วุฒิสภา เชื่อ ‘ธงทอง’ เคลียร์สัมปทานสีเขียวได้ เล็งเสนอ ‘รัฐบาล’ ถก ‘กทม.’ สางปม

กมธ.คมนาคม วุฒิสภา เชื่อ ‘ธงทอง’ เคลียร์สัมปทานสายสีเขียวได้ เล็งเสนอแนวทาง ‘รัฐบาล’ ถก ‘กทม.’ สางปม

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว. กรรมาธิการ (กมธ.) การคมนาคม เปิดเผยว่าในการประชุมวุฒิสภา วันที่ 21 มิถุนายน กมธ.จะเสนอรายงานพิจารณาศึกษา แนวทางการบริหารและจัดการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งตนเป็นประธานคณะทำงาน ทั้งนี้ยอมรับว่าในรายงานดังกล่าวไม่มีข้อสรุปที่ชี้ชัดให้แก้ปัญหาดังกล่าวในทิศทางใด แต่มีข้อเสนอใน 2 แนวทาง คือ กรณีขยายสัญญาสัมปทาน และกรณีไม่ขายสัญญาสัมปทาน พร้อมเสนอข้อดีและข้อเสีย

“การเสนอรายงานของกมธ. ต่อที่ประชุมวุฒิสภา เพื่อรับฟังความเห็นของส.ว.คนอื่นเพื่อให้รายงานมีความรอบคอบ จากนั้นจะขออนุมัติที่ประชุมก่อนเสนอต่อรัฐบาลต่อไป อย่างไรก็ดีผมมองว่าเนื้อหาของรายงานจะเป็นประโยชน์หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกทม. และ นายธงทอง จันทรางศุ ประธานบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) คนใหม่ รับไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจ” นายสุรเดช กล่าว

เมื่อถามถึงกรณีที่มีการปรับบอร์ดบริษัทกรุงเทพธนาคมฯ ล่าสุด นายสุรเดช กล่าวว่า ตนเชื่อว่านายธงทอง และบอร์ดเคทีจะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเดินรถบีทีเอสได้ ตามแนวทางและนโยบายของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแนวทางการบริหารและจัดการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่คณะทำงาน ในกมธ.การคมนาคม เสนอ มีสาระสำคัญ คือ กรณีขยายสัญญาสัมทาน ระบุผลการพิจารณา ประชาชนจะได้รับความสะดวกในการเดินทางจากการเดินรถต่อเนื่อง ไม่ต้องเปลี่ยนขบวน, โครงการฯ มีเอกภาพในการบริหารและจัดการเดินรถ, จัดเก็บค่าโดยสารใช้โครงสร้างเดียวกันตลอดสาย, กทม. สามารถแก้ปัญหาภาระหนี้สินได้, ลดงบประมาณแผ่นดินเพื่ออุดหนุนค่าโดยสาของโครงกร, กทม. ได้รับส่วนแบ่งรายได้เพื่อชำระหนี้และได้ค่าตอบแทนเพิ่มเติมกรณีผลตอบแทนผู้ถือหุ้นของเอกชน ปีใดที่เกินกว่า 9.6%

Advertisement

กรณีไม่ขยายสัญญาสัมปทาน รายงานระบุว่าการขอขยายสัญญา ไปอีก 30 ปี ต้องพิจารณาหนี้ที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี จะรับไปเมื่อเทียมกับอัตรารายได้จากการทำโครงการ, ระยะเวลาขอสัญญาสัมปทานมีเวลาอีกหลายปี เพียงพอที่คณะกรรมการจะพิจารณาให้รอบคอบทุกมิติ, การขยายสัญญาให้เอกชนเพียงรายเดียวแบบเจาะจง ขณะที่โครงการมีมูลค่าสูง อาจไม่เป็นไปตามหลักการของกฎหมายร่วมทุน, หากมีการลงนามในสัญญาร่วมทุนและอนาคตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีผลพิจารณาว่ากทม. ทำสัญญาจ้างบริษัททีบีเอสซี ไม่สามารถทำได้ อาจทำให้เกิดมีปัญหาตามมา

ทั้งนี้ในรายงาน ยังระบุถึงข้อเสนอต่อการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพื่อเกิดประโยยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน รวมถึงประหยัดค่าโดยสาร ว่า 1.รัฐบาลต้องหาข้อยุติโดยยเร็วว่าจะต่อสัญญาสัมปทานให้กับบริษัทบีทีเอสซีหรือไม่ โดยต้องตอบโจทย์ประชาชนแนะข้อกฎหมาย ราคาค่าโดยสารและภาระหนี้สิน

2.กรณีที่จะรอให้อายุสัมปทานหมดในปี 2572 แล้วดำเนินการประมูลตามกฎหมายร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ต้องพิจารณาการจัดเก็บค่าโดยสารจากการเดินรถ ซึ่งเดินบริษัทบีทีเอสซี ฐานะผู้ให้บริการเดินรถส่วนต่อขยายที่ 2 ทั้งส่วนเหนือและส่วนใต้ ทั้งนี้หากต่อสัญญาสัมปทาน ประชาชนจะเสียค่าโดยยสาร 65 บาทตลอดสาย

Advertisement

3.เร่งดำเนินระบบตั๋วร่วมกับบริษัทบีทีเอสซี เพื่อแก้ไขอุปสรรคในทางปฏิบัติ

4.กทม.เร่งจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว

5.กรณีไม่ขยายสัญญาสัมปทาน การจัดการหนี้สินของ กทม. ที่รับโอนจาก รฟม. ตั้งแต่ปี 2565- 2572 รัฐบาลควรสนับสนุนภาระหนี้ชั่วคราว จนกว่าจะหมดสัญญาสัปทาน ปี 2572 เพื่อรอให้ทรัพ์สินทั้งหมดของโครงการเป็นของกทม. จากนั้นกทม.ต้องวางแผนเพื่อชำระหนี้คืนแก่รัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกันต้องเปิดให้ผู้ประกอบการเดินรถแข่งขัน โดยกทม. ควบคุมดำเนินการ

6.ภาระหนี้สินของบีทีเอสซี กับกทม. ที่เกิดจากการจ้างเดินรถและจัดซื้อระบบอาณัติสัญญาณและระบบเดินรถต่างๆ ที่มีประเด็นหนี้ รัฐบาล และกทม. ต้องทบทวนและตรวจสอบเพื่อหหาข้อยุติร่วมกับรัฐบาลว่าจะชำระหนี้อย่างไร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image