INDEX 09.00 ความขัดแย้ง แตกแยก การเมือง พลังประชารัฐ กับ เลือกตั้งกทม.
ไม่ว่าข่าวที่ว่ามติพรรคพลังประชารัฐยืนยันให้การสนับสนุนเบอร์ 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ไม่ว่าที่ว่าผู้สมัครสก.บางส่วนพรคพลังประชารัฐจะเทคะแนนให้เบอร์ 3 นายสกลธี ภัททิยกุล
ล้วนสะท้อนความเป็นจริงภายในของพรรคพลังปะชารัฐ และสะท้อนความเป็นจริงของการเมืองในกรุงเทพมหานคร
ความเป็นจริงนั้นก็คือ รากฐานของพรรคพลังประชารัฐในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์อย่าง แนบแน่น
และความเป็นพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นพรรคประชาธิปัตย์ที่อยู่ในกลุ่มมวลมหาประชาชนที่นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และกำลังสำคัญมีความโน้มเอียงไปทาง นายสกลธี ภัททิยกุล
แม้ว่าบางส่วนของพรรคประชาธิปัตย์จะเอนเอียงไปทาง พล. ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง โดยเห็นได้จากความเห็นของ นพ.วรงค์ เดช กิจวิกรมและการหนุนช่วยอย่างสำคัญจากพรรคไทยภักดี
การแปรเปลี่ยนภายในของพรรคพลังประชารัฐจึงสะท้อนการ
แปรเปลี่ยนภายในของมวลมหาประชาชนระหว่าง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อย่างมีนัยสำคัญ
โดยมี เบอร์ 3 นายสกลธี ภัททิยกุล กับ เบอร์ 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็น”ตัวแทน”ในการสำแดงออก
จากรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ต่อเนื่องมายังรัฐประหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 นับวันก็จะยิ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาและความแตกแยกภายในสังคมอย่างละเอียดยิบย่อย
มิใช่ว่าจะเป็นกลุ่มอนุรักษนิยมที่สำแดงผ่านพันธมิตรประชา ชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มมวลมหาประชาชนกปปส.เท่านั้น
ตรงกันข้าม ภายในกลุ่มอนุรักษนิยมที่เคลื่อนไหวอยู่ในพรรค พลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคไทยภักดี ก็เกิดความแตก แยกกันอย่างเด่นชัด
เห็นได้จากบางส่วนพรรคพลังประชารัฐหนุน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง บางส่วนพรรคพลังประชารัฐหนุน นายสกลธี ภัททิยกุล
แม้กระทั่งพรรคไทยภักดีก็เลือกต่างจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
เมื่อเป็นเช่นนี้ข้อเรียกร้องให้เลือก”เชิงยุทธศาสตร์”จึงเพ้อฝัน
ต้องยอมรับว่า แนวคิดพื้นฐานในการเสนอเชิงเรียกร้องให้เลือกเชิง”ยุทธศาสตร์”นั้นเริ่มต้นจากความรู้สึกที่ว่าฝ่ายของตนจะต้อง พ่ายแพ้อย่างแน่ชัด
จึงจำเป็นต้องปลุกระดมความรู้รัก สามัคคีในพวกเดียวกัน
แต่ในเมื่อรากฐานการเคลื่อนไหวไม่ว่าพันธมิตร ไม่ว่ากปปส.มีความแตกต่างกัน เป้าหมายจึงแตกต่างกัน
จึงก่อให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยกและแยกตัวในที่สุด