ส.ส.ก้าวไกลปีกแรงงาน เขียนบทความ นายจ้างบังคับฉีดวัคซีนได้หรือไม่ ?

ส.ส.ก้าวไกลปีกแรงงาน เขียนบทความ นายจ้างบังคับฉีดวัคซีนได้หรือไม่ ?

เมื่อวันที่ 8 มิถนายน วรรณวิภา ไม้สน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เขียนบทความ เรื่องนายจ้าง บังคับฉีดวัคซีนได้หรือไม่ ? มีรายละเอียดดังนี้

สถานการณ์ปัจจุบันโลกต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid19 แม้กระทั่งประเทศไทยที่ต้องเผชิญกับเชื้อไวรัส Covid19 เกือบทุกสายพันธ์ ทั้งที่ประเทศไทยทราบข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid19 ที่ประเทศจีน ในปลายปี พ.ศ.2562 โดยที่ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุข ยังได้ให้สัมภาษณ์กับทางสื่อมวลชนว่า “Covid19 ก็คือโรคหวัดโรคหนึ่ง หรือไข้หวัดธรรมดา” จนกระทั่งปลายเดือน มีนาคม พ.ศ.2563 ทราบว่าเชื้อไวรัส Covid19 ได้เข้าสู่ประเทศไทยแล้ว หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยก็ได้ดำเนินการคิดค้นวัคซีนต้านเชื้อไวรัส Covid19 สำเร็จมีหลายหลายยี่ห้อ และแต่ละยี่ห้อก็มีประสิทธิภาพที่มากน้อยแตกต่างกันไป

สำหรับประเทศไทยรัฐบาลมีการนำเข้าวัคซีนจำนวน 2 ยี่ห้อ คือ ซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า มาฉีดให้กับประชาชนเพื่อที่จะให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เกิดขึ้นแต่ผลปรากฎว่าประชาชนส่วนมากไม่ประสงค์ที่จะฉีดเพราะเกิดความกังวลคือ

Advertisement

1.วัคซีนที่จะฉีดนั้นจะมีผลกระทบต่อตนเองหรือไม่และจะเสียชีวิตหรือไม่
2.ประสิทธิภาพในตัววัคซีนมีคุณภาพมากน้อยอย่างไร
3.ประชาชนไม่สามรถเลือกวัคซีนที่คิดว่ามีคุณภาพมากที่สุดให้กับตนเองได้
ปัจจุบันรัฐบาลได้มีการรงณรงค์ให้ประชาชนเข้าฉีดวัคซีนแต่ก็ยังมีจำนวนน้อยมากที่ลงทะเบียนฉีดวัคซีน

เนื่องจากเกิดความกังวลในตัววัคซีนจนมีข่าวว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีการบังคับให้ข้าราชการหรือพนักงานของตนฉีดวัคซีน หากไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจะไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนและจะไม่ได้รับเงินโบนัสจึงเกิดความถามว่า

1.รัฐบาลมีสิทธิ์ที่จะบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีนหรือไม่
2.เอกชนสามารถบังคับให้พนักงานของตนเองฉีดวัคซีนหรือไม่

Advertisement

โดยหลักแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิในร่างกายและเสรีภาพของบุคคล

[ มาตรา28 บัญญัติว่า ”บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย” ]

และการที่ให้ประชาชนมาเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน เชื้อไวรัส Covid19 ก็ถือได้ว่าเป็นการบริการด้านสาธารณะสุขอีกอย่างหนึ่งที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ก็มีบทบัญญัติไว้ใน

[ มาตรา47 บัญญัติว่า”บุคคลย่อมมี สิทธิ ได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ” ]

จะเห็นได้ว่ามาตรา47 นั้นใช้คำว่าสิทธิ ถือว่าได้ว่าเป็นสิทธิไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ จึงเห็นว่าประชาชนจะฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนที่รัฐจัดหาให้ก็ได้ และไม่เป็นความผิดตามกฎหมายเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่บัญญติว่า หากไม่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อจะถือว่าเป็นความผิดประชาชนก็สามารถที่จะปฎิเสธการฉีดวัคซีนดังกล่าวได้

และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ก็มีบทบัญญัติในส่วนเรื่องของหน้าที่ของปวงชนชาวไทยไว้ใน

[ มาตรา50 บุคคลมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ]

(1) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติศาสนาพระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2) ป้องกันประเทศพิทักษ์รักษาเกียรติภูมิผลประโยชน์ของชาติและสาธารณสมบัติของแผ่นดินรวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(3) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
(4) เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ
(5) รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
(6) เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นและไม่กระทําการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม
(7) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสําคัญ
( 8 ) ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติความหลากหลายทางชีวภาพรวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม
(9) เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
(10) ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ

จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดได้บัญญัติหน้าที่ของประชาชนไว้ชัดเจนไม่มีข้อความใดที่ระบุหน้าที่ของประชาชนให้ต้องฉีดวัคซีน ส่วน พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ก็ไม่มีบทบัญญัติที่ระบุว่าหากไม่ฉีดวัคซีนจะมีความผิดตามกฎหมาย ในกรณีมีกลุ่มเสี่ยงไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดหากมีการติดโรคระบาดเกิดขึ้นจนทำให้เกิดโรคระบาดเกิดขึ้นนั้นจะทำอย่างไร ก็ต้องพิจารณาว่าบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อไวรัสก็เพราะว่าไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของที่ห้ามไปในสถานที่ๆมีโอกาศที่จะติดเชื้อ เช่นการวงการพนัน จัดงานปาร์ตี้ เป็นต้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับการไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด

หากมีการบังคับฉีดวัคซีนให้กับประชาชนโดยไม่สมัครใจไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนอาจถือได้ว่าการเป็นการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดและอาจผิดกฎหมายอาญาด้วยซ้ำไป

ประชาชนที่เข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีนและผลกระทบหากฉีดวัคซีนแล้วจะมีผลอย่างไรต่อตัวเองและคนรอบข้าง ยังไม่นับรวมถึงประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวนี้ เช่นประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือบุคคคลที่ไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ต มันสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการโรคระบาดของรัฐบาล แม้กระทั่งวัคซีนก็ยังไม่เพียงพอต่อประชาชน ประเทศไทยทราบถึงโรคระบาดCovid19 พ.ศ.2562 ปัจจุบันกลางปี พ.ศ.2564 ประเทศไทยยังไม่มีวัคซีนที่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนอยู่

การกระทำของรัฐบาลที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนเป็นเรื่องที่ดี แต่รัฐบาลมีการรงณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนในทุกมิติต่อประชาชนน้อยเกินไปรวมถึงความเชื่อมั่นในตัววัคซีนก็น้อยมาก ประกอบกับไม่มีวัคซีนทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าซิโนแวค และ แอสต้าเซนิก้า ให้กับประชาชนด้วย

(1) ประกาศของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่มีประเด็นถามมาว่า นายจ้างบังคับให้ลูกจ้างฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโควิด 19 ได้หรือไม่ ?

ถ้าการบังคับฉีดวัคซีนของนายจ้าง หมายถึง การใช้กำลังกายภาพเอาตัวร่างกายลูกจ้างไปฉีด โดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอม อันนี้ก็คงทำไม่ได้เพราะเป็นการละเมิดสิทธิในร่างกายตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีกฎหมายกำหนดให้นายจ้างทำได้ ทำไปก็ผิดกฎหมายอาญา และเป็นการละเมิดสิทธิลูกจ้างอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายให้เขา

“แต่ถ้านายจ้างมีเหตุผลอันสมควรที่จะสั่งให้ลูกจ้างในโรงงานหรือบริษัทไปฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกจ้างป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด อันอาจจะเกิดขึ้นในโรงงานหรือสถานประกอบการ คำสั่งนั้นยอมชอบด้วยกฎหมาย (เหตุผลอันสมควรนี้อาจพิจารณาหลายๆ ส่วน เช่น มีการระบาด ติดเชื้อในที่ทำงานมาแล้ว ประเภทกิจการ ตำแหน่งหน้าที่ลักษะงานของลูกจ้างแต่ละคน ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือแพทย์ เป็นต้น)”

จากประกาศของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนี้ยังไม่เห็นว่าจะมีกฎหมายใดให้อำนาจนายจ้างที่จะสามารถทำได้หรือมีประกาศใดให้อำนาจไว้ การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนหรือลูกจ้างโดยที่ไม่สมัครใจเป็นอันตรายอย่างยิ่งเพราะการฉีดวัคซีนเข้าร่างกายของคนต้องไม่ลืมว่าสุขภาพของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกันภูมิคุ้มกันของแต่ละคนไม่เหมือนกันรัฐบาลหรือนายจ้างจะต้องระวังที่อาจจะถูกฟ้องร้องได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image