‘ก้าวไกล’ ค้านร่าง พ.ร.บ.การศึกษา ‘วิโรจน์’ อัด หยุดเอาการศึกษาในอดีตมาบงการเด็ก

‘ก้าวไกล’ ค้านร่าง พ.ร.บ.การศึกษา ‘วิโรจน์’ อัด หยุดเอาการศึกษาในอดีตมาบงการเด็ก ด้าน ‘อมรัตน์’ เหน็บ คฝ. ตัวอย่างการไม่ได้รับการปลูกฝังเรื่องสิทธิมนุษยชน

เวลา 15.50 น. วันที่ 17 กันยายน ที่รัฐสภา ในการพิจาณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. … ซึ่งมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภา เป็นประธานการประชุม นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) อภิปรายว่า การศึกษายุคปัจจุบันต้องไม่ใช่กะบวนการที่จะสร้างใครให้เป็นแรงงานเพื่อไปรับใช้ใครอีกต่อไป ยุคนี้เขาเลิกถมกันแล้วว่าโตขึ้นอยากขึ้นอะไร เพราะเราไม่รู้ว่าอีก 10-20 ปี ข้างหน้า อาชีพที่มีอยู่ในปัจจุบันจะยังคงมีอยู่ไหม จะเกิดอาชีพใหม่ๆอะไรขึ้นบ้าง การศึกษาจึงไม่ใช่การเอาโจทย์ในอดีตมาบงการคนที่เกิดทีหลัง ว่าโตขึ้นไปต้องเป็นอะไร เพราะแบบนี้ไม่ใช่ระบบการศึกษา แต่เป็นกระบวนกาผลิตก้อนอิฐที่หายใจได้ เพื่อนำไปก่อเป็นกำแพงที่ทานกระแสโลก ซึ่งทานอย่างไรก็ทานไม่สำเร็จ ทั้งนี้ สิ่งที่สังคมอยากเห็นใน พ.ร.บ.การศึกษาฉบับนี้ คือ เราต้องเห็นการศึกษาที่เป็นกลไกในการพัฒนาคน การศึกษาไม่ควรเป็นระบบแพ้คัดออก ที่เป็นการสร้างเงื่อนไขในการจำกัดโอกาสในการเรียนของคนที่อยากเรียน ประเทศของเราเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีช่องว่าง และโอกาสในการพัฒนาอยู่เต็มไปหมด แล้วเราจะมาจำกัดโอกาสในการพัฒนาคนไปเพื่ออะไร นี่เท่ากับระบบการศึกษาแทนที่จะเป็นกลไกในการพัฒนาประเทศ กลับกลายเป็นตุ้มถ่วงฉุดรั้งการพัฒนา เราอยากเห็นการศึกษาที่โอบรัดความแตกต่างหลากหลาย เราอยากเห็นการกระจายอำนาจให้กับโรงเรียน โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ แต่ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ กลับจับจดอยู่ที่การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ทำไมต้องพยายามเอากะลามาครอบประเทศนี้ให้ได้ เราอยากเห็นการศึกษาที่เข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน เพื่อให้ทุกคนสามารถพัฒนาตนเองเต็มกำลังศักยภาพของตน เราอยากเห็นการศึกษาที่โอบรับเด็กพิเศษ และเด็กกำพร้าทุกคน

นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า เด็กทุกคนเติบโตขึ้นทุกวัน แล้วท้ายที่สุดเขาก็จะกลายเป็นพลเมืองของประเทศนี้ เราอยากเห็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาเด็ก ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะอยู่ในรั้ว หรือนอกรั้วโรงเรียน เราอยากเห็นการศึกษาที่ให้เด็กไทยมีความคิดสร้างสรรค์ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีความยืดหยุ่นเพียงพอหรือไม่ สามารถลดเวลาเรียน การตะบี้ตะบันสอบ แล้วคืนเวลาให้เด็กไปเรียนรู้สิ่งที่เป็นอนาคตหรือไม่ ปัญหาการศึกษาในวันนี้ไม่ใช่อยู่เพียงแค่ที่นโยบาย ถ้าเด็กในประเทศเรายังขาดทุกโภชนาการณ์ ห้องน้ำยังขาดความสะอาด รถโรงเรียนขาดความปลอดภัย ข่าวนักเรียนถูกไฟดูดตาย ขาดน้ำดื่มสะอาด ต่อมให้เราปรับหลักสูตรผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาก็ไม่เกิด เราอยากเห็นการศึกษาที่มุ่งสร้างความปลอดภัยทั้งกาย และใจให้กับเด็ก เราอยากเห็นการศึกษาที่ให้ความสำคัญต่อสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเท่าเทียมทางเพศ ฯลฯ สุดท้าย สิ่งที่เราอยากเห็นทั้งหมดนี้ เรายังไม่ได้เห็นอย่างชัดเจนในพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ ตนจึงไม่อาจยอมรับร่างพ.ร.บ.การศึกษาฉบับนี้ได้

Advertisement

ด้าน นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ปรากฎการณ์ทางสังคมทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นปรากฎการขูดหวย รวยเบอร์ โรยแป้ง ขูดต้นตะเคียนหาหวย ปรากฎการณ์บังไฟพญานาค ที่จริงๆแล้วรัฐบาลสามารถสร้างความกระจ่างให้กับสังคมได้ การศึกษาในไทยสามารถมีข้อพิสูจน์ แต่ก็ยังปล่อยให้สังคมมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อนกันทั้งๆที่มีศักยภาพจะหาความจริงได้ แต่ไม่ทำ ไม่ว่าจะเป็นหาการทรงเจ้าเขาผี ปัญหาการจัดรายการที่เกินจริง เช่นครีมหน้าใส ภายใน 7 วัน หรือยารักษาโรคมะเร็งได้ภายใน 7 วัน ก็ยังไม่มีการแก้ไข ดังนั้นเราจำเป็นพัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ เรามีความจำเป็นจะต้องหยุดการศึกษาที่ให้เยาวชนเน้นแต่ท่องจำค่านิยม 12 ประการ และเรามีความจำเป็นจะต้องให้เยาวชนเน้นความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิพลเมือง และสิทธิมนุษยชนให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และให้ตระหนักในความเสมอภาคเทาเทียมของมนุษย์

นางอมรัตน์ กล่าวต่อว่า ในภาพกว้างระบบการศึกษาไทยจะไม่ล้มเหลวได้อย่างไร เมื่อเรามีการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการบ่อยที่สุดในโลกและ 30 ปีที่ผ่านมา เรามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 34 คน หากย้อนไปแค่ 14 ปีที่ผ่านมาเรามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งหมด 16 คน เฉลี่ยแล้วเป้นรัฐมนตรีคนละ 10 เดือน และรัฐมนตรีที่อยู่ในตำหน่งสั้นที่สุดคืออยู่ในตำแหน่งเพียง 2 เดือนครึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการศึกษาเป็นเรื่องใหหญ่ที่เป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนหรือผู้ปกครอง เราจะอยู่ตัวคนเดียวตามลำพังไม่ได้ ถ้าเราเห็นว่าระบบการศึกษาล้าหลังและล้มเหลว

Advertisement

“เราได้ยินคำว่าปฎิรูปเต็มไปหมด ไม่ว่าจะปฏิรูปตำรวจ ปฏิรูการศึกษา ที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สำหรับดิฉันการศึกษาไม่ใช่เพียงแค่ให้อ่านออกเขียนได้ แต่ต้องสอนให้คิดเลิกท่องจำและปรับปรุงหลักสูตรให้มีความกระชับ มีความยืดหยุ่น บูรณาการเนื้อหาสาระ ที่โลกยุคออนไลน์เด็กสามารถหาได้ แต่การเรียนในห้องเรียนต้องเน้นทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทำงานเป็นทีมเวิร์ค เพื่ออกสู่โลคของการทำงานได้ รวมทั้งทักษะทางอารมณ์ ทักกษะในการฝึกตั้งคำถาม ที่สำคัญต้องเน้นให้รู้จักหน้าที่พลเมือง เพื่อเป็นพลเมืองโลกที่สง่างาม ถ้า คฝ. ปัจจุบันที่ออกมาควบคุมฝูงชน ออกมาสลายม็อบ ถ้ามีการปลูกฝังเรื่องการศึกษา เรื่องสิทธิมนุษยชนมากกว่านี้ ก็คงจะไม่มีปัญาการทำทารุณโหดร้าย ยิ่งประธานคณะกรรมการนโยบายนี้ เป็นพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดิฉันได้ยินชื่อก็สิ้นหวัง เพราะท่านผู้นี้เป็นคนที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง รับแต่ความชอบไม่เคยรับผิด และยังมีประวัติเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อยู่ในอำนาจโดยไม่แยแสต่อความสง่างามของการดำรงตแหน่ง ดิฉันขอให้ทบทวนชื่อประธานคณะกรรมการนโยบายด้วย หาคนที่มีความรู้ความสามารถมากกว่านี้” นางอมรัตน์ กล่าว

ทั้งนี้ระหว่างการอภิปรายมีเสียงจากสมาชิกประท้วง แต่ยังไม่ทันได้พูด นางอมรัตน์ก็พูดจบเสียก่อน แต่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้ตำหนิ นางอมรัตน์ ว่าไม่ควรเสียดสี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image