ส.ส.ปชป. ลุกอัดรัฐบาล บริหารนโยบายพลังงานผิดพลาด ทำประชาชนเดือดร้อน

อัครเดช.. ปชป. อัด รัฐบาลบริหารนโยบายพลังงานผิดพลาด ทำประชาขนเดือดร้อน กระทบหนี้สาธารณะและการจัดทำงบประมาณ ชี้ ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ขาดวิสัยทัศน์

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ที่รัฐสภา นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ..ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายร่าง ...งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ในส่วนของนโยบายด้านพลังงาน ว่า ปีนี้กระทรวงพลังงานได้รับงบประมาณเพียง 2,700 ล้านบาท ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับกระทรวงอื่นๆ แต่กระทรวงพลังงานเป็นกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อ GDP และเศรษฐกิจของประเทศ แต่ที่ผ่านมารัฐบาลบริหารเรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงผิดพลาด โดยเฉพาะการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ในการกำหนดนโยบาย และที่ผ่านมา ที่น้ำมันดีเซลมีการปรับขึ้นราคาเมื่อต้นเดือน พฤษภาคม จากราคา 30 บาท ที่รัฐบาลตรึงไว้มาเป็น 32 บาท และรัฐบาลจะประกาศขึ้นเป็น 35 บาท ตามที่เคยมีการแถลงข่าวของ กบน. ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนเป็นวงกว้าง ซึ่งเรื่องนี้ตนได้ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แต่ก็ถูกเลื่อนออกไปและยังได้ท้วงติงไปว่าถึงการไม่มาตอบกระทู้ ..ซึ่งเป็นประเด็นที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน

นายอัครเดชกล่าวต่อว่า เรื่องของความผิดพลาดในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ผ่านมาจะเห็นว่าราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นต้นทุนในการขนส่งหลัก โดยในช่วงปี 2563 ที่มีสถานการณ์โควิดราคาน้ำมันอยู่ที่ลิตรละ 20 กว่าบาท แต่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯบริหารผิดพลาด คือไม่ยอมเก็บเงินเข้าไปในกองทุน แล้วมาอ้างว่ากฎหมายกำหนดเพดานกองทุนไว้ไม่เกิน 40,000 ล้านบาท ซึ่งหากรัฐบาลบริหารความเสี่ยงได้และสามารถเก็บเงินเข้าไปในกองทุนได้สูงถึง 200,000-300,000 ล้านบาท แต่รัฐบาลขาด 3 ขาด คือ 1.ขาดการมองการณ์ไกล 2.ขาดวิสัยทัศน์ 3.ขาดการบริหารความเสี่ยงในอนาคต นี่คือสิ่งที่ผู้บริหารกระทรวงพลังงานของประเทศไทยขาด ทำให้ทุกวันนี้ความเดือดร้อนของประชาชนเกิดขึ้นทุกพื้นที่ เมื่อกองทุนไม่สามารถเก็บเงินเข้าไปได้ ผู้ประกอบการ นายทุน ได้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลถูก แต่ค่าขนส่งก็ไม่ได้ปรับลดลงมา ส่วนใหญ่ก็ยังคงคิดฐานอยู่ที่ราคาน้ำมันลิตรละ 30 บาท แต่เมื่อราคาน้ำมันดีเซลขึ้นผู้ประกอบการก็ปรับราคาขนส่งขึ้น ซึ่งโทษผู้ประกอบการขนส่งไม่ได้ ต้องโทษรัฐบาลที่ไม่สามารถบริหารเสถียรภาพของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้

นายอัครเดชยังย้ำว่า ความผิดพลาดของคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้กองทุนติดลบ และเมื่อกองทุนติดลบก็จะส่งผลต่อยอดหนี้สาธารณะ ซึ่งขณะนี้กองทุนฯติดลบไป 70,000 กว่าล้านบาท ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้การกู้เงินเพิ่มหรือการจัดทำงบประมาณประจำปีมีผลกระทบต่อการนำเงินไปพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะ 2 ปีที่ผ่านมามีการออก ...กู้เงิน 2 ฉบับ วงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท ปี 63-65 มีการตั้งงบประมาณขาดดุล และทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับปี 2562 ขึ้นมา 17.70% ทำให้สิ้นปี 64 มีหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 58.31% เกือบชนเพดานหนี้สาธารณะแล้ว จนทำให้รัฐบาลต้องปรับเพดานหนี้สาธารณะขึ้นไปที่ 70% ต่อ GDP ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าการบริหารนโยบายพลังงานที่ผิดพลาดส่งผลกระทบต่อประชาชน และทำให้มีผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณประจำปี

ถ้ารัฐบาลบริหารเงินกองทุนได้ถูกต้อง เก็บเงินตั้งแต่น้ำมันดีเซลถูก เก็บเข้ากองทุนเรื่อยๆ 2 แสนล้าน 3 แสนล้าน วันนี้เงินกองทุนดังกล่าวยังไม่หมด เราก็จะยังไม่มีหนี้สาธารณะ ไม่ต้องไปกู้เงินมาใช้ในกองทุน พี่น้องประชาชนก็จะไม่โดนขึ้นราคาน้ำมัน และเราสามารถนำเงินส่วนนี้มาทำเป็นงบประมาณได้ ไปช่วยพี่น้องประชาชนในการทำโครงการประกันรายได้ได้นายอัครเดชกล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image