09.00 INDEX สัญญาณ สถานการณ์ “สภาล่ม” กลิ่นแห่ง การยุบสภา เร้ารุนแรง

09.00 INDEX สัญญาณ สถานการณ์ “สภาล่ม” กลิ่นแห่ง การยุบสภา เร้ารุนแรง

นับวันสถานการณ์ ”สภาล่ม” ยิ่งมากด้วยความแหลมคม เพราะมิได้ดำรงอยู่อย่างที่เรียกว่านานๆครั้ง หากแต่เป็นการล่ม 2 ครั้งติดต่อกันอย่างจะ จะ ณ เบื้องหน้า

หากนับรวมตั้งแต่เริ่มเปิดสภาสมัยสามัญก็ต้องยอมรับว่าเป็นมากกว่า 2 ครั้ง

นี่ย่อมเป็น ”สัญญาณ” นี่ย่อมสะท้อน ”กลิ่น” ในทางการเมือง

โดยพื้นฐานอย่างที่สุดก็คือ เป็น ”กลิ่น” ในทางการเมืองอันเนื่อง แต่การผลัดเปลี่ยนประธานวิปรัฐบาลจาก นายวิรัช รัตนเศรษฐ เป็น นายนิโรธ สุนทรเลขา

Advertisement

ปัญหามิได้อยู่ที่ว่าเสียงของฝ่ายรัฐบาลเป็นอย่างไร เพราะนี่มิได้เป็นสถานการณ์ในช่วงแรกหลังการเลือกตั้ง หากแต่เป็นสถาน การณ์ที่บรรดา ”งูเห่า” เติมพลานุภาพให้กับฝ่ายรัฐบาลเป็นอย่างสูง

ปมเงื่อนดูคล้ายกับว่า สภาวะการยอมรับต่อบารมีของประธาน

วิปรัฐบาลคนใหม่ คือ นายนิโรธ สนทรเลขา อาจจะน้อยกว่าประธานวิปคนเก่า นายวิรัช รัตนเศรษฐ

Advertisement

กระนั้น ก็ยังเนื่องจากปัญหาที่สลับซับซ้อนยิ่งกว่านั้น

โดยพื้นฐานแล้วก็คือ ปัญหาอันเนื่องแต่ความขัดแย้งที่เริ่มจากญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ อันนำไปสู่การใช้มาตรา 171 ปลดรัฐมนตรีบางคนเมื่อวันที่ 8 กันยายน

นั่นก็คือ การไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรงระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า

นั่นก็คือ จากปัญหานี้นำไปสู่ความพยายามที่จะกดดันให้ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า และพวกพ้นไปจากการมีตำแหน่งในพรรคพลังประชารัฐ และการส่งคนรุกเข้าไปแย่งยึดพรรค

สถานการณ์ ”สภาล่ม” จึงมาจากปัญหาความขัดแย้งและแย่งชิง กันภายในพรรคพลังประชารัฐเป็นมูลฐานจึงนำสู่การประลองพลัง

เป็นการประลองทั้ง ”ภายใน” และระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล

หากประเมินจากท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็มากด้วยความหวาดระแวงและสะท้อนถึงความรู้สึกที่ไม่มั่นใจ เห็นได้จากการยังไม่ยอมส่งกฎหมายสำคัญๆเข้าไปสู่ที่ประชุมสภา

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกู้เงิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพดานเงินกู้

เพราะไม่มั่นใจอย่างเพียงพอว่าจะถูกตีตลบหลังจากอีกฝ่ายใน ทางการเมืองเหมือนที่จะเกิดในวันที่ 4 กันยายนหรือไม่

ที่คิดว่าจะอยู่จนครบวาระในปี 2566 จึงอาจ ”เป็นไปไม่ได้”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image