20 ประเทศ 8 องค์กร หนุน อบจ. เสนอ UN กำหนด 6 ตุลา ‘วันปกป้องเสรีภาพ น.ร.-น.ศ.สากล’

20 ประเทศ 8 องค์กร หนุน อบจ. เสนอ UN กำหนด 6 ตุลา ‘วันปกป้องเสรีภาพ น.ร.-น.ศ.สากล’

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) และ กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ได้โพสต์ข้อความผ่านทางแฟนเพจ เปิดเผยว่า ผู้สนับสนุนจาก 20 ประเทศ และ 8 องค์กร สนับสนุน องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ในการเสนอให้ องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดวันที่ 6 ตุลา เป็นวันปกป้องเสรีภาพนักเรียนนักศึกษาสากลฯ พร้อมทั้งเชิญชวนร่วมลงชื่อสนับสนุนแคมเปญดังกล่าว ผ่านทาง https://chng.it/RVQ6vS5B9d มีรายละเอียด ดังนี้

องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) เสนอสหประชาชาติ (United Nations) กำหนดวันที่ 6 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียนนักศึกษาสากล” (the International Day for the Protection of Students’ Freedom of Expression) เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคมอันแสดงถึงการบ่อนทำลายเสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียนนักศึกษาที่ตอนนี้ยังคงเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในไทยและต่างประเทศ

ข้อเสนอมีผู้สนับสนุนเริ่มต้นจากมากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก อาทิ Nathan Law นักกิจกรรมชาวฮ่องกง Mu Sochua แกนนำฝ่ายค้านกัมพูชา และ Jandeil Roperos ประธานสหภาพนักศึกษาแห่งชาติฟิลิปปินส์ รวมถึงองค์กรเคลื่อนไหวนิสิต นักศึกษาในไทย อาทิ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สภานิสิตจุฬาฯ, แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มนักเรียนเลว

Advertisement

เนื้อหาในข้อเสนอได้อธิบายถึงความพยายามลบเลือนประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่พรากชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากโดยรัฐในวันที่ 6 ตุลา ซึ่งเกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัยที่ควรจะปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงชี้ว่า เหตุการณ์ 6 ตุลานั้นเป็นส่วนหนึ่งในคลื่นของขบวนการเคลื่อนไหวนักเรียนนักศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านระบอบเผด็จการอำนาจนิยมในหลากหลายประเทศ

ในปัจจุบัน สถานการณ์การใช้ความรุนแรงต่อนักเรียน นักศึกษา ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในไทย รัฐใช้ความรุนแรงและมุ่งดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมที่แสดงออกอย่างสันติ แม้แต่มหาวิทยาลัยที่ควรจะปกป้องสิทธิเสรีภาพ ก็เพิกเฉยต่อการละเมิดที่เกิดขึ้นและยังคงขัดขวางการใช้เสรีภาพในการแสดงออก ดังที่เห็นได้จากกรณีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อันเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่อนุญาตให้จัดการรำลึกครบรอบ 45 ปีภายในมหาวิทยาลัย ในฮ่องกง มีกรณีที่ ที่ทำการของนักศึกษาถูกบุกค้น ไปจนถึงขั้นยุบสหภาพนักศึกษา หรือในเมียนมา ที่นักศึกษาจำนวนมากถูกจับและถูกแจ้งข้อที่ต้องจำคุกเป็นเวลายาวนาน

Advertisement

เนื่องในโอกาส 45 ปี 6 ตุลา องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอว่า วันที่ 6 ตุลาคมเป็นวันที่เหมาะสมที่สมควรจะถูกสถาปนาเป็น วันปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียนนักศึกษาโลก เพื่อรำลึกผู้เสียชีวิตและบรรดาเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นภายในสถาบันการศึกษาทั่วโลกในปัจจุบัน

อ่านเนื้อหาของข้อเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และร่วมลงชื่อผ่าน change.org ได้ที่ https://chng.it/RVQ6vS5B9d

ท่านสามารถร่วมแสดงออกผ่าน Social Media ของท่านโดยการชูป้ายที่มีข้อความสนับสนุนข้อเสนอ อาทิ #ProtectStudentsFreedomDay, #ProtectStudentsFreedom, #StopStudentsArrest, International Day for the Protection of Students’ Freedom of Expression หรือข้อความที่ท่านสร้างสรรค์ขึ้นเองทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอื่น ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ถึงข้อประเด็นและข้อเรียกร้องดังกล่าวในประเทศและในระดับนานาชาติ

สำหรับองค์กรที่ร่วมสนับสนุนในช่วงแรกเริ่ม อาทิ
สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะจุฬาฯ, Spring Movement, กลุ่มแสงโดม, พรรคโดมปฏิวัติ และกลุ่มนักเรียนเลว

รายชื่อผู้สนับสนุนแรกเริ่มจากต่างประเทศ อาทิ
1.Nathan Law, Hongkong activist (HongKong)
2.Johnson Yeung (Hong Kong)
3.Perry Link, Professor of University of California (USA)
4. Jhanisse Vaca Daza (Bolivia)
5. James Lee Proudfoot (Australia)
6.Lim Khiam, Taiwan Platform of Democratic Sustainability (Taiwan)
7. Marc Batac (Philippines)
8. Sao Khon Cho (Myanmar)
9. Eero Kivistö (Finland)
10. Xun-ling Au (UK)
11. Vanessa Law (Hong Kong)
12. Hideyuki Shimura (Japan)
13. Narayan Liu (Sweden)
14. Jessica Chiu (Norway)
15. Hong Kong Committee in Norway
16. Zoya Phan, activist(Burma)
17. Eraldo Souza dos Santos (Brazil)
18. Mu Sochua, (Cambodia)
19. Issa Sarikamis (Turkey)
20. Evgeniya Chirikova (Russia)
21. Victoria Arana (Nicaragua)
22. Befekadu Hailu (Ethiopia)
23. Hector Ulloa, SAIH – Studentenes og Akademikernes Internasjonale Hjelpefond (Norway)
24. Jandeil Roperos – President of National Union of Students of the Philippines
25. Yasmin Ullah (Canada)
26. Fred Burman (Congo)
27. Edipcia Dubon (Nicaragua)
28. Dr Ceri Oeppen (UK)
29. Milk Tea Alliance – Friends of Myanmar

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image