รัฐสภา รับหลักการร่างที่ 13 ของ ปชป. เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ เพียงร่างเดียว

ผลลงมติ รัฐสภารับหลักการร่างที่ 13 ของ ปชป. เรื่องเปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ ร่างเดียว! นอกนั้นเสียง ส.ว.ไม่ถึง 1 ใน 3 จึงไม่ผ่าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่สมาชิกรัฐสภาลงมติร่างแก้ไขรัฐธรมนูญทั้ง 13 ร่างเสร็จสิ้นในเวลา 23.25 น. วันที่ 24 มิถุนายน โดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง 30 นาที จากนั้นเป็นการนับคะแนน

โดยหลังจากใช้ระยะเวลาในการนับคะแนนนานกว่า 2 ชั่วโมง นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุมได้ประกาศต่อที่ประชุม ว่า กฎหมายกำหนดไว้ว่าการลงคะแนนในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมดของสภา

โดยขณะนี้สภามีสมาชิกที่ปฎิบัติหน้าที่อยู่ 733 คน ดังนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งคือ 367 เสียง วุฒิสมาชิก 1 ใน 3 คือ 84 คน

Advertisement

ร่างที่ 1 : พรรคพลังประชารัฐ 5 ประเด็น 13 มาตรา มติรับหลักการ 334 คะแนน เป็น ส.ส. 334 คะแนน ส.ว. 0 คะแนน ไม่รับหลักการ 199 คะแนน เป็น ส.ส. 71 คะแนน วุฒิสมาชิก 128 คะแนน งดออกเสียง 173 คะแนน เป็น ส.ส. 75 คะแนน วุฒิสมาชิก 98 คะแนน เท่ากับร่างนี้ไม่ผ่านกระบวนการ

ร่างที่ 2 : พรรคเพื่อไทย-เพิ่มสิทธิขั้นพื้นฐาน มีมติรับหลักการ 399 คะแนน เป็น ส.ส. 393 คะแนน วุฒิสมาชิก 6 คะแนน ไม่รับหลักการ 136 คะแนน เป็น ส.ส. 8 คะแนน วุฒิสมาชิก 128 คะแนน งดออกเสียง 171 คะแนน เป็นส.ส. 79 คะแนน วุฒิสมาชิก 92 คะแนน เท่ากับร่างที่ 2 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ

ร่างที่ 3 : พรรคเพื่อไทย-เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ มีมติรับหลักการ 376 คะแนน เป็น ส.ส. 340 คะแนน วุฒิสมาชิก 36 คะแนน ไม่รับหลักการ 89 คะแนน งดออกเสียง 241 คะแนน เท่ากับร่างที่ 3 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ

Advertisement

ร่างที่ 4 : พรรคเพื่อไทย-ที่มานายกรัฐมนตรี มีมติรับหลักการ 455 คะแนน เป็น ส.ส. 440 คะแนน วุฒิสมาชิก 15 คะแนน ไม่รับหลักการ 101 คะแนน งดออกเสียง 150 คะแนน เท่ากับร่างที่ 4 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ

ร่างที่ 5 : พรรคเพื่อไทย-รื้อมรดกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีมติรับหลักการ 327 คะแนน เป็น ส.ส. 326 คะแนน วุฒิสมาชิก 1 คะแนน ไม่รับหลักการ 150 คะแนน งดออกเสียง 229 คะแนน เท่ากับร่างที่ 5 นี้ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ

ร่างที่ 6 : พรรคภูมิใจไทย-ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 454 คะแนน เป็น ส.ส. 419 คะแนน วุฒิสมาชิก 35 คะแนน ไม่รับหลักการ 86 คะแนน งดออกเสียง 166 คะแนน เท่ากับร่างที่ 6 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ

ร่างที่ 7 : พรรคภูมิใจไทย-รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 476 คะแนน เป็น ส.ส. 421 คะแนน วุฒิสมาชิก 55 คะแนน ไม่รับหลักการ 78 คะแนน งดออกเสียง 152 คะแนน เท่ากับร่างที่ 7 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ

ร่างที่ 8 : พรรคประชาธิปัตย์-เพิ่มสิทธิขั้นพื้นฐาน ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 469 คะแนน เป็น ส.ส. 421 คะแนน วุฒิสมาชิก 48 คะแนน ไม่รับหลักการ 75 คะแนน งดออกเสียง 162 คะแนน เท่ากับร่างที่ 6 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ

ร่างที่ 9 : พรรคประชาธิปัตย์-ตัดอำนาจ ส.ว.แก้รัฐธรรมนูญ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 415 คะแนน เป็น ส.ส. 400 คะแนน วุฒิสมาชิก 15 คะแนน ไม่รับหลักการ 102 คะแนน งดออกเสียง 189 คะแนน เท่ากับร่างที่ 9 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ

ร่างที่ 10 : พรรคประชาธิปัตย์-แก้การตรวจสอบ ป.ป.ช. ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 431 คะแนน เป็น ส.ส. 398 คะแนน วุฒิสมาชิก 33 คะแนน ไม่รับหลักการ 97 คะแนน งดออกเสียง 178 คะแนน เท่ากับร่างที่ 10 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ

ร่างที่ 11 : พรรคประขาธิปัตย์-ที่มานายกรัฐมนตรี ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 461 คะแนน เป็น ส.ส. 440 คะแนน วุฒิสมาชิก 21 คะแนน ไม่รับหลักการ 96 คะแนน งดออกเสียง 149 คะแนน เท่ากับร่างที่ 11 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ

ร่างที่ 12 : พรรคประชาธิปัตย์-กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 457 คะแนน เป็นส.ส. 407 คะแนน วุฒิสมาชิก 50 คะแนน ไม่รับหลักการ 82 คะแนน งดออกเสียง 167 คะแนน เท่ากับร่างที่ 12 ก็ไม่ผ่านขั้นรับหลักการ

ร่างที่ 13 : พรรคประชาธิปัตย์-เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นบัตร 2 ใบ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีมติรับหลักการ 552 คะแนน เป็น ส.ส. 342 คะแนน วุฒิสมาชิก 210 คะแนน ไม่รับหลักการ 24 คะแนน งดออกเสียง 130 คะแนน เท่ากับร่างที่ 13 คะแนนเกินกึ่งหนึ่ง และได้เสียงจากวุฒิสมาชิกเกิน 1 ใน 3 ดังนั้น ร่างนี้จึงผ่านขั้นรับหลักการ

นายชวนกล่าวว่า เท่ากับร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอมา 13 ฉบับนั้น มีฉบับที่ 13 ผ่านเพียงฉบับเดียว

จากนั้นได้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่ … พ.ศ. … จำนวน 45 คน แบ่งเป็น ส.ว. 15 คน และ ส.ส. 30 คน ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 8 คน พรรคพลังประชารัฐ 8 คน พรรคภูมิใจไทย 4 คน พรรคก้าวไกล 3 คน พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคเสรีรวมไทย 1 คน พรรคประชาชาติ 1 คน และพรรคเศรษฐกิจใหม่ 1 คน

เมื่อดำเนินการเสนอรายชื่อเสร็จแล้ว นายชวน ได้แจ้งที่ประชุมว่า จากนี้จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ กมธ. หากผู้ใดมีความประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นใดก็ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อ กมธ.ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่สภารับหลักการ

โดยขอนัดประชุม กมธ.นัดแรกในวันอังคารที่ 29 มิถุนายน เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารรัฐสภา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image