‘โฆษกประชาชาติ’ จี้ ‘บึ๊กตู่’ เร่งกระจายอำนาจให้ อปท.เพื่อสร้าง ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’

‘โฆษกประชาชาติ’ จี้ ‘บึ๊กตู่’ เร่งกระจายอำนาจให้ อปท.เพื่อสร้าง ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’

นาย สุพจน์ อาวาส โฆษกพรรคประชาชาติ ระบุว่า เมื่อมีการอุบัติของโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง หรือ โรคระบาดในราชอาณาจักร การดำเนินการใดๆก็ตาม ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ. ศ 2558 และ มาตรา 11 กำหนดให้เป็นความรับผิดชอบของ ‘คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ’ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานและมีอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นกรรมการและเลขานุการ แต่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ได้มีประกาศและโอนอำนาชั่วคราวตามกฎหมายของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.

โรคติดต่อ พ. ศ. 2558 เป็นของ ศบค. ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานและนายกรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจสูงสุด ทั้งอำนาจในการบริหารและอำนาจตามข้อกฎหมาย ต้องรีบจัดประชุม ศบค. เพื่อการนี้ เฉกเช่นที่เคยเป็นมา คือ ได้มีการสั่งการผ่าน ‘กระทรวงมหาดไทย’ ให้ อปท.ดำเนินการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับ covid-19 เช่น การจัดเตรียมสถานที่ การจัดทำหน้ากากอนามัย ฯลฯ

” สิ่งที่นายกรัฐมนตรีและ ศบค. ควรทำ คือ (1) ประกาศให้ อปท.จัดซื้อวัคซีนได้และมั่นใจว่า อปท.ที่มีความพร้อม ก็สามารถจัดทำได้ทันที เพราะกฎหมายจัดตั้งได้ให้อำนาจไว้อยู่แล้ว (2) จัดทำขั้นตอนกระบวนการ หรือ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างและชนิดวัคซีนที่สามารถจัดหาได้ แจ้งเวียนให้ อปท.ทราบและถือเป็นแนวทางปฏิบัติ (3)แจ้งให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้ความร่วมมือและสนุบสนุน อปท.ในการกระจายวัคซีนให้เข้าถึงประชาชน ควบคู่ไปกับ (4) สำทับให้ อปท. ที่มีความพร้อมด้านงบประมาณ หรือ มี ‘เงินสะสม’ เพียงพอ หรือ เหลือเกินเกณฑ์ตามที่รัฐบาลเคยประกาศไว้ ดำเนินการจัดซื้อ หรือ จัดหาวัคซีนได้ทันที แต่การจัดซื้อจัดหาก็ต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการงบประมาณ ระเบียบการเบิกจ่าย รวมถึง หนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง.การจัดซื้อจัดจ้างก็ต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติม รวมถึง หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุข เช่น วัคซีน หรือ ยา หรือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะซื้อ หรือ ผู้มีสิทธิ์นำเข้า ต้องผ่านการรับรองจาก อย. เป็นต้น”

“ส่วน อปท.ที่ไม่มีความพร้อมในการจัดหาวัคซีน ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องเติมเต็มและจัดหางบประมาณสมทบเพื่ออุดช่องว่างในการจัดซื้อ หรือ จัดหาวัคซีนในส่วนที่ขาดให้กับ ปชช.ในพื้นที่เป็นการเฉพาะ”

Advertisement

” อปท. มีศักยภาพและมั่นใจว่า ผู้บริหาร อปท. ทำได้ดีและการดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้นในระดับประเทศ เพื่อรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศ”

” รัฐบาลต้องเร่งรีบดำเนินการโดยเร็วและทำได้ทันที เพราะนายกรัฐมนตรี มีทุกอย่างอยู่ในมือหมดแล้ว เพียงแต่ยังขาดการตัดสินใจและการสั่งการที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ ตามที่ทราบทั่วกัน

” อย่าปล่อยให้การบริหารหรือ การจัดการ และการจัดหาวัคซีน ‘เละเทะ’ เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น รัฐบาลเปิด Application หมอพร้อม จังหวัดพร้อม โรงพยาบาลก็พร้อม แต่พอเปิด walk in แบบปูพรหม ประชาชนต่างคนก็ต่างไปลงทะเบียน แต่ไม่มีวัคซีนฉีดให้”

” บัดนี้ ประชาชนพร้อม นายกรัฐมนตรี จึงควรรีบสั่งการและแก้ไขปัญหานี้โดยเร็วที่สุดและ ศบค. ต้องไม่ปล่อยให้หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงมีหนังสือ หรือ มีคำวินิจฉัย และ/หรือ ให้ความเห็นจนทำให้สังคมเกิดความสับสนในลักษณะเดียวกันกับผู้ตรวจการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2564 ไม่เกี่ยวข้อง นายสุพจน์ อาวาส กล่าวทิ้งท้าย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image