สถานทูต 5 ชาติยุโรป ให้กำลังใจสภาไทย ถกร่างกม.ป้องกันการทรมาน-อุ้มหายในสัปดาห์นี้

สถานทูต 5 ชาติยุโรป ให้กำลังใจสภาไทย พิจารณาร่างกม.ป้องกันการทรมานและอุ้มหาย

เมื่อวันที่ 14 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานทูตในประเทศไทยหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร สวีเดน ลักแซมเบิร์ก ฟินแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ โพสต์ข้อความ จับตาดูการผ่านร่างพรบ.ป้องกันและปราบปรามการอุ้มหาย ที่กำลังจะเข้าพิจารณาในรัฐสภาในสัปดาห์นี้

โดย ทวิตเตอร์ทางการของสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ระบุว่า

“สัปดาห์นี้ร่าง พรบ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหายของไทย  จะเข้าพิจารณาในสภา  สหราชอาณาจักร  ขอยืนยันว่าเราสนับสนุนประเทศไทยในด้านนี้ และยินดีที่ได้เห็นความคืบหน้าในการผลักดัน พรบ. ไปอีกขั้น”

ขณะที่เอกอัคราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย ทวิตข้อความระบุว่า

Advertisement

สัปดาห์นี้รัฐสภาของไทยจะมีการพิจารณาร่างพรบ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหาย สวีเดนชื่นชมต่อร่างกฎหมายาดังกล่าว และให้กำลังใจประเทศไทยที่จะผลักดันร่างกฎหมายที่สำคัญฉบับนี้ตามแนวทางพันธสัญญาระหว่างประเทศ

เช่นเดียวกับ สถานเอกอัครราชทูตลักเซมเบิร์ก ทวิตข้อความ ระบุว่า รู้สึกยินดีที่ได้เห็นรัฐสภาไทยกำลังจะพิจารณาร่างพรบ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหายในสัปดาห์นี้  ลักเซมเบิร์กยินดีต่อการพัฒนาในเชิงบวกในประเด็นสำคัญยิ่งเหล่านี้

เช่นเดียวสถานเอกอัคราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย ก็ทวิตข้อความเช่นเดียวกัน ว่ามีความยินดีที่จะได้เห็นและขอเป็นกำลังใจการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นเช่นนี้  รวมไปถึงเอกอัคราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ก็โพสต์ข้อความให้กำลังใจการพิจารณากฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

Advertisement

ทั้งนี้ มีรายงาน สภาผู้แทนราษฎรกำลังจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. หรือร่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและอุ้มหาย ภาคประชาชนหลายฝ่ายร่วมกดันกดดันให้พิจาราณาภายในสมัยประชุมนี้ที่จะปิดประชุมวันที่ 18 ก.ย.นี้ โดยเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา เครือข่ายญาติผู้เสียหายจากการทรมานและอุ้มหาย พร้อมกับเครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชนและตัวแทนภาคประชาชน ทำกิจกรรมรณรงค์เชิงสัญลักษณ์ เพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรเร่งพิจารณาร่าง พ.ร.บ. หรือร่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและอุ้มหาย ภายในสมัยประชุมนี้ที่จะปิดประชุมวันที่ 18 ก.ย.นี้

ผู้ทำกิจกรรมได้ชูป้ายรณรงค์ และอ่านบทกวี เล่าถึงเหตุการณ์การถูกคุกคามโดยอำนาจรัฐในพื้นที่ชายแดนใต้ พร้อมสะท้อนความรู้สึกจากญาติผู้เสียหายจากการทรมานและอุ้มหาย ก่อนจะอ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้อง หลังชี้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาที่ความล่าช้าและถูกปัดตกไปหลายครั้ง

โดยเครือข่ายญาติผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานและอุ้มหายที่ร่วมกิจกรรม เช่น นายซูฮัยมิน ลือแบซา ตัวแทนเยาวชนในจังหวัดชายแดนใต้ ตัวแทนกลุ่มโมกหลวง นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และพี่สาวของต้า วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ที่หายตัวไประหว่างพักในกัมพูชา

ซึ่งที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบให้เลื่อนขึ้นมาจากเรื่องด่วนเรื่องที่ 9 ให้ขึ้นมาต่อเรื่องที่ 3 หลังจากการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง คสช.เรื่องการปฏิรูปการศึกษา แต่คาดว่าจะพิจารณาได้ในสัปดาห์ต่อไป ซึ่งร่างกฎหมายที่คล้ายกันมี 4 ฉบับ ที่ร่างขึ้นมาอีกและคาดว่าจะนำเข้าพิจารณาพร้อมร่างของ ครม. เช่น ร่างของกรรมาธิการการกฎหมาย ร่างที่เสนอโดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และร่างที่เสนอโดยนายสุทัศน์ เงินหมื่น

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย เป็นร่างฯ ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ เนื้อหาได้อ้างอิงเหตุผลถึงกรณีการทรมานและการกระทำบุคคลสูญหาย ซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง อันไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าสถานการณ์ใด

เพื่อยกระดับ เพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของไทย จึงสมควรกำหนดฐานความผิดมาตรการป้องกันปราบปราม และมาตรการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม-ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้สูญหาย

ร่างกฎหมายฉบับนี้บัญญัติไว้ 34 มาตรา กำหนดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งมี รมว.ยุติธรรม เป็นประธาน และโครงสร้างมีรองประธาน คือปลัดกระทรวงยุติธรรม ส่วนกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีดีเอสไอ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม อัยการสูงสุด และนายกสภาทนายความ

รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน วาระ 4 ปี เป็นคนที่รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ด้านสิทธิมนุษยชน และด้านการแพทย์กับด้านจิตวิทยาอีกด้านละ 1 คน ซึ่งมีอำนาจเสนอความเห็น ครม.ปรับปรุงกฎหมาย กำหนดนโยบาย แผนงาน มาตรการป้องกันปราบปรามการทรมาน กำหนดหลักเกณฑ์ช่วยเหลือเยียวยาผู้รับความเสียหาย วางระบบระเบียบตามกฎหมายฉบับนี้

โดยโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทรมาน ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงแก่จิตใจและร่างกาย เพื่อวัตถุประสงค์ให้ได้มาซึ่งข้อมูล หรือคำสารภาพจากผู้กระทำหรือบุคคลที่ 3 ลงโทษเพราะเกิดจากความสงสัย ข่มขู่ และเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ผู้นั้นกระทำผิดฐานกระทำทรมาน มีโทษจำคุก 5-10 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000-300,000 บาท ถ้ากระทำผิดเป็นเหตให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัส โทษจำคุก 10-25 ปี ปรับตั้งแต่ 200,000-500,000 บาท และถ้ากระทำให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย โทษจำคุก 15-30 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 300,000-1,000,000 บาท

และหากเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำความผิดจับ ขัง ลักพา หรือกระทำการให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ผู้นั้นกระทำผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย โทษจำคุก 5-15 ปี ปรับ 100,000-300,000 บาท ถ้าทำให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสโทษจำคุก 10-25 ปี ปรับตั้งแต่ 200,000-500,000 บาท และถ้าทำให้ถึงความตาย โทษจำคุก 15-30 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 300,000-1,000,000 บาท

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image