เรียงคนมาเป็นข่าว – “สังคม” หน้า 4 ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จฯในการพระราชพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม

…ประชาชนจากทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศ เดินทางด้วยจิตอาลัย เข้าถวาย “สักการะพระบรมศพ หน้าพระบรมโกศ” กันเนืองแน่น เข้าคิวกันตั้งแต่ตีหนึ่งตีสองทุกคืน ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายต่างทุ่มเทหาทางอำนวยความสะดวกเต็มที่ ทำให้บางเรื่องราวที่ขลุกขลักบ้างในช่วงวันแรกๆ คลี่คลายไป ที่น่าชื่นชมคือ “ทุกคนที่มาร่วมพระพิธี” ล้วนสงบสำรวมรักษาระเบียบกัน จนไม่ต้องห่วงกังวลถึงว่าจะมีอะไรที่แก้ปัญหาไม่ได้

…ปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาเนิ่นนาน จนทำท่าจะเป็นปัญหาถาวรแล้ว นั่นคือ “ราคาข้าวตกต่ำ” เนื่องจากไม่ว่าอย่างไร “ประเทศไทย” ที่ได้ชื่อว่า อู่ข้าวอู่น้ำ” ในยุคสมัยที่ “ทุกอย่างพูดกันด้วยเงิน” เมื่อ “ต้นทุนสูง” แต่ “ราคาที่ขายได้ต่ำ” ความเดือดร้อนก็เกิดขึ้น และหากทบทวน “ประวัติศาสตร์” ปัญหานี้สามารถบานปลาย ลุกลามเป็นเรื่องสะเทือน “เสถียรภาพ” มาหลายครั้งหลายหน

…ดูเหมือนว่า “รัฐบาล” จะไม่นิ่งนอนใจ หาทางแก้ไขกันเต็มที่ เพียงแต่ “การแก้ไขที่ถูกทาง จำเป็นต้องเกิดจากสมมุติฐานที่ถูกเรื่อง” เท่าที่ติดตาม เรื่องราว “ราคาข้าว” ที่พูดกันใน “คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว” หรือ “นบข.” หากสรุปออกมาเป็น 2 ส่วนคือ “ข้อเท็จจริง” กับ ความคิด” ดูจะผสมปนเปกันไม่น้อย เรื่อง “ราคาตกต่ำ” เป็นข้อเท็จจริงที่ยอมรับโดยทั่วกันแน่นอน แต่อะไรคือสาเหตุ ฝ่ายหนึ่งบอกเป็น “ข้อมูล” แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าเป็น “ความคิด”

…ในมุมมองของ “นายกรัฐมนตรี-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” เห็นในทาง “เกิดจากความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่นักการเมืองในพื้นที่ ร่วมกับโรงสีบางแห่งกำหนดราคาข้าวให้ต่ำ โดยหวังให้ประชาชนใช้เป็นประเด็นขัดแย้งต่อต้านรัฐบาล” ขณะที่ “โฆษกรัฐบาล-พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด” บอก “ปีนี้ฝนมีปริมาณมาก และปี 2560 จะตกเพิ่มอีก ตลาดเก็งกำไรว่าผลผลิตมาก เพราะน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ทำให้ราคาข้าวตก” ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ยังเป็นข้อถกเถียงว่าเป็น “ข้อมูลจริง” หรือเป็นแค่ “ความคิด” ที่คาดเอาจาก “ทรรศนะบางอย่าง”

Advertisement

…ความสำคัญของเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่ เมื่อ “ผู้มีอำนาจ” เชื่ออย่างนี้แล้วจะเกิดผลกระทบต่อใครยังไง แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ “การตั้งสมมุติฐานแห่งสมุทัยผิด” จะทำให้การกำหนด “มรรค” เพื่อเยียวยาความเดือดร้อนพลาด ยิ่งออกมาในทางตอบโต้เสียงบ่นว่า “ปุ๋ยแพง” ด้วยคำแบบ ให้ไป “ขายปุ๋ย” แทนขายข้าว หรือ “ให้ไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดประเด็นให้ถูกวิจารณ์ว่า “ไม่เข้าใจวิถีชีวิตชาวไร่ชาวนาไทย”

…ยิ่งติดขัดกับความที่ตั้งป้อมไว้ว่า “การแทรกแซงราคา” คือ “การแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน” เป็น “ประชานิยม” ที่ต้องไม่สนับสนุนให้เกิดขึ้น ในยุคสมัยที่ “กำลังซื้อ” เหลือเฉพาะ “งบประมาณภาครัฐ” ทำให้เงื่อนไขมีมากขึ้น ทำให้ “หนทางการเยียวยาแคบลงไปอีก” แม้ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ จะเป็น “มือเก่า” แต่การจัดการ “ปัญหาเก่า” ด้วย “เงื่อนไขใหม่” ไม่ใช่เรื่องที่จะอาศัยแค่ “ประสบการณ์” จำเป็นต้อง “กลั่นความคิด คิดกรอบวิธีการใหม่” ซึ่งเท่าที่ฟัง ยังไม่เห็นหนทางที่เป็นความหวัง

…คล้ายกับว่าเป็นโชคดีของ “นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” ที่ไม่ต้องมาตอบคำถามเรื่อง “ความเดือดร้อนของชาวนา” เพราะถือว่า “ไม่ได้มีหน้าที่” แต่ว่าไป เป็น “นักการเมือง” หากทอดทิ้งประชาชน “ชะตากรรมจะเป็นอย่างไร” ในสถานการณ์เช่นนี้ ยิ่งจำเป็นต้องโผล่หน้ามาเป็นที่พึ่งให้ “ชาวนาไทย” เพียงแต่เมื่อ “ผู้มีอำนาจตีปลาหน้าไซ” เสียแล้วว่า “ความเดือดร้อนของชาวนามีเบื้องหลังการเมือง” ใครโผล่ออกมาจะเข้าทาง เป็นสมมุติฐานมีข้ออ้าง นักการเมืองที่ไม่ “ห่วงใยประชาชนจริง” ไม่มีทางที่จะกล้าเสนอหน้าเข้ามาในช่วงเวลาแบบนี้

Advertisement

…แม้จะเสนอตัวเลขให้มุมบวก ให้ประชาชนมีความหวังกับ “การบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล” อย่างหนักแน่นเสมอ แต่ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ดูท่าจะไม่สะดวกโยธินในการสาธยายความหวังทั้งหลายแหล่นัก เพราะ พิชัย
นริพทะพันธุ์ ทำหน้าที่ตั้งป้อม “สวนทุกเม็ด” อย่างขยันขันแข็ง ด้วย “ข้อมูลอีกทาง” ที่ท้าทายให้ “เวลา” และ “ความเดือดร้อนของประชาชน” เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า “ใครจริง ใครมโน”

ชโลทร

News59A305

 

VEK_8899

 

News59A30E2

 

News59A30E4

 

VEK_9191
นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ถวายราชสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม

 

 

VEK_9193

 

VEK_9450

 

VEK_9538

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image