30 พ.ค. ครบรอบ 14 ปี ศาลรัฐธรรมนูญ ‘ยุบพรรค’ ไทยรักไทย

30 พ.ค. ครบรอบ 14 ปี ศาลรัฐธรรมนูญ ‘ยุบพรรค’ ไทยรักไทย

‘ยุบพรรค’ เหตุการณ์ที่เกิดซ้ำหลายต่อหลายครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย หนึ่งในนั้น เกิดขึ้นในวันนี้ เมื่อ 14 ปีที่แล้ว นั่นคือการยุบพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2550

ข้อมูลจาก สถาบันพระปกเกล้า ในบทความของ ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิต เศรษฐบุตร ระบุถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ดังกล่าว ความว่า

เป็นวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เป็นวันที่พรรคไทยรักไทยที่เป็นพรรคการเมืองใหญ่และเป็นพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลโดยได้ถูกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด้วยมติเอกฉันท์ของตุลาการ ทั้ง 9 ท่าน และกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยถูกวินิจฉัยเพิกถอนสิทธิทางการเมืองทุกคนเป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งคำวินิจฉัยเพิกถอนสิทธินี้ไม่เป็นเอกฉันท์แต่เป็นมติ6 ต่อ 3 เสียง จึงทำให้กรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คน หมดสิทธิทางการเมืองในทันที ปรากกฏ ในคำสั่ง ดังนี้

“คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจึงมีคำส่งให้ยุบพรรคไทยรักไทย ผู้ถูกร้องที่ 1 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2524…กับให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวน 111 คน ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องตอบรับการเปลี่ยนกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ฉบับลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2549…

Advertisement

”ในวันที่มีคำวินิจฉัยนั้น พรรคไทยรักไทยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรักษาการหัวหน้าพรรค และมีนายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี เป็นรักษาการเลขาธิการพรรค ถ้านับจาก วันที่พรรคไทยรักไทยจดทะเบียนก่อตั้ง เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 พรรคการเมืองนี้ก็อยู่มาได้ประมาณเกือบ 8 ปี และที่บอกว่าหัวหน้าพรรคการเมืองนี้ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นั้นเองพรรคไทยรักไทยตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 ลงสู่สนามเลือกตั้ง ครั้งแรกในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2544 ก็ได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่งได้เป็นแกนจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้มีการยุบพรรคการเมืองอื่นเข้ามารวมกับพรรคไทยรักไทย ทำให้พรรคไทยรักไทย เป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และเมื่อเป็นรัฐบาลครบ 4 ปี ได้ลงแข่งขันในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2548 ก็ชนะอย่างมาก ได้เสียงในสภาเกินกว่า 2 ใน 3 ได้เป็นรัฐบาลเดียวมี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีหลังเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 และได้เป็นรัฐบาลแล้วสถานการณ์ทางการเมืองกลับไม่ดีนัก รัฐบาลถูกคัดค้านในสภาและ ถูกชุมนุมประท้วงนอกสภา จนนำไปสู่การที่รัฐบาลเสนอ ยุบสภาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่การเลือกตั้งทั่วไปในครั้งนั้นถูกประท้วงจากพรรคฝ่ายค้านเดิมที่มีอยู่ 3 พรรค โดยการไม่ร่วมลงแข่งขันในการเลือกตั้งและต่อมามีการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงทำให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปกันใหม่แต่ยังไม่ทันจะมีการเลือกตั้งใหม่ก็ได้มีการยึดอำนาจ โดยคณะทหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ส่วนการร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคไทยรักไทย นี้ก็มาจากเรื่องที่พรรคได้ทำในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 นั่นเอง และในคำวินิจฉัยยุบพรรคของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญครั้งเดียวกันนี้ก็มีพรรคการเมืองอื่นอีก 2 พรรค คือ พรรคพัฒนาชาติไทยกับพรรคแผ่นดินไทยถูกยุบด้วย

 

 

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image