อีกมุมคดี ‘ธรรมนัส’ เผยกฤษฎีกาเปลี่ยนแนว ยึดหลักอธิปไตยเหนือรัฐ อจ.จี้ยึดเจตนารมณ์รธน.ด้วย

อีกมุมคดี “ธรรมนัส” เผยกฤษฎีกาเปลี่ยนแนว ยึดหลักอธิปไตยเหนือรัฐ อจ.จี้ยึดเจตนารมณ์รธน.ด้วย

จากกรณีคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดีของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรฯ เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ศาลระบุว่า คำตัดสินของศาลต่างประเทศให้จำคุก ไม่ผูกพันรัฐไทย จึงสามารถดำรงตำแหน่งการเมืองต่อไปได้

คลิกอ่าน ‘ธรรมนัส’ เฮ! มติศาลรธน. ชี้โทษจำคุกตปท. ไม่ส่งผลถึงไทย ได้เป็นรัฐมนตรีต่อ

ต่อมา มีผู้นำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 5) ซึ่งได้พิจารณาปัญหาดังกล่าว ในปี 2525 มาเผยแพร่ ใจความว่า
เมื่อได้พิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ 2521) บุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง แล้วเห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ระบุว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำคุกของศาลในประเทศใด และบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรก็เพราะเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม ถ้าต้องห้ามเฉพาะการกระทำผิดในประเทศ ไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดในต่างประเทศ ก็จะเกิดการลักลั่นไม่เป็นธรรม และขัดกับเหตุผลในกรณี เช่น ความผิดอย่างเดียวกัน มีโทษอย่างเดียวกัน ถ้าทำผิดในประเทศ ต้องห้าม ถ้าทำผิดในต่างประเทศไม่ต้องห้าม

ฉะนั้น บุคคลใดเคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการถูกจำคุกในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ ก็ต้องถือว่าเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามเจตนารมณ์แห่งมาตรา 96 ( 5) และ (8) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

Advertisement

ดังนั้น ในการรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าบุคคลใดที่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกไม่ว่าในประเทศหรือในต่างประเทศตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง ซึ่งมิใช่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทแล้ว ก็ย่อมถือได้ว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

อย่างไรก็ตาม ในปี 2554 คณะกรรมการกฤษฎีกาได้เปลี่ยนแนวคำวินิจฉัย มายึดหลักการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับแนววินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีร.อ.ธรรมนัส ตามเอกสารดังต่อไปนี้ ในหน้า 2 และ 3

http://web.krisdika.go.th/data/comment/comment2/2554/c2_0562_2554.pdf?fbclid=IwAR2IeB3ZAIguhckMXToLEndUKRwS2bIgrYrGoGi6c5w5fxB22wYWAmEA4u8

Advertisement

อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการหลายคนทักท้วงว่า ควรพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการบุคคลที่มีความเหมาะสม ไม่เคยเกี่ยวข้องกับคดีร้ายแรงมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย

คลิกอ่าน คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาฯ สงสัยศาลรธน.ไม่เอ่ยถึงเจตนารมณ์รธน.- คดียาเสพติดเป็น double criminality

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image