09.00 INDEX กระบวนการ “รด.จิตอาสา” จุดแข็ง จุดอ่อน เคลื่อนไหว

ไม่ว่า “โฆษก” จากคสช. ไม่ว่า “โฆษก” จากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญล้วน”แถลง”ตรงกัน
1 ระบุว่ากระบวนการ “ต่อต้าน”มีลักษณะ”ตั้งธง”

ตั้งธงที่จะ “คว่ำ” สถานเดียว
ขณะเดียวกัน 1 ระบุว่ากระบวนการตั้งธงต่อต้านเสนอ”วาทกรรม”ในลักษณะ
“บิดเบือน”
กระนั้น บรรดา “โฆษก” ล้วนมากด้วย “ความมั่นใจ”

“ประชาชนจะออกมาใช้สิทธิ์ตามเป้าแน่ ได้ประสานงานกับทั้งกองทัพและส่วนราชการ
ให้ช่วยทำความเข้าใจและช่วยรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์”

เป็นความมั่นใจจาก นายอมร วานิชวิวัฒน์
เป็นความมั่นใจว่าในที่สุดแล้ว ประชาชนมากกว่าร้อยละ 80 จะต้องออกมาร่วมลง “ประชามติ”

Advertisement

เป็นความมั่นใจว่า “ร่าง”รัฐธรรมนูญผ่าน “ฉลุย”

เป็นความมั่นใจในกระบวนการดำเนินรายการ “แกะกล่องรัฐธรรมนูญ”
ที่จะออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ 2 เวลา เช้า เย็น

เหมือนรายการ”คืนความสุข”ทุก”วันศุกร์”

เหมือนรายการ”เชื่อมั่นประเทศไทย” เวลา 18.00 น.ทุกวัน

ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นความเชื่อมั่นผ่านกระบวนการของหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
อย่างที่เรียกว่า “รด.จิตอาสา”

ไม่เพียงแต่ใน “ส่วนกลาง” เท่านั้น หากจะกระจายไปในต่างจังหวัด ทุกกองทัพภาคที่มี “นักศึกษาวิชาทหาร”
ตระเวณออกไปทำความเข้าใจเรื่อง”ร่าง”รัฐธรรมนูญให้ “ประชาชน”

ไม่ว่า กรุงเทพมหานคร ไม่ว่าภาคกลาง ไม่ว่าภาคเหนือ ไม่ว่าภาคใต้ ไม่ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ล้วนแต่มี “รด.จิตอาสา” ลงพื้นที่พร้อมกับ”ทหาร”

ในวัน”ประชามติ” รด.จิตอาสาก็จะออก”แอ็คชั่น”

นั่นก็คือ ไปยืนประจำอยู่ทุกหน่วยลง “ประชามติ” เพื่อเชิญชวน”ประชาชน”ให้มาใช้สิทธิ์
คึกคักกัน “ทั่วประเทศ”

เหมือนกับว่า “มาตรการ” ผ่านหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนในขอบเขตทั่วประเทศจะสร้างความหวัง
สร้างความมั่นใจ

เป็น “จุดแข็ง” ในทาง “การเมือง”
เป็นความหวังว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อนาคตสดใส

เป็นความมั่นใจว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ผ่านประชามติแน่
100 เปอร์เซ็นต์

แต่ภายใน “จุดแข็ง” ก็อาจมี “จุดอ่อน” ปรากฏให้เห็นได้ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับกระบวนการ
“ตัดสินใจ” ของ “ประชาชน”

อย่างที่ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ สรุป

ปัจจัยที่จะทำให้ผ่านหรือไม่ผ่านประชามติอยู่ที่ 1 ประชาชนมีความรู้สึกว่าได้ประโยชน์มากน้อย แค่ไหน
และ 1 เกิดความรู้สึกว่าร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้ประเทศ ชาติบ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้

นั่นก็ขึ้นอยู่กับ “ข้อเท็จจริง” ในทาง “ประชาธิปไตย”

นั่นก็คือ อำนาจอย่างที่เรียกว่า “อธิปไตย” เป็นของและมาจากประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่

หรือว่า อำนาจ”อธิปไตย” ถูก “แย่งชิง”เอาไป
ตรงนี้แหละที่บรรดา “โฆษก” ไม่ว่าจะจากคสช. ไม่ว่าจะจากกรธ.มีความเห็น ร่วมว่า

ถูก”บิดเบือน”

คำถามก็คือ เมื่อเห็นว่าบิดเบือนจะอธิบายอย่างไร จะแก้ต่างอย่างไรว่า
“อำนาจอธิปไตย”ยังอยู่ในมือของ “ประชาชน”

คำตอบสุดท้ายย่อมขึ้นอยู่กับ “ประชาชน”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image