จุดร่วม ความต่าง พลังประชารัฐ ‘เพื่อไทย’ ในทาง การเมือง

จุดร่วม ความต่าง พลังประชารัฐเพื่อไทยž ในทาง การเมือง

การเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขและเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญŽ ได้กลายเป็น เส้นแบ่งŽ อย่างสำคัญสะท้อนความเป็นจริงในทางการเมือง

ไม่ว่าจะมาจาก พลังประชารัฐŽ ไม่ว่าจะมาจาก เพื่อไทยŽ

ความเป็นจริงที่เด่นชัดเป็นอย่างมากก็คือ การปฏิเสธบทบาทและความหมายจากการเคลื่อนไหวของเยาวชนคนรุ่นใหม่ไปโดยสิ้นเชิง

Advertisement

ถามว่าการเคลื่อนไหวของ เยาวชนŽ คืออะไร

ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวโดยเยาวชนปลดแอกŽ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยบนถนนราชดำเนิน

ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวโดย คณะราษฎร 2563Ž เมื่อเดือนกันยายน ที่ท้องสนามหลวง

Advertisement

แม้จะมีข้อเรียกร้องปรากฏขึ้นมากมาย แต่ก็รวมศูนย์และแวดล้อมอยู่ 3 ข้อ นั่นก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกไป ต้องยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย

และต้องมี การปฏิรูปŽ

แม้ว่าในท่ามกลางการเคลื่อนไหวโดยมีเป้าหมายอยู่ที่การแก้ไขและเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญŽ จะมีรายละเอียดทั้งร่วมและแตกต่างกัน

ระหว่าง พลังประชารัฐŽ กับ เพื่อไทยŽ

แตกต่างกันตรงที่พรรคเพื่อไทยและพันธมิตรต้องการให้ตัดสิทธิของ 250 ส.ว. ขณะที่พรรคพลังประชารัฐไม่แตะในส่วนนี้

แต่จุด ร่วมŽ อย่างมีนัยสำคัญมี 2 ประเด็น

นั่นก็คือ มีความต้องการร่วมที่จะให้มีการนำเอาวิธีการเลือกตั้งในแบบของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

นั่นก็คือ ใช้บัตร 2 ใบ

ขณะเดียวกัน อีกจุดร่วมหนึ่งทั้งของพรรคพลังประชารัฐ ทั้งของพรรคเพื่อไทย จะไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 อย่างสิ้นเชิง

ความหมายก็คือ ปฏิเสธข้อเสนอของ กลุ่มเยาวชนŽ
หากมองจากพรรคพลังประชารัฐอันเป็นพรรคที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค และสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี

ก็เข้าใจได้ว่าต้องเป็นอย่างนี้

เนื่องจากเป้าหมาย 1 ของการเคลื่อนไหวโดย เยาวชนŽ คนรุ่นใหม่ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 กระทั่งเดือนมิถุนายน 2564 มีความเด่นชัด

ต้องการ ไล่Ž พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

กระนั้น หากมองผ่านพรรคเพื่อไทยก็ต้องยอมรับว่าพรรคเพื่อไทยได้แสดงความโน้มเอียงและเห็นอกเห็นใจการเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง

ถึงกับส่ง ส.ส.ไปติดตามและให้ความช่วยเหลือ

แต่เมื่อถึงเวลาสำคัญในการเสนอประเด็นในการแก้ไขและเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยกลับปฏิเสธข้อเสนออันมาจาก เยาวชนŽ ไป

เหมือนกับปฏิเสธ บทบาทและความต้องการของพวกเขา

การตัดสินใจเช่นนี้เมื่อศึกษาโดยละเอียดก็ยังเห็นความต่างระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยอย่างเด่นชัด

ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องของ ยุทธวิธีŽ

ขณะเดียวกัน ภายในยุทธวิธีในแต่ละจังหวะก้าวที่แตกต่างระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย กลับปรากฏลักษณะ ร่วมŽ อย่างเด่นชัด

เป็นลักษณะ ร่วมŽ อันดำรงอยู่ในทางเป็นจริง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image