ปรากฏการณ์‘โควิดสไลด์’ เหลื่อมล้ำการศึกษาพุ่ง

หมายเหตุเนื้อหาส่วนหนึ่งจากรายงานประจำปี 2563 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

‘สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทย

สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทยในปีงบประมาณ 2563 (ต.ค.2562-ก.ย.2563) ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ ซึ่งตรงกับภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2562 สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในหลายด้าน แต่ภายหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขยายตัวในวงกว้างในช่วงไตรมาสที่ 3 ทำให้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทยยิ่งมีแนวโน้มแย่ลง วิกฤตการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเศรษฐานะของครัวเรือนนักเรียนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาส ทำให้จำนวนนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษเพิ่มขึ้นเป็น 1.7 ล้านคน ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 12,000 คน เพื่อประเมินผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และนำข้อมูลมาปรับแผนการทำงานของ กสศ.ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จากผลการสำรวจพบว่า

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านร่างกายและโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ในระยะสั้น เช่น ภาวะทุพโภชนาการของเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาส และสภาวะที่นักเรียนเกิดความรู้ถดถอย เป็นต้น หากไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบและทันท่วงที ผลกระทบจากโควิด-19 นี้ย่อมมีผลในระยะยาวต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย เช่น ผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประชากรวัยแรงงานของไทย และโอกาสที่ประเทศไทยจะก้าวออกจากกับดักรายได้ปานกลางตามกรอบเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

Advertisement

‘ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย

1.เศรษฐานะครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษในระบบการศึกษาไทย วสศ.ได้วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การจ้างงานและแหล่งที่มาของรายได้ครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า ครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุดร้อยละ 15 ของประเทศ (รายได้เฉลี่ยของสมาชิกครัวเรือนต่ำกว่า 1,500 บาทต่อคนต่อเดือน) ได้รับผลกระทบดังนี้

(1) ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ภาคเรียนที่ 1/2562) ครัวเรือนยากจนพิเศษมีรายได้หลัก
จากเงินเดือน/ค่าจ้าง ร้อยละ 57.4 รองลงมาคือสวัสดิการจากรัฐ/เอกชน ร้อยละ 39.6 และภาคการเกษตรร้อยละ 36.1 หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครัวเรือนยากจนพิเศษต้องพึ่งพารายได้จากสวัสดิการรัฐ/เอกชนมากขึ้น เป็นร้อยละ 54.5 ซึ่งสะท้อนถึงภาวะพึ่งพิงในครัวเรือนที่อาจมีเด็กแรกเกิด ผู้พิการ หรือผู้สูงอายุ โดยการพึ่งพารายได้จากเงินเดือน/ค่าจ้าง ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 47.5 เป็นผลมาจากการตกงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้แรงงานบางส่วนต้องกลับไปยังภูมิลำเนาเดิม และประกอบอาชีพทางการเกษตรมากขึ้น โดยช่องทางรายได้จากการเกษตรหลังสถานการณ์โควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 44.2 จาก 36.1

Advertisement

(2) หากพิจารณาช่องทางรายได้ของครัวเรือนยากจนพิเศษ พบว่า ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครัวเรือนยากจนพิเศษกว่าร้อยละ 57 มีช่องทางรายได้หลัก 1 ช่องทาง และครัวเรือนยากจนพิเศษร้อยละ 35 มีรายได้ครัวเรือน 2 ช่องทาง นอกจากนั้นหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่าครัวเรือนเศษร้อยละ 44 มีรายได้ 1 ช่องทาง และอีกร้อยละ 44 มีรายได้ 2 ช่องทาง สะท้อนรายได้เพิ่มเติมหลังการ
แพร่ระบาดของโควิด-19 สอคคล้องกับการลดลงของรายได้ประเภทเงินเดือนค่าจ้างและเพิ่มขึ้นในส่วนของการทำเกษตรกรรม

2.จำนวนนักเรียนยากจนที่เพิ่มขึ้นในปี 2563 จากข้อมูลพบว่า ในภาคเรียนที่ 1/2563 มีนักเรียนยากจนทั้งสิ้น 1.7 ล้านคน โดยเป็นนักเรียนยากจนพิเศษ จำนวน 9 แสนคน ซึ่งสูงกว่าภาคเรียนที่ผ่านมาประมาณ 2 แสนคน

นอกจากนี้ยังพบว่าหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้สถานะของครัวเรือนมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการมีสมาชิกในครัวเรือนอายุ 15-65 ปี ว่างงาน (ที่ไม่ใช่นักเรียน/นักศึกษา) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 ของนักเรียนยากจนพิเศษที่คัดกรองใหม่ก่อนมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นร้อยละ 73 ของนักเรียนยากจนพิเศษที่คัดกรองใหม่หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และส่งผลให้สมาชิก
ของครัวเรือนเฉลี่ยของนักเรียนยากจนพิเศษเพิ่มขึ้นจาก 4 คน เป็น 5 คน ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการอพยพกลับภูมิลำเนา เนื่องจากการว่างงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และในจำนวนนักเรียนยากจนพิเศษที่คัดกรองใหม่นี้ผู้ปกครองมีการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐถึงร้อยละ 42

ปรากฏการณ์โควิด-19 สไลด์ (COVID Slide) ผลกระทบระยะสั้นต่อพัฒนาการของเด็กและเยาวชนไทย โดย กสศ.และหน่วยงานต้นสังกัดการศึกษาของเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาส ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของ กสศ.ได้ร่วมกันสำรวจกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 12,000 คน เพื่อประเมินผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และกำหนดแนวทางการช่วยเหลือสนับสนุนที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปิดสถานศึกษาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และเพื่อลดผลกระทบต่อพัฒนาการด้านร่างกายและการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น โครงการช่วยเหลือนักเรียนทุนเสมอภาคเพิ่มเติมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภาคเรียนที่ 1/2563 มากกว่า 750,000 คน ให้มีอาหารรับประทานในช่วงการปิดสถานศึกษา

การที่เด็กและเยาวชนไม่ได้ไปโรงเรียนเป็นระยะเวลานานนั้นส่งผลกระทบการเรียนรู้และด้านร่างกาย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในครอบครัวที่มีรายได้น้อย ซึ่งขาดโอกาสในการเรียนรู้แบบออนไลน์และรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากขาดอุปกรณ์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือแม้แค่สัญญาณโทรศัพท์และไฟฟ้า จึงได้ติดตามแนวโน้มปรากฏการณ์ความรู้ถดถอยของเด็กและเยาวชน อันเนื่องมาจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือปรากฏการณ์ โควิด-19 สไลด์Ž (COVID Slide) โดยปรากฏการณ์นี้ได้มีการค้นพบและมีการศึกษาในระดับนานาชาติตั้งแต่กลางปี 2563

จากงานวิจัยของสถาบัน NWEA ในสหรัฐอเมริกาพบว่า การที่นักเรียนต้องอยู่บ้านเป็นเวลานานทำให้ความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์หายไปถึง 50% และความรู้ด้านการอ่านลดลง 30% โดยเฉพาะสถานการณ์ของนักเรียนในกลุ่มที่ไม่ได้เรียนโดยใช้ภาษาแม่เป็นภาษาหลัก ซึ่งทักษะด้านภาษาของนักเรียนลดลงมากเป็นพิเศษ โดยการเรียนการสอนแบบระยะไกลไม่อาจทดแทนการเรียนรู้และประสบการณ์จากการปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนได้ แม้แต่ในกลุ่มนักเรียนเศรษฐานะดีที่มีคอมพิวเตอร์และสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์

หากผลกระทบดังกล่าวนี้ไม่ได้รับการติดตามและแก้ไขอย่างทันท่วงทีย่อมจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มและสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ได้แก่

(1) ความเสี่ยงต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กไทยที่อาจมีภาวะถดถอยลง 1-2 ปีการศึกษา เมื่อเทียบกับอายุของผู้เรียนหากไม่มีการเฝ้าระวังพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคล และการสอนเสริมเพื่อแก้ไขปัญหาความถดถอยดังกล่าวในช่วงปลายปีการศึกษา 2563 ไปจนถึงต้นปีการศึกษา 2564 โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาสในพื้นที่เสี่ยงที่มีการปิดสถานศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์และสัญญาณอินเตอร์เน็ตในการเรียนที่บ้าน ทำให้อาจได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์โควิด-19

(2) ความเสี่ยงต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสุขภาวะของเด็กและเยาวชน เนื่องจากแม้ในยามปกติเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มากกว่าร้อยละ 80 โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาสในพื้นที่เสี่ยงที่มีการปิดสถานศึกษา ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าและจำเป็นต้องพึ่งพาอาหารกลางวันที่สถานศึกษาเป็นหลัก และในช่วงการปิดภาคเรียน เด็กและเยาวชนกลุ่มดังกล่าวก็มักประสบปัญหาอดมื้อกินมื้ออยู่เป็นทุนเดิม การปิดสถานศึกษามากกว่าร้อยละ 40 ของเวลาเรียนทั้งหมดย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา และสุขภาวะโดยรวมของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผลกระทบในระยะยาวต่อสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางสังคมของประเทศไทย ปรากฏการณ์โควิด-19 สไลด์ในประเทศไทย จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบภายในปีการศึกษา 2563-2564 เนื่องจากปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทย และขยายวงกว้างไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ซึ่งมีอยู่เป็นทุนเดิมในสังคมไทยอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้วงจรความยากจนข้ามชั่วคนยังคงเกิดขึ้นไปสู่คนรุ่นต่อไปของไทยในอนาคต และส่งผลต่อเป้าหมายการออกจากกับดักรายได้ปานกลางของไทย ที่จะต้องใช้เวลายาวนานมากกว่า 20 ปี ผ่านแนวโน้มสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาที่สำคัญ 2 ประการ ดังต่อไปนี้

(1) ปัญหาการหลุดออกจากระบบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาอันเนื่องมาจากภาวะถดถอยของพัฒนาการด้านการเรียนรู้และสุขภาวะของเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในระบบการศึกษา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ขาคแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาส เด็กในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร เด็กพิการ เด็กที่ต้องการการศึกษาแบบพิเศษ จากผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2562 ก่อนวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า อัตราการเข้าเรียนของเด็กที่มีสถานะยากจนและร่ำรวยแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะในระดับมัยยมศึกษาตอนปลาย กล่าวคือ ร้อยละ 87 ของเด็กในครัวเรือนที่มีสถานะร่ำรวยได้เข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในขณะที่เด็กในครัวเรือนที่มีสถานะยากจนได้เข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพียงร้อยละ 53 เท่านั้น

(2) การขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุด ร้อยละ 40 ของประเทศ และกลุ่มประชากรที่ร่ำรวยมากที่สุดร้อยละ 60 ของประเทศ ซึ่งก่อนวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากรายงานการศึกษาของธนาคารเมื่อปี 2562 ก่อนวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่าประชากร 2 กลุ่มนี้มีช่องว่างความเหลื่อมล้ำของทักษะการอ่านออกเขียนได้มากกว่า 2 ปีการศึกษา ปรากฏการณ์โควิด-19 สไลด์ที่พบในประเทศไทยย่อมเพิ่มความเสี่ยงให้ช่องว่างความเหลื่อมล้ำดังกล่าวนี้มากยิ่งขึ้น โดยก่อนวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศไทยก็อยู่ในระดับที่แย่กว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางขั้นสูง (Upper Middle Income Countries) ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่แล้ว จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ พ.ศ.2558 พบว่า กลุ่มประชากรที่มีระดับรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 ของประเทศไทยมีอัตราการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 76 และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพียงร้อยละ 27 ซึ่งห่างจากค่าเฉลี่ยของประเทศและค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางขั้นสูงที่ร้อยละ 56 และร้อยละ 59 ตามลำดับ

นอกจากนี้ในกลุ่มประชากรดังกล่าวมีอัตราการสำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเพียงร้อยละ 8 เทียบกับอัตราร้อยละ 48 ของกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ 20 ของประเทศ แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทยอันเนื่องมาจากเศรษฐานะที่ย่ำแย่กว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่มีฐานะใกล้เคียงกับไทยอย่างชัดเจน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image