“วันชัย” เชื่อ ส.ว. ไม่ยื่นศาลรธน.ตีความร่าง พ.ร.บ.ประชามติ หวั่น ปชช.มองว่าแตะถ่วง

“วันชัย” เชื่อ ส.ว. ไม่ยื่นศาลรธน.ตีความร่าง พ.ร.บ.ประชามติ หวั่น ปชช.มองว่าแตะถ่วง

เมื่อวันที่ 1 เมษายน นายวันชัย สอนศิริ สมาขิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมกมธ. ภายหลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขมาตรา 9 ของร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ว่า เท่าที่พิจารณาในเบื้องต้น ประเด็นสำคัญที่มีการปรับเพื่อให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญ จ้อความใดๆต่างๆทั้งหมดที่มีความวิตกกังวลในมาตรา9ว่าอาจจะมีปัญหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนได้ดูร่างในเบื้องต้นแล้ว เชื่อว่าข้อกังวลดังกล่าวน่าจะหมดไป ซึ่งการแก้ครั้งนี้เป้าประสงค์สำคัญจะไม่ไปแตะในมาตรา 9 เดิมที่ให้อำนาจรัฐสภาและประชาชนยังให้อยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ปรับปรุงเสริมเติมให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 166 และมาตรา 156 ที่กำหนดไว้ว่ารัฐสภาต้องประชุมร่วมกันได้นั้น มีเฉพาะ 16 เรื่องเท่านั้น แต่เรื่องประชามติไม่มีในรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นเวลามาปรับในประเด็นนี้ก็ค้องปรับให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญไม่ให้ขัดแย้ง แปลว่าให้อำนาจของรัฐสภาตามมาตรา 9 ยังเดินไปได้ตามปกติ ตนเชื่อว่าเมื่อมีการถกแถลงทำความเข้าใจกันแล้ว ทั้งกรรมาธิการเสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย ฝ่ายรัฐบาล ส.ส. ส.ว. วันนี้ตนเชื่อว่าแนวโน้ม พ.ร.บ.ประชามติน่าจะผ่านไปได้ด้วยดี และไม่มีข้อวิตกกังวลอื่นใดทั้งสิ้น เท่าที่ตนพิจารณาในเบื้องต้น แต่เป็นธรรมดาที่ในชั้นกรรมาธิการจะต้องถกแถลงกันจนตกผลึกและในที่สุดหากหาข้อยุติกันไม่ได้ก็ต้องลงมติ แต่ส่วนใหญ่จะพยายามตกลงกันให้ได้ การลงมตินั่นใช้น้อยมาก แต่จะพยายามใช้ข้อตกลงที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน

เมื่อถามว่า เมื่อมีการปรับแก้ให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญแล้วเชื่อว่าจะไม่มีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีกใช่หรือไม่ นายวันชัย กล่าวว่า เมื่อไม่ได้มีการปรับแก้แน่นอนสมาชิกหลายคนที่แสดงความคิดว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ และหากไม่มีการปรับแก้ให้สอดรับอาจจจะมีบางคนไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ แต่เมื่อได้มีการปรับแก้และอธิบายแล้วว่าจะไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ก็เชื่อว่าคงจะไม่มีใครไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะเกรงว่าประชาขนจะมองว่าเป็นการแตะถ่วงยื้อเวลา แต่ทั้งนี้จะไปห้ามสมาชิกคนใดคนหนึ่งไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ หรือปม้แต่ภาคประชาชนก็ยังมีสิทธิที่จะยื่นได้หากเห็นว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้นประเด็นเหล่านี้โดยส่วนตัวและจากที่ได้มีการพูดคุยในที่ประชุมวิปวุฒิสภาไม่น่าจะมีประเด็นเหล่านี้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่รู้ว่าเหมือนกันใครจะไปยื่นหรือไม่ แต่เท่าที่ได้ทำความเข้าใจกันเบื้องต้นทุกฝ่ายยอมรับได้ ทั้งนี้ ส่วนตัวเชื่อว่าหากในวันนี้ชั้นกรรมาธิการสามาีถตกลงกันได้ และหากเสียงข้างมากสามารถผ่านไปได้ เชื่อว่าในวาระ 3 ก็จะผ่านไปได้ และจะสามารถประกาศใช้ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติได้ เพราะเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากเป็นกฎหมายของรัฐบาล และประการต่อมาที่มีการพูดคุยกันเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ บางมาตราจะต้องใช้ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ดังนั้นการมีกฎหมายฉบับนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของกุญแจดอกแรกที่จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เมื่อถามว่า กรณีที่กฤฎีกามีการปรับแก้อย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ นายวันชัย กล่าวว่า เท่าที่ตนได้อ่านแล้วเป็นทั้งกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการในการที่จะดำเนินการ เพราะในมาตรา 9 ที่เติมเข้ามาไม่ได้บอกถึงวิธีการ กระบวนการ แต่เมื่อปรับแก้แล้วจะบอกถึงขั้นตอนวิธีการและสุดท้ายจะต้องเดินไปจุดใดที่จะไม่ให้ขัดมาตรา 166 เพราะฉะนั้นรายละเอียดตรงนี้เป็นสิ่งที่เติมเข้ามาและทำให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญที่สุดคือการลดข้อขัดแย้งแต่ละมาตราให้สามารถไปด้วยกันได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image