เสนอ 3 มาตรการ สินเชื่อช่วย ‘ข้าว’

จากปัญหาเรื่องข้าว จนเกิดเป็นคดีความตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับพวกรวม 21 คน ทำความผิดด้วยการแบ่งหน้าที่กันทำงาน โดยช่วยเหลือและเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทโดยไม่ต้องแข่งขันราคากับผู้เสนอรายอื่น แล้วนำข้าวที่ซื้อได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายในประเทศ หรือต่ำกว่าราคาที่รับจำนำ นำไปขายต่อให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในประเทศ หรือนำไปให้บริษัทสยามอินดิก้านำไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมการค้าต่างประเทศและประเทศชาติ คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาทนั้น ล่าสุดภาครัฐมีมาตรการในการช่วยเหลือข้าว อย่างกระทรวงพาณิชย์ มีมาตรการตลาดนัดข้าวเปลือก สินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือก ชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าว เป็นต้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 กันยายน นายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวไปปลูกพืชที่หลากหลายฤดูนาปรัง ปี 2560 ด้วยการจ่ายเงินให้ชาวนาไร่ละ 2,000 บาท เพื่อเป็นมาตรการสนับสนุนเเละจูงใจให้เกษตรกรลดรอบปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่นทดเเทน ตั้งเป้าหมายพื้นที่ 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา พื้นที่ 300,000 ไร่ ชาวนา 60,000 ครัวเรือน ให้ครัวเรือนละไม่เกิน 5 ไร่ วงเงินงบประมาณรวม 600 ล้านบาท จ่ายผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรมส่งเสริมการเกษตรจะทำหน้าที่รวบรวมคุณสมบัติ และให้เกษตรกรเข้าร่วมด้วยความสมัครใจไม่ใช่การบังคับเลิกปลูก จะให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้องค์ความรู้ เเละทำความเข้าใจเกษตรกรเเนะนำให้ปลูกพืชอื่นทดเเทนการทำนาปรังให้เหมาะสมกับพื้นที่เเละการชลประทาน อาทิ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ป้อนสู่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งยังขาดแคลนผลผลิตและยังมีความต้องการของตลาดจำนวนมาก

“โครงการดังกล่าวจะสอดรับกับการปฏิรูปภาคเกษตรข้าวครบวงจร จะไม่ทับซ้อนกับโครงการปรับเปลี่ยนอาชีพทำนาไปทำปศุสัตว์ ไร่ละ 1,000 ดำเนินการโดย ธ.ก.ส. ของกระทรวงการคลัง เกษตรกรต้องเลือกโครงการใดโครงการหนึ่ง หรือหากเข้าร่วมโครงการใดไปแล้วจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้” นายคนิตกล่าว และว่า ทางกรมจะทำหน้าที่คัดเลือกเกษตรกรตามคุณสมบัติหลักขึ้นทะเบียนเกษตรกรในพื้นที่ ส.ป.ก.4-01 ระยะเวลารับสมัครไม่เกิน 18 กันยายน 2559 เมื่อคัดกรองคุณสมบัติได้แล้วก็จะส่งให้ ธ.ก.ส.พิจารณาเบิกจ่ายต่อไป

นางมิ่งขวัญ พุกเปี่ยม ประธานชมรมโรงสีข้าวพิจิตร กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2559/60 มีทั้งหมด 17 โครงการ ว่า หลักความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรชาวนาใน จ.พิจิตรนั้น ชาวนาพิจิตรไม่มีที่ตากข้าวและไม่มียุ้งข้าว ส่วนใหญ่เกี่ยวข้าวแล้วขายให้กับทางโรงสี

Advertisement

เลย ไม่สามารถลดความชื้นในข้าวได้ แม้ว่าทางรัฐจะออกมาให้ทางโรงสีช่วยซื้อข้าวชาวนาแล้วชดเชยให้ดอกเบี้ยกับโรงสี 3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือ 4 เปอร์เซ็นต์ โรงสีจะต้องจ่ายเอง ถามว่าข้าวที่รับซื้อไปนั้นโรงสีจะขายให้กับใคร ธนาคารก็ไม่ให้เงินซื้อ สรุปแล้วเงินจะถึงชาวนาหรือเปล่า เพราะโรงสีได้มา 3 เปอร์เซ็นต์ แต่มาเสียให้กับธนาคาร 4 เปอร์เซ็นต์

นางมิ่งขวัญ กล่าวว่า ทุกโรงสีใน จ.พิจิตรย่ำแย่ไปตามๆ กัน เพราะซื้อแพงแต่ขายถูก ปัญหาคือซื้อเงินสด แต่ไปขายให้กับผู้ส่งออก เงินไม่ใช่ว่าจะได้ทันทีก็ต้องรอ ส่วนราคาข้าวตอนนี้อยู่ที่ 6 พันกว่า ข้าวแห้งก็ 7 พันกว่า ขณะนี้โรงสีใน จ.พิจิตรปิดตัวไปแล้ว 3 โรง ขณะนี้เหลืออีกเดือนกว่าๆ ข้าวจะออกมาเป็นล้านตัน ดอกเบี้ยชดเชยให้กับโรงสีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์นั้นไม่มีผลช่วยเหลือชาวนาได้เลย เพราะธนาคารไม่ให้สินเชื่อกับทางโรงสีมารับซื้อข้าว โรงสีก็ขาดสภาพคล่อง ส่วนใหญ่โรงสีจะรับซื้อข้าวตามเงินที่มีเท่านั้น ไม่สามารถรับซื้อได้ทั้งหมด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมาตรการหลักๆในการช่วยเหลือปัญหาจากข้าว แบ่งออกเป็น 3 มาตรการ โดยได้จัดทำเป็นกราฟิกมติชนรายวัน เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

Advertisement

p0103100959p1

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image