“ชำนาญ” เขียนถึง “โทนี” อธิบายสรุปๆ หลักการเลือกตั้ง แบบเยอรมันโมเดล   

“ชำนาญ” เขียนถึงโทนี สรุปอย่างง่าย ระบบเลือกตั้ง แบบเยอรมันโมเดล   

กรณีที่ นายทักษิณ ชินวัตร หรือ โทนี วู้ดซั่ม ได้ร่วมพูดคุยกับ CARE ClubHouse x CARE Talk แสดงความเห็นว่า ชอบรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มากที่สุด โดยระบุว่า “มีระบบเขต 400 เขต ปาร์ตี้ลิสต์ 100 คนไปถึงก็โหวต 2 ใบ ใบหนึ่งเลือกคน อีกใบเลือกพรรค ก็เอาใบของคนมาตัดสินเขตนั้นเลย พรรคก็เอามาดูกกต.กลาง ว่าใครได้เท่าไหร่ ข้อดี ประชาชนได้เลือกทั้งพรรค ทั้งคน ประชาชน ตัดสินได้เอง ว่าจะเลือกพรรคอะไร ส.ส.ไหน ซึ่ง ผมไม่ค่อยมีปัญหา แบบ 40 ชัด ประชาชนชิน ถ้ากลับไปอีก อย่างที่ก้าวไกลบอกว่า 2 บัตรแบบเยอรมันนั้น ผมไม่ชำนาญ เลยไม่รู้ เพราะผมเองเป็นผลผลิตของปี 40”

วันนี้ (16 มิ.ย.) นายชํานาญ จันทร์เรือง อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ได้โพสต์ถึงกรณีที่นายทักษิณ บอกว่า ไม่ชำนาญ ระบบเลือกตั้งแบบเยอรมัน โดยระบุว่า

“#ตอบคุณโทนี

ระบบเลือกตั้งเยอรมันหรือ “ระบบการเลือกตั้งแบบ สัดส่วนที่รวมถึงการกำหนดตัวบุคคล” นั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนได้ในสองลักษณะคือ คะแนนเสียงที่หนึ่งเลือกตัวบุคคลผู้สมัครในเขตเลือกตั้ง และคะแนนเสียงที่สองเลือกพรรคการเมือง โดยการคำนวณจำนวนที่นั่งซึ่งพรรคการเมืองจะได้รับนั้น พิจารณาบนฐานของระบบสัดส่วนตาม จำนวนคะแนนเสียงที่สอง ประกอบไปกับการประกันความเป็นผู้แทนให้กับผู้ชนะการเลือกตั้งตามผลของคะแนนเสียงที่หนึ่งในเขตเลือกตั้งด้วย

Advertisement

สรุปให้เข้าใจง่ายๆคือ เอาคะแนนทั้งหมดที่เลือกบัญชีรายชื่อหรือ party list มาคำนวณทั้งหมดว่าแต่ละพรรคควรจะมี ส.ส.ในสภาเท่าไหร่ เช่น สภาไทยมี ส.ส. 500 เป็นเขต 400 บัญชีรายชื่อ 100 (ตามที่กำลังมีการเสนอแก้) ถ้าคำนวณโดยเอา 500 (ไม่ใช่ 100 แบบรธน.40) มาหารจำนวนเสียงจากparty list ทั้งหมดว่าพรรคการเมืองแต่ละพรรคได้เท่าไหร่ สมมุติว่า พรรค ฮ.คำณวนแล้วได้ 300 แต่ได้ส.ส.เขตไปแล้ว 250 ก็จะได้ party list อีก 50 น่ะครับ

อย่างไรก็ตาม เยอรมันเขาก็จำกัดคะแนน party list ไว้ให้พรรคที่จะมีสิทธิคำนวณต้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 น่ะครับ”
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image