้างโอกาสใหม่ เพื่ออนาคตท้องถิ่นไทย’

‘เพื่อไทย’ สัมมนา ‘คิดใหม่ ทำใหม่ อบจ. 2021 : สร้างโอกาสใหม่ เพื่ออนาคตท้องถิ่นไทย’

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 15 ธันวาคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) มีการสัมมนา “เพื่อไทย Forum” หัวข้อ “คิดใหม่ ทำใหม่ อบจ. 2021 : สร้างโอกาสใหม่ เพื่ออนาคตท้องถิ่นไทย” ซึ่งร่วมอภิปรายโดย นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, นายวิทยา บุรณศิริ อดีตนายกสมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, นพ.ทศพร เสรีรักษ์ อดีต ส.ส.แพร่ และอดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ส.ส.เลย พรรคพท., นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ ส.ส.หนองคาย พรรคพท., นายธีรชัย ระวิวัฒน์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ และดำเนินรายการโดย น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคพท.

โดยวิทยา กล่าวว่า เหลืออีก 5 วันที่จะถึงการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นการกระจายอำนาจถ่ายโอนภารกิจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งพรรคเพื่อไทยเรามีนโยบายคิดใหม่ทำใหม่ ต้องถามว่าประชาชนพร้อมหรือไม่สำหรับการถ่ายโอนภารกิจผ่านการลือกตั้ง 20 ปีมาแล้วที่มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น แต่ที่ผ่านมาถ่ายโอนมาแต่ภารกิจ เช่น ทำถนน บ่อน้ำ เป็นต้น แต่ไม่มีงบประมาณลงมาให้ด้วย ทำให้ประเทศไม่ไปไหน ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการปฏิรูป อบจ. ทั้งนี้ อบจ.เป็นนิติบุคคล เป็นตัวของตัวเอง เรามีผู้บริหาร อบจ.2 พันกว่าคนทั่วประเทศทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ตราพระราชบัญญัติ กำหนดเรื่องงบบปะมาณได้ สามารถจัดเก็บภาษีให้ตัวเองได้เพื่อเสริมรายได้ ซึ่งบทบาทของ อบจ.คือเพิ่มรายได้ให้ประชาชน ซึ่งเราหวังอย่างยิ่งว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ จะบริหารท้องถิ่นแบบมีวิสัยทัศน์เพื่อสร้างรายได้ให้ประชาชนแม้ในยามมีวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ตาม

นายเลิศศักดิ์ กล่าวว่า ตนอยากตั้งคำถามให้ทุกท่านได้คิดตามว่า การกระจายอำนาจสู่ อบจ. จะแก้ปัญหาความเหลื่มล้ำในประเทศไทยได้จริงหรือ ซึ่งตนมองว่า การกระจายอำนาจือยาวิเศษที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้จริง ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงอยู่ลำดับ 3 ของโลก คน 1% ถือครองทรัพย์สิน 58% ของคนทั้งประเทศ ความเหลื่อมล้ำมันถ่างกว้างมากขึ้น และจะมากขึ้นเรื่อยๆ หลังปี 2557 หรือหลังการรัฐปรหาร รัฐบาลพยายามจะใช้ประชานิยมมาแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ แต่ก็พิสูจน์แล้วว่า ไม่สามารถทำได้ ตนจึงคิดว่า ทางออกคือการให้คนจนได้มีโอกาสได้เข้าถึงบริการสาธารณะได้แบบคนรวย ดังนั้น ท้องถิ่นจึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้คนจนเข้าถึงบริการสาธารณะเหล่านี้ได้อย่างทัดเทียมได้ อย่างไรก็ตาม วันนี้การกระจายอำนาจได้จบสิ้นไปแล้วพร้อมรัฐธรรมนูญปี 40 เพราะในรัฐธรรมนูญปี 60 ให้อำนาจรัฐสามารถตั้งนายกฯ หรือผู้ว่าในเขตปกครองพิเศษได้ในกรณีฉุกเฉิน หรือกรณีพิเศษ ดังนั้น การเลือกตั้ง อบจ.ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสของพี่น้องประชาชนในการเอาอำนาจของตนเองกลับคืนมา

ด้านนพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า อีกไม่กี่วันจะมีการเลือกตั้งนายกฯ อบจ.ครั้งแรกในรอบ 8 ปี หลายคนบอกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้อาจเหมือนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ใครทำงานดีก็เลือกต่อไป แต่ชุดความคิดแบบนี้ต้องทบทวน เพราะช่วง 6 ปีที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงหลายอย่างไปสิ้นเชิง จึงต้องกลับมาทบทวนว่าความเคยชินในการเลือกตตั้ง อบจ.สอดคล้องกับบริบทประเทศหรือไม่ ทั้งนี้ ตนมีสามคำหรับการเลือกตั้ง อบจ.คือ Why ทำไมเราต้องเรามี อบจ. What แล้ว อบจ.แบบไหนที่เราต้องการ และ how จะทำอย่าไรให้เรามี อบจ.ที่เราฝัน ในสี่เดือนที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหว ทำให้หลายคนสงสัยว่าทำไมเด็กๆ ลุกขึ้นมาเพราะอยากเห็นบ้านเมืองนี้ดีขึ้น อยากเห็นประชาธิปไตยที่เริ่มด้วยความสับสนไปสู่หนทางที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ช่วง 6 ปีที่เราเห็นเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง แต่ข้างใต้คือก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ก่อตัวมา 6 ปี ประชาชนทุกข์ยากลำบาก มีหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ผลิตผลการเกษตรตกต่ำ นักศึกษาตกงาน เพราะรัฐรวมศูนย์การปกครอง ตัดสินใจทุกอย่างโดยนายกฯ เพียงคนเดียว

Advertisement

นพ.สุรพงษ์ กล่าวต่อว่า เราไม่ต้องการ อบจ.แบบเดิม แต่ต้องเป็น อบจ.ที่คิดใหม่ ทำใหม่ ทันสมัย สามารถขยายขอบเขตทำให้ประชาชนมีชีวิตดีขึ้น และมีโอกาสสร้างรายได้ให้ประชาชนมากขึ้น ถามว่า อบจ.จะทำอย่างไรกับท้องถิ่นให้สามารถเติบโตอย่างมียุทธศาสตร์ ต้องทำให้เอสเอ็มอี ธุรกิจออนไลน์ขนาดเล็กสามารถร้างรายได้ อบจ.ซึ่งใกล้ชิดประชาชนมากสุด ต้องมีพลังในการขับเคลื่อน หากเราอยากทำให้ อบจ.สมาร์ทขึ้น ต้องทบทวนแนวคิดการจัดการ ที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นธุรกิจยิ่งใหญ่ยิ่งดี แต่ในโลกอนาคตยิ่งใหญ่อาจยิ่งล้มดังก็เป็นได้ สำคัญคือจำเป็นต้องพร้อมปรับตัว ทั้งนี้ อบจ.ที่เราอยากเห็นต้องปฏิรูประบบบริหารอย่างเต็มตัวให้ อบจ.ทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวกสบาย ง่ายขึ้น หรือการอนุมัติธุรกิจขนาดเล็ก ทำอย่างไรให้เกิดความสะดวก สามารถจดทะเบียนการค้าได้ที่ อบจ.ซึ่งต้องมีบิ๊กดาต้าให้ประชาชนเข้าถึงขอมูลต่างๆ สร้างความมั่นใจให้ประชาชนถึงกาบริหารโปร่งใส เชื่อมั่นได้ รวมทั้งการขยายโอกาสให้กับเกษตรกรด้วย

นพ.ทศพร กล่าวว่า ประเทศไทยมีถนนอย่างดี ดังในระดับเอเชีย แต่กลับมีคนไข้ที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถเดินทางลงมารักษาพยาบาลตัวเองได้ เราเห็นภาพเตียงคนไข้ล้นลงมาถึงหน้าลิฟท์ สะท้อนให้เห็นการบริหารราชการจากส่วนกลางถึงส่วนภูมิภาคที่แม้จะมีบุคลการทางการแพทย์มากมายในส่วนกลาง แต่ท้องถิ่นก็ยังขาดแคลน ดังนั้น นายกฯ อบจ.ในฝันจะต้องเข้ามาดูแลประชาชนของเราเอง อบจ.สามารถทำอะไรได้มากมายกว่าการขุดสระ และสร้างศาลา เช่น การส่งเสริมสุขภาพในชุมนุม ตำบล การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในท้องถิ่น คนไข้ที่ยากจน ตั้งคลินิคของ อบจ. จ้างหมอ พยาบาล โดยใช้งบประมาณของ อบจ. เอง ฯลฯ

Advertisement

นายกฤษฎา กล่าวว่า อบจ.มีบทบาทต่อการสร้างรายได้ของเอสเอ็มอีและการค้าชายแดน เพราะเอสเอ็มอีมีความสำคัญ ทั้งการสร้างงาน สร้างนวัตกรรม สร้างโอกาสและความเหลื่อมล้ำ ที่สำคัญคือมีความสำคัญกับธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ธุรกิจยานยนต์ไม่สามารถผลิตชินส่วนต่างๆ เองได้ทั้งหมด ต้องอาศัยธุรกิจขนาดเล็กช่วยผลิตชิ้นส่วน ทั้งนี้ เอสเอ็มอีในไทยมีประมาณ 3 ล้านราย มีการจ้างงานถึง 80% ทำจีดีพีได้ถึง 39.6% ถือว่าทำมากได้น้อย ดังนั้น อบต.ต้องเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุน เมื่อเศรษฐกิจดี อบจ.ก็จะจัดเก็บภาษีได้ บริการสาธารณะก็จะดีขึ้นตามลำดับ ในส่วนของการค้าชายแดนมีทั้งจุดที่เราได้ดุลและขาดดุล ดังนั้นนายกฯ อบจ.ต้องเข้าใจระบบเศรษฐกิจ สร้างภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยในการพัฒาเศรษฐกิจ สร้างตลาดให้เหมาะกับพื้นที่

นายธีรชัย กล่าวว่า หลายคนเห็นความหวัง หลายคนเห็นความฝัน ตนในฐานะเด็กคนหนึ่ง ตนมองภาพ อบจ. แตกต่างออกไป โดยเป็นภาพจำของตนที่ไม่ค่อยดีมากนัก ที่ผู้มีอำนาจไม่ได้ใช้ศักยภาพในการพัฒนาท้องถิ่นมากนัก การเลือกตั้ง อบจ. ครั้งล่าสุดตนอายุ 13 ปี อยู่ ม.1 และจะได้เลือกตั้งอีกครั้งตอนอยู่ปี 4 ตลอดเวลา 9 ปีที่ผ่านมา ตนไม่เห็นอะไรเลย เพราะอบจ.ถูกแช่แข็งไว้ ตนไม่มีภาพอะไรเกี่ยวกับ อบจ. ไม่รู้ อบจ. มีไว้เพื่ออะไร รู้แค่มีเพื่อมี แต่ไม่รู้ว่ามีเพื่ออะไร น้ำไม่ไหล เราก็โทรหาการปะปา ไฟไม่ติดก็โทรหาการไฟฟ้า เศรษฐกิจไม่ดี เราก็ด่ารับบาล อบจ.อยู่ตรงไหนในชีวิต ภาพจำของตนต่อ อบจ. คือผู้มีอำนาจในท้องถิ่น ที่เป็นเจ้าพ่อ แต่ไม่ใช่ผู้บริหารที่มาบริหารท้องถิ่น ตนเกิดมาในยุคที่บ้านเมืองมีแต่ความขัดแย้ง เรามองการเมืองคือเรื่องของผลประโยชน์ อย่าไปยุ่ง เพราะน่ากลัว ตนจึงไม่เข้าใจ ตนจึงไม่คาดหวังอะไรกับ อบจ. แต่เมืองในฝันของตนเป็นเมืองที่มีชีวิต มีชีวิตชีวา มีความคึกคัก มีอะไรให้เราทำ ให้เรียนรู้ เมืองที่ขับเคลื่อนได้ ดึงเอาคนหนุ่มสาวกลับบ้าน เราฝันอยากให้เมืองเป็นแหล่งบ่มและผลิตนักบริหารที่จะมาขับเคลื่อนพัฒนาท้องถิ่น ไม่ใช่คนที่เข้ามาบ่มเพาะอำนาจเพื่อขยับไปเล่นการเมืองระดับชาติ เราลองลดระบบราชการลง ลดความเป็นราชการลง เพื่อดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานเพิ่มขึ้นดีหรือไม่ ทำสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และเปิดรับสิ่งใหม่ๆได้หรือไม่ พวกท่านทั้งหลายที่มีส่วนในการเมืองท้องถิ่นต้องสลัดภาพจำของคนรุ่นตนให้ได้ จะปฏิเสธ หรือหนีสิ่งนี้ไม่ได้ ท่านต้องสลัดภาพลักษณ์ และภาพจำนี้ได้ เปลี่ยนเป็นภาพของทีมบริหารที่เก่ง และไม่ได้บูชาตัวบุคคล ไทยรักไทยเคยทำได้มาแล้ว แล้วทำไมครั้งนี้จะทำไม่ได้ ครั้งนี้ ท่านสามารถฉายภาพของท่านในฐานะนักบริหารที่เก่งได้หรือไม่ ถ้าท่านสามารถทำได้ สามารถจุไฟของเมืองได้จะทำให้คนรุ่นใหม่อยากเข้าไปมีส่วนร่วม และในอนาคตก็จะมีโครงการดีๆที่มากขึ้น เป็นโครงการที่มองไปยังอนาคต เป็นรัฐบาลน้อย ครม.น้อยในท้องถิ่นของตัวเอง เราจะเห็นว่ามีสิ่งเหล่านี้ได้ไม่ใช่จากการที่ใครมาบอก แต่จะเห็นได้จากการปฏิบัติ หรือจากการที่ท่านลงมือทำให้เห็น ให้เรารู้สึกว่าประชาชนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของเมืองจริงๆ ดังนั้น อีก 5 วันข้างหน้า การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นบทพิสูจน์ว่าการเมืองท้องถิ่นจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ตนอยากส่งเสียงไปยังคนหนุ่มสาวว่า กลับบ้าน แล้วไปสร้างเมืองในฝันกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image