นาทีปวศ. เปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันนี้ เมื่อ 82 ปีที่แล้ว (ภาพชุด)

ภาพจาก สมุดภาพที่ระลึกกรมโฆษณาการ มอบให้หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 14 กรกฎาคม 2484 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อ้างอิงจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)

นาทีประวัติศาสตร์ เปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันนี้ เมื่อ 82 ปีที่แล้ว (ภาพชุด)

24 มิถุนายน ไม่เพียงเป็น อภิวัฒน์สยาม พลิกโฉมการเมืองการปกครองของไทยไปตลอดกาล เมื่อคณะราษฎรก่อการในเวลาย่ำรุ่ง เมื่อ พ.ศ.2475

ต่อมา กลายเป็น ‘วันชาติ‘ ที่ถูกลบออกจากปฏิทิน
นอกจากนี้ ยังเป็นวันเริ่มต้นก่อสร้าง ‘อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย’ ใน พ.ศ.2482
ก่อนทำพิธีเปิดในอีก 1 ปีต่อมา
24 มิถุนายน 2483
วันนี้เมื่อ 82 ปีก่อน ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง

ในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีความคิดที่จะจัดสร้างอนุสรณ์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังรำลึก ถึงความสามัคคีกลมเกลียวในชาติ และพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ ของชาติ ตลอดจนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่นำมาซึ่งความสถาพรแก่ชาติ รัฐบาลจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างอนุสาวรีย์ โดยเห็นว่าบริเวณถนนราชดำเนินที่กำลังมีการปรับปรุงอยู่ในขณะนั้น เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม ประกอบกับขณะนั้นกำลังมีการก่อสร้างสะพานเฉลิมวันชาติในบริเวณเดียวกัน การสร้างอนุสาวรีย์จะยิ่งสร้างความสง่างามแก่บ้านเมือง

Advertisement
ภาพจาก สมุดภาพที่ระลึกกรมโฆษณาการ มอบให้หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 14 กรกฎาคม 2484 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อ้างอิงจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ออกแบบโดย หม่อมหลวง ปุ่ม มาลากุล โดยมี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และสิทธิเดช แสงหิรัญ สร้างสรรค์ในส่วนของประติมากรรม

ศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร เคยอธิบายไว้ว่า งานศิลปะแนวการเมืองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองที่อาจไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่สำคัญมาก คือ ‘ประติมากรรมที่ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย’ ซึ่งเดิมศาสตราจารย์ศิลป์ออกแบบไว้ 8 ชิ้น แต่คณะราษฎรตัดออก 4 ชิ้น คงเหลือ 4 ชิ้น ต้นแบบยังเก็บรักษาไว้ที่หอประติมากรรมต้นแบบ ซึ่งในอดีตเป็นโรงปั้นของกรมศิลปากรเดิม ใชัปั้นประติมากรรมตั้งแต่ก่อนก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ตัวอาคารสร้างในยุค 2500 ต้นๆ สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และใช้งานมาจนถึงราว พ.ศ.2530 กระทั่งปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร

ภาพจาก สมุดภาพที่ระลึกกรมโฆษณาการ มอบให้หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 14 กรกฎาคม 2484 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อ้างอิงจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)

ข้อมูลจากสำนักการวางผังและพัฒนาเมืองระบุว่า อนุสาวรีย์ดังกล่าวเป็นภาพสัญลักษณ์ที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ดังนี้

– พานรัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่บนยอดป้อมกลางอนุสาวรีย์ ทำด้วยสัมฤทธิ์ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือเดือนมิถุนายน ตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (แบบเดิมของไทยเริ่มปีใหม่ในเดือนเมษายน นับเป็นเดือน 1) และหมายถึงอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ)

– รูปพระขรรค์ 6 เล่ม ประดับประตูป้อมกลางที่ตั้งพานรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ด้าน หมายถึงหลัก 6 ประการอันเป็นนโยบายของคณะราษฎรที่จะใช้ในการปกครองประเทศสืบไป

– ปีกทั้ง 4 สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปีกทั้ง 4 หมายถึงความรุ่งโรจน์แห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย

– ภาพนูนต่ำ งานปูนปั้นนูนต่ำที่ฐานของครีบทั้ง 4 แสดงเรื่องราวของคณะราษฎรขณะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475

– ปืนใหญ่ จำนวน 75 กระบอก ฝังโดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ ปากกระบอกปืนฝังลงดิน แต่ละกระบอกมีโซ่ร้อยไว้ หมายถึง ปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกัน หมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ

สิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง 250,000 บาท

 

ภาพจาก สมุดภาพที่ระลึกกรมโฆษณาการ มอบให้หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 14 กรกฎาคม 2484 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อ้างอิงจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)
ภาพจาก สมุดภาพที่ระลึกกรมโฆษณาการ มอบให้หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 14 กรกฎาคม 2484 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อ้างอิงจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)
ภาพจาก สมุดภาพที่ระลึกกรมโฆษณาการ มอบให้หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 14 กรกฎาคม 2484 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อ้างอิงจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)
ภาพจาก สมุดภาพที่ระลึกกรมโฆษณาการ มอบให้หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 14 กรกฎาคม 2484 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อ้างอิงจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)
ภาพจาก สมุดภาพที่ระลึกกรมโฆษณาการ มอบให้หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 14 กรกฎาคม 2484 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อ้างอิงจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)
ภาพจาก สมุดภาพที่ระลึกกรมโฆษณาการ มอบให้หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 14 กรกฎาคม 2484 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อ้างอิงจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)
ภาพจาก สมุดภาพที่ระลึกกรมโฆษณาการ มอบให้หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 14 กรกฎาคม 2484 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อ้างอิงจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)
ภาพจาก สมุดภาพที่ระลึกกรมโฆษณาการ มอบให้หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 14 กรกฎาคม 2484 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อ้างอิงจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)
แฟ้มภาพ
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image