เพื่อไทย ชี้ ต้องปฎิวัติรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม สำนึกเท่าเทียมทางเพศจึงจะเกิดได้จริง

“รองเลขาพรรคเพื่อไทย” ชี้ความเท่าเทียมทางเพศเกิดขึ้นได้จริงหาก “ปฎิวัติรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม”

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม น.ส.อรุณี กาสยานนท์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เข้าร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ “ความเท่าเทียมทางเพศ ความหวังและหนทางสู่การสิ้นสุดความรุนแรงบนพื้นฐานเพศสภาวะในชุมชนท้องถิ่น” จัดขึ้นโดย คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

โดยน.ส.อรุณี กล่าวว่า อุปสรรคที่ขัดขวางให้สังคมไทยยังไม่สามารถยอมรับความเท่าเทียมทางเพศได้ โดยไม่ยึดติดเพศสรีระและเพศภาวะ รัฐต้องมองทุกคนในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน รัฐมีหน้าที่คุ้มครองคนทุกคนอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฎิบัติ แม้ในรัฐธรรมนูญปี 2560 ระบุชัดเจนว่าห้ามเลือกปฏิบัติทางเพศ แม้มีกฎหมายแรงงาน แต่ในรายละเอียดเลือกคุ้มครองแรงงานเฉพาะเพศชายและหญิง ไม่คุ้มครองกรณีหญิงข้ามเพศ เป็นต้น จึงอยากเสนอให้ปฎิวัติ 2 เรื่องเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม ได้แก่ 1.ต้องปฎิวัติรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม โดยการสร้างกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมขึ้นมาใหม่ กระทรวงศึกษาและโรงเรียนมีบทบาทสำคัญ เพราะที่ผ่านมาแบบเรียนไทยใน 6 ยุค ส่วนใหญ่จะแฝงความคิดเรื่องชาติและหน้าที่ของพลเมืองที่ดีไว้อย่างเข้มข้น ผลิตซ้ำมายาคติทางเพศแบบเดิมๆ ตามเพศภาวะกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ทุกเพศในสังคมปฎิบัติตามความคาดหวังของสังคม ปราศจากการพูดถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง ความเปลี่ยนแปลงของสังคม

ต่อให้จะเสนอกฎหมายกี่ฉบับ เขียนกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญดีเพียงใดก็ตาม ถ้าไม่ปฎิวัติรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมซึ่งหมายถึงความคิดที่อยู่ในใจมนุษย์ โดยการยอมรับความเท่าเทียมในฐานะทุกคนคือมนุษย์

Advertisement

น.ส.อรุณี กล่าวอีกว่า 2.ต้องทำลายวัฒนธรรมอำนาจนิยม ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของบุคคลผ่านระบบกฎหมายและการกระทำความรุนแรงโดยไม่สนใจในหลักนิติรัฐหรือนิติธรรม ที่ผ่านมาสังคมไทยยึดติดกับอำนาจ สามารถพลิกดำเป็นขาว ดังนั้นไม่ว่าเพศใดที่ยังคงยึดติดวัฒนธรรมอำนาจนิยมที่ฝั่งราก ยากที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคทางเพศได้ แม้แต่ในระบบการศึกษากรอบการศึกษาของไทยจำกัดคับแคบเพียงเพศสรีระและเพศภาวะ ทำให้ไม่เกิดความเท่าเทียมทางเพศในกลุ่มที่มีความแตกต่างในเพศวิถี โรงเรียนควรเป็นพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และการค้นพบตัวเอง ในแบบที่ตนชื่นชอบในต่างประเทศ เครื่องแบบ Unisex ได้หรือไม่ เช่น ญี่ปุ่นก็เริ่มเปิดทางเลือก ญี่ปุ่น มากขึ้น ดังความเสมอภาคทางเพศในโรงเรียน ถ้าทำได้ขยายสิทธิของนักเรียน แต่ไม่ใช่จำกัดไว้เพื่อขยายอำนาจทางวัฒนธรรมของกระทรวงและครูปกครอง

“สำหรับเรื่องความเท่าเทียมทางเพศและความรุนแรงทางเพศ พรรคพท.ตั้งแต่สมัยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี พยายามสร้างความเสมอภาคทางเพศ ลดวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ โดยส่งเสริมกองทุนบทบาทสตรีเข้ามาเพื่อสนับสนุนด้านรายได้ ให้ผู้หญิงตระหนักในคุณค่าตนเองและยังมีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือต่อผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศขึ้น OSCC (one stop crisis center ) เป็นหนึ่งในนโยบายที่ UN Women ชื่นชม และในปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ ทั้งนี้ สิ่งที่จะหยุดยั้งความรุนแรงได้ ไม่ใช่แค่การสร้างวัฒนธรรมความเท่าเทียมทางเพศเท่านั้น แต่ฐานสำคัญคือเราต้องการสร้างวัฒนธรรมคนเท่ากัน เพื่อนำไปสู่การหยุดยั้งความรุนแรงทุกรูปแบบ ไม่ใช่แค่เรื่องทางเพศได้” น.ส.อรุณี กล่าว

 

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image