‘จิรายุ’ เปิดตัวละครลับ เบื้องหลัง รฟฟ.สายสีส้ม ชี้เอื้อประโยชน์พวกพ้อง

“จิรายุ” เปิดตัวละครลับเบื้องหลัง รถไฟฟ้าสายสีส้ม ชี้เอื้อประโยชน์พวกพ้อง การทำงานมีการซ้อนทับผลประโยชน์

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เป็นวันที่ 3 นั้น

เวลา 12.03 น. นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย (พท.) อภิปรายไม่ไว้วางใจ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ว่า รัฐมนตรีบริหารแผ่นดินโดยเห็นแก่ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้น กับประเทศชาติและประชาชน เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มคนผูกขาด เพื่อให้มีสิทธิดำเนินงานในกิจการของรัฐ ไม่รักษาผลประโยชน์ของรัฐ ทุจริตในหน้าที่ ปล่อยปะละเลยเพื่อให้มีการทุจริตในหน่วยงานที่กำกับดูแล สมทบคิดกันเพื่อปิดบังการทุจริต และไม่ยึดถือปฏิบัติในการเป็นผู้บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง เรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้ม ในยุคที่คสช.ได้มีการอนุมัติเป็นที่เรียบร้อย เวลาที่มีการอนุมัติคณะรัฐมนตรีต้องให้ไปตั้งคณะกรรมการคัดเลือก

สรุปคือ ได้มีการให้เอกชนเข้ามาร่วมทุน โดยสายนี้ได้แบ่งเป็นสองส่วนซึ่งวิ่งจากคลองสามวา มีนบุรีมาจบที่ศูนย์วัฒนธรรม ถนนรัชดาภิเษก ในส่วนนี้รถไฟฟ้ามหานคร หรือรฟม.ได้ดำเนินการก่อสร้างไป ตอนนี้ใกล้จะเสร็จเล้วเพราะบอกจะเสร็จในปี 2566 แต่อีกส่วนที่มีปัญหาคือส่วนที่วิ่งจากศูนย์วัฒนธรรมผ่านโทลเวย์ดอนเมือง ผ่านราชดำเนิน รอดผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยข้ามไปที่ฝั่งธนบุรี ตลิ่งชัน เพิ่งเปิดให้เอกชน เมื่อเปิดให้เอกชน เอกชนก็ต้องมาเสนองาน ซึ่งต้องมีการยื่นซองและมีผู้ที่เกี่ยวข้องมากมาย และได้กำหนดออกมาก่อนจะมีการเลือกตั้ง

Advertisement

โดยนายศักดิ์สยามได้เป็นรัฐมนตรีในครม.พลเอกประยุทธ์ สุดท้ายปลายทางปรากฏว่า มีการส่งไปที่สคร.คือรัฐวิสาหกิจที่กำกับดูแลนโยบาย ไปขอความคิดเห็น ซึ่งนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถามไปยังสภาพัฒน์และกระทรวงการคลัง ไปจนถึงรัฐมนตรีอนุมัติ มีเอกสารยืนยันว่าโครงการนี้เป็นไปตามครรลองครองธรรม แต่ที่อยากบอกคือคณะกรรมการถูกการตรวจสอบโครงการนี้ 5 เดือน จากนั้นก็มีการอนุมัติที่เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลไทยได้มีการให้เอกชนมาร่วมทุนตามที่มีการประกาศออกมา

นายจิรายุ อภิปรายต่อว่า หลังจากที่ครม.พิจารณาอนุมัติเรียบร้อย ซึ่งนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก็นั่งอยู่ในที่ประชุมด้วยแต่ทำไมถึงปล่อยให้มีการอนุมัติ หลังจากนั้นได้มีการสั่งการไปที่รฟม. โดยมีนายศักดิ์สยามเป็นผู้ดูแล และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 โดยในมาตรานี้บอกว่าการที่เอกชนจะร่วมทุนกับรัฐต้องมีกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ทั้งนี้การรถไฟฟ้ามวลชนแห่งประเทศไทยสั่งการให้มีการแต่งตั้งเอง โดยมีคณะกรรมการทั้งหมด 8 คน โดยหลักบริษัทหนึ่งจะไปประมูลงานจะต้องทำอย่างไร ต้องมีคุณสมบัติถูกต้องถึงจะเปิดให้เข้าไปประมูลงาน

นอกจากคุณสมบัติบริษัท เทคนิค หากผผ่านจึงจะเข้าไปสู่ซองที่สาม คือผลประโยชน์ที่บริษัทจะตอบแทนให้รัฐ โดยโครงการใดที่รัฐต้องใช้งบประมาณแผ่นดินหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณแผ่นดิน จำเป็นจะต้องใช้คนจากสำนักงบประมาณ โดยคณะกรรมการที่กรรมการเห็นชอบในหลักเกณฑ์ที่กล่าวไปเมื่อก่อนหน้านี้ โดยสรุปแล้วเขาบอกว่าโครงการประมาณ 120,000 ล้านบาท ซึ่ง 10% คิดเป็น 12,000 ล้านบาท แต่ถ้ามัดจำก่อน 3% คิดเป็น 3,600 ล้านบาทซึ่งไม่น่าจริง

Advertisement

นายจิรายุ กล่าวต่อว่า หลังจากที่คณะกรรมการดำเนินการปรากฎว่ามีเอกชนมาซื้อซอง ซึ่งเป็นเรื่องปกติใครที่ซื้อซองก็ไปดูว่ารัฐเขียนอะไรบ้างว่าต้องเป็นเช่นนั้นเช่นนี้และเป็นไปตามเสรีภาพของการประมูลงาน และคณะกรรมการชุดนี้เขียนในซองที่ให้เอกชนในข้อ 12 ไว้ว่า ขอสงวนลิขสิทธิ ในการที่จะบอกยกเลิกโดยไม่มีเหตุผล ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเป็นเอกชนกับเอกชน หากไปซื้อของและเกิดของพังจะไม่รับผิดชอบก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่นี่คือการประมูลโครงกการของรัฐ หากทำงานตรงไปตรงมาก็จะไม่มีปัญหาเช่นนี้ และได้ล้มประมูลไปเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 15 วันก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยอ้างว่ามีคนไปดีลเพราะคนที่ไปประมูลทำท่าว่าจะยื่นจริงๆ อยู่ 2 บริษัท

โดยเมื่อวานนี้นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคพท. ได้อภิปรายบอกว่าตนเป็นคนร้องบริษัทบีทีเอสสายสีเขียว ตนเป็นคนร้องคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช.ค้างไว้ หลังจากเดือนสิงหาคม 2563 ได้เกิดกระบวนการเจรจาซึ่งไทม์ไลน์ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวก็ได้เดินมาตามปกติ แต่ไทม์ไลน์มาแปลกๆ สีเขียวมาจากบีทีเอสก็ไปร่วมทุนกับการเดินรถจะแพงจะถูกก็ว่ากันไป แต่สีส้มเป็นการประมูลกันระหว่างบีทีเอส กับอีกบริษัททางด่วนกรุงเทพฯ หรือบีอีเอ็ม ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาน ซึ่งหากเข้าตามตรอกออกตามระตูไม่ได้ก็ต้องเข้าหลังบ้าน

“หลังจากนั้นในเดือนสิงหาคมมีปฏิบัติการ 16 วันทันใจนาย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ( มหาชน ) ซึ่งไม่รู้ว่าเกี่ยวอะไรด้วยหรือเปล่าเกี่ยวกับการประมูล บังเอิญไปยื่นเรื่องถึงผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งแห่งประเทศไทย พูดง่ายๆ คือส่งจดหมายไปทักท้วงว่าที่กรรมการทั้ง 8 คนบอกว่าจะต้องมีคุณสมบัติ เทคนิค ใช้เงินต่อรัฐเท่าไหร่ และโปรโมชั่นอื่นๆ มีออะไรบ้าง มันไม่ได้ มันไม่ถูก” นายจิรายุ กล่าว

นายจิรายุ อภิปรายต่อว่า 6 สิงหาคม บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ( มหาชน ) ยื่นทักท้วงต่อรฟม. ว่าที่เปิดประมูลไปแล้วที่ผ่านครม.มาแล้วขอให้เปลี่ยน บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ( มหาชน ) ไม่มีโอกาสที่จะไปเปลี่ยน ต้องเป็นกรรมการ หลังจากนั้นก็มีการประชุมกัน เขาเรียกกันว่าโปรโมชั่นเดิมพันที่ผลประโยชน์และตำแหน่ง โดยกรรมการทั้ง 8 คน มีนายกิตติกร ตันเปาว์ ผู้ช่วยผู้ว่าการรถไฟฟ้ามหานคร นั่งเก้าอี้ประธานคณะกรรมการ คนที่สองคือนายประสิทธิ์ ศิริภากรณ อธิบดีอัยการ น.ส.กนกรัตน์ ขุนทอง สำนักงบระมาณ นายประภาส คงเอียด สคร.รัฐวิสาหกิจ นายสรพงษ์ ไพฑูรย์ นายอัฌษไธก์ รัตนดิรก ณ ภูเก็ต อดีตอธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายกาญผจญ อุดมธรรมภักดี ผอ.ฝ่ายพัฒนารฟม. และนายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า

ซึ่งทั้ง 8 คนจะมีสักกี่คนที่จะไว้ใจได้บ้าง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขเงื่อนไขในการเปิดประมูล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมคือคณะกรรมการทั้ง 8 คน ผู้แทนจากกระทรวงคมนาคม คือผู้ช่วยปลัดคมนาคม และที่ปรึกษาของประเทศไทย หรือ BMTO ทั้งนี้ประธานคณะกรรมการตามมาตรา 36 ได้มีการเชิญนายภคพงษ์ ศิริกันธรมาศ ผู้ว่ารฟม. มาร่วมประชุมด้วย ทั้งๆ ที่สุ่มเสี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งในที่ประชุมได้มีการแก้กฏเกณฑ์ใหม่ โดยเห็นชอบและมีการประกาศขึ้นเว็บไซต์ทันทีในช่วงบ่าย

“ท่านเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทุนผูกขาด เพื่อให้มีสิทธิดำเนินงานในกิจการของรัฐ โดยไม่รักกษาผลระโยชน์ของรัฐ ท่านทุจริตต่อหน้าที่ ปล่อยปะละเลยในการทุจริตให้มีหน่วยงานที่กำกับดูแลสมทบคิดกันเพื่อปกปิดการทุจริต ไม่ยึดถือตามหลักกิจการบ้านเมืองที่ดี ที่ผมพูดมาอยากบอกรัฐมนตรีว่า เรื่องแบบนี้ไม่มีใครไม่กินข้าว เขากินข้าวกันทุกคน เอกชนที่จะลงประมูลไม่ว่าจะเป็นบริษัทไหน ถ้าท่านมีกฎกติการที่ชัดเจน ไม่เอื้อประโยชน์ ผมว่าไม่น่ากลัว ประเทศไทยเจริฐได้มากกว่านี้และไปไกลกว่านี้อีกเยอะ จากกรณีดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถไว้วางใจท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้” นายจิรายุ อภิปราย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image