09.00 INDEX เสียงท้วงติง จาก 70 นักนิติศาสตร์ เตือนตรงไปยัง ประยุทธ์ จันทร์โอชา

09.00 INDEX เสียงท้วงติง จาก 70 นักนิติศาสตร์ เตือนตรงไปยัง ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ไม่ว่าข้อกำหนดฉบับที่ 27 ไม่ว่าข้อกำหนดฉบับที่ 29 อันอนุวัติตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน คือความต่อเนื่องของคำสั่งคสช.ฉบับที่ 3/2558

เป็น “อำนาจพิเศษ” อันได้มาจาก ”กฎหมายพิเศษ” ซึ่งสะท้อนเงาแห่ง ”รัฐประหาร” อย่างเต็มเปี่ยม

นี่คือ “ความเคยชิน” ที่ได้กลายเป็น ”วาสนา” หนึ่งติดตรึงอยู่กับกลไกแห่งอำนาจอันเป็นการสืบทอดและต่อเนื่องมาจากกระบวนการรัฐประหาร

อำนาจในลักษณะนี้จะหวนคืนมาในทุกวาระที่รู้สึกว่าเกิดความ ไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจในอำนาจที่มีอยู่ในมือว่าจะเพียงพอต่อการสยบและกำราบฝ่ายตรงข้ามได้หรือไม่

Advertisement

คล้ายกับอำนาจนี้จะเป็น ”เครื่องมือ” เพื่อสัประยุทธ์กับไวรัสกับโควิดที่รุกเข้ามา แต่ปลายทางแห่งการฟาดฟันกลับมิใช่

เพราะ ”ประชาชน” ต่างหากที่ตกเป็น ”เหยื่อ” ของการกล่าวหา

ข้อท้วงติงอันหนักแน่นอย่างที่สุดซึ่งไม่ควรมองข้ามคือ ข้อท้วงติงที่มาจากอาจารย์ด้านนิติศาสตร์จำนวนมากกว่า 70 คน

Advertisement

ข้อกำหนดฉบับที่ 29 หากสื่อมีการนำเสนอ ”ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว” นั้น เป็นข้อกำหนดที่ขัดต่อรัฐธรรม นูญอย่างชัดเจน

เพราะการให้ดุลพินิจแก่รัฐเป็นผู้ชี้ว่าเนื้อหาใดที่ก่อให้เกิดความ หวาดกลัวนั้นไม่มีมาตรวัดที่ชัดเจนแน่นอน

อาจนำไปสู่การใช้อำนาจตามอำเภอใจกำหนด ”เนื้อหาการใช้เสรีภาพของสื่อ” ได้ จึงย่อมเป็นการจำกัดเสรีภาพของสื่อมากเกินาสมควรแก่เหตุตามที่รัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครองไว้แล้ว

ดังนั้น หากกสทช.รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐใดดำเนินการตามข้อกำ หนดจึงย่อมต้องรับผิดตามกฎหมายด้วย ขอถามว่า กรณีการแจ้ง

ยอดผู้เสียชีวิตเป็นข้อความอันอาจทำให้เกิดความหวาดกลัวหรือไม่

คำถามอันมาจากนักวิชาการทางด้าน ”นิติศาสตร์” ซึ่งทำหน้าที่สอนตามสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศ เป็นคำถามเดียวกันอันมา จาก 6 สถาบันสื่อมวลชนอันเป็นตัวแทนของสื่อ

เป็นคำถามถึงรัฐบาล ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

สะท้อนให้เห็นว่าแม้จะผ่านการเลือกตั้งแต่ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังติดอยู่กับอำนาจพิเศษ กฎหมายพิเศษ

กำราบมากกว่าจะให้เสรีภาพประชาชนเยี่ยงนักประชาธิปไตย

ย้อนอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image