แถลงล่าชื่อค้านมติถอด ‘สุชาติ’ วงวรรณกรรม-นักวิชาการลงนามเพียบ ยื่น 3 ข้อเรียกร้อง เล็งสู้ตามกระบวนยุติธรรม

แถลงล่าชื่อค้านมติถอด ‘สุชาติ’ วงวรรณกรรม-นักวิชาการลงนามเพียบ ยื่น 3 ข้อเรียกร้อง เล็งสู้ตามกระบวนยุติธรรม

สืบเนื่องกรณี นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ได้รับหนังสือแจ้งการยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 6 กันยายน ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ ผู้ก่อตั้ง Documentary Club สร้างแคมเปญรณรงค์นี้ร้องเรียน กรมส่งเสริมวัฒนธรรมและคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ผ่านเวปไซต์ change.org โดยมีการแพร่แถลงการณ์ ซึ่งมีบุคคลในวงการหนังสือ และนักวิชาการร่วมลงนามแนบท้าย 91 ราย พร้อมเชิญชวนให้ประชาชนร่วมลงนามด้วย

ความในแถลงการณ์ โดยสรุปว่า

ตามที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมมีหนังสือเลขที่ วธ 0503.5/3105 แจ้งไปยังนายสุชาติ สวัสดิ์ศรี อ้างถึงมติคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2564 วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2564 ให้ยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรตินายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ด้วยคะแนนเสียงมากกว่าสองในสามของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
มติคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ อ้างเหตุผลการยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ ระบุว่า นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี มีพฤติกรรมเสื่อมเสียโดยการแสดงความเห็นที่เป็นประเด็นขัดแย้งในสังคม มีถ้อยคำหรือภาพที่หมิ่นเหม่ต่อสถาบันผ่านสื่อเฟซบุ๊ก

Advertisement

มติดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาข้อสงสัยหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ อาทิ

หนึ่ง ข้อกล่าวหาหมิ่นเหม่ต่อสถาบันเป็นข้อกล่าวหาที่มีผลกระทบรุนแรง จำเป็นต้องแสดงพยานหลักฐานให้ประจักษ์ชัด ประเด็นสำคัญคือ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมิใช่ผู้มีอำนาจหน้าที่ จึงเป็นการวินิจฉัยเกินเลยบทบาทหน้าที่

สอง บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติควรติดตามทำความเข้าใจสภาพสังคมอย่างเท่าทัน และมีขีดความสามารถในการจำแนกแยกแยะได้

Advertisement

สาม หากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ถึงพร้อมด้วยสติปัญญาและดุลพินิจ สมควรเข้าใจได้ไม่ยากว่าการดึงสถาบันมาใช้เป็นข้อกล่าวหานั้น นอกจากจะรังแต่สร้างความมัวหมองให้แก่สถาบันแล้ว ในขณะเดียวกันยิ่งเป็นแรงเสริมให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน เนื่องจากเป็นที่รับรู้กันดีว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นเพียงเครื่องมือปิดปากผู้เห็นต่างทางความคิด

สี่ หากใช้วิธีพิจารณาแบบเหมารวมรวบรัดเฉกเช่นพฤติกรรมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ การใช้กฎกระทรวงข้อ 10 ที่เพิ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี 2563 เป็นเครื่องมือยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ ก็อาจตีความวินิจฉัยได้เช่นกันว่า นี่เป็นการแก้ไขกฎกระทรวงโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการกับบุคคลในสถานการณ์แตกต่างทางความคิด

แถลงการณ์ดังกล่าว ระบุถึง ขอเสนอข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

หนึ่ง ทบทวนและยกเลิกมติดังกล่าวอย่างรวดเร็ว
สอง คณะกรรมการคนใดอยู่ในเสียงข้างน้อย สมควรแสดงความกล้าหาญบอกกล่าวจุดยืนของตนต่อสาธารณะ เพื่อได้รับประดับเกียรติจากประชาชน
สาม หากคณะกรรมการคนใดบังเกิดความละอาย สามารถสร้างวัฒนธรรมดีงามใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคมด้วยการเอ่ยขอโทษอย่างจริงจัง และลาออกจากคณะกรรมการโดยเร่งด่วน เพื่อสร้างบรรทัดฐานการทำงานให้คนรุ่นถัดไปแสดงความนับถือได้

ทั้งนี้ นอกจากมาตรการทางสังคม ปัญหาจากมติที่ประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติดังกล่าว จะนำไปสู่ขั้นตอนการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม เพื่อดำรงหลักการความถูกต้องและชอบธรรมอีกหลายคดีความ

จึงแจ้งมาให้รับทราบโดยทั่วกัน

สำหรับบุคคลที่ลงนามท้ายเอกสาร มีจำนวน 91 ราย จากวงการต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นนักคิด นักเขียน นักวิชาการและสื่อมวลชน โดยระบุว่าจะถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม
ดังนี้
1. พวงทอง ภวัครพันธุ์
2. นิติ ภวัครพันธุ์
3. ยุกติ มุกดาวิจิตร
4. ธัช ธาดา
5. ทินกร หุตางกูร
6. ไพรัช แสนสวัสดิ์
7. อธิคม คุณาวุฒิ
8. วชิระ บัวสนธ์
9. อาทิตย์ ศรีจันทร์
10. ทิชา ณ นคร
11. ทองธัช เทพารักษ์
12. อธิคม โกมลวิทยาธร
13. อภิสิทธิ์ เรือนมูล
14. จรัญ หอมเทียนทอง
15. นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
16. สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย
17. สงวน คุ้มรุ่งโรจน์
18. พรเทพ แซ่เฮง
19. เกษมศักดิ์ วงษ์รัฐปัญญา
20. บุญเลิศ วิเศษปรีชา
21. ณัฐชนน มหาอิทธิดล
22. ชลธร วงศ์รัศมี
23. ณัฐกร เวียงอินทร์
24. ศรายุธ ตั้งประเสริฐ
25. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
26. หทัยรัตน์ พหลทัพ
27. วิจักขณ์ พานิช
28. ทวีศักดิ์ เกิดโภคา
29. พฤหัส พหลกุลบุตร
30. อานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์
31. ธัชชัย ธัญญาวัลย
32. อธึกกิต แสวงสุข
33. ธีระพล อันมัย
34. อติเทพ จันทร์เทศ
35. วิทยากร โสวัตร
36. วรพจน์ พันธุ์พงศ์
37. สร้อยแก้ว คำมาลา
38. ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล
39. เดชรัต สุขกำเนิด
40. กฤช เหลือลมัย
41. ถนอม ชาภักดี
42. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
43. ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์
44. วินัย ปราบริปู
45. อนันต์ ลือประดิษฐ์
46. นิวัต พุทธประสาท
47. จิรภัทร อังศุมาลี
48. บินหลา สันกาลาคีรี
49. ประภาส ปิ่นตบแต่ง
50. สิรนันท์ ห่อหุ้ม
51. คงกฤช ไตรยวงค์
52. อิสระ ชูศรี
53. อภิชาต สถิตนิรามัย
54. กษมา สัตยาหุรักษ์
55. พิพัฒน์ สุยะ
56. นาตยา อยู่คง
57. ศรันย์ สมันตรัฐ
58. ชาญณรงค์ บุญหนุน
59. สุรพศ ทวีศักดิ์
60. ประจักษ์ ก้องกีรติ
61. ภาสกร อินทุมาร
62. สินีนาฎ เกษประไพ
63. ทวิทธิ์ เกษประไพ
64. เคท ครั้งพิบูลย์
65. ธีรพล พัฒนภักดี
66. ธวัช ดำสอาด นักกฎหมาย
67. นฆ ปักษนาวิน
68. ภู กระดาษ
69. ภาณุ ตรัยเวช
70. จักรพันธุ์ ขวัญมงคล
71. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
72. กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป
73. ธิดา ผลิตผลการพิมพ์
74. ฤกษ์ อุปมัย
75. นคร โพธิ์ไพโรจน์
76. อัทธนีย์ เริงเขตการ
77. นพพร ศักดานเรศว์
78. พณ หะรารักษ์
79. สมบัติ บุญงามอนงค์
80. อนุสรณ์ อุณโณ
81. นงลักษณ์ สุขใจเจริญกิจ
82. พชรวรรณ ทนงคงสวัสดิ์
83. ณฐ ด่านนนทธรรม
84. อังคาร จันทร์เมือง
85. ก้องกานต์ จันทร์อ่อน
86. บูรพา เล็กล้วนงาม
87. โชติรส นาคสุทธิ์
88. ณรรธราวุธ เมืองสุข
89. ประภาวี เหมทัศน์
90. เอื้อบุญ จงสมชัย
91. สุข์ปราณีย์ คันธะชัย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดจดหมาย ถอด ‘สุชาติ’ พ้นศิลปินแห่งชาติ ชี้ โพสต์ข้อความหมิ่นเหม่ต่อสถาบันหลัก

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image