รายงานหน้า 2 : เปิดความสำเร็จ‘5บิ๊กร็อก’ แผนปฏิรูปด้านสาธารณสุข

เปิดความสำเร็จ‘5บิ๊กร็อก’

แผนปฏิรูปด้านสาธารณสุข

หมายเหตุ รายงานสรุปผลสำเร็จการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข พ.ศ.2563-2565 ที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเร็วๆ นี้

แผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ด้านสาธารณสุข 5 ด้าน

ADVERTISMENT

Big Rock ที่ 1

การปฏิรูปการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข รวมถึงโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ เพื่อความมั่นคงแห่งชาติด้านสุขภาพ

ADVERTISMENT

ผลสำเร็จที่พลิกโฉม

1.เกิดการปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิที่เป็นรูปธรรมในพื้นที่ กทม.

-กำลังจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายผู้ว่าฯกทม. (ภายในสิงหาคม 2565)

-หน่วยงานหลักทุกภาคส่วนร่วมตกลงสนับสนุนและขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิในพื้นที่ กทม. 7 ข้อ

ร่วมนโยบายผู้ว่าฯกทม. ดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรม (ภายใน 1 ปี)

-กองทุนสุขภาพที่ออกแบบและปรับระบบการจ่ายเงินให้เหมาะสม ต่อการดำเนินงานปฐมภูมิใน กทม. ให้เกิด

ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน (ภายใน 1 ปี)

-กทม.ร่วมมือกับ สปสช.จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพเหมือนที่ อบจ.อื่นดำเนินการแล้ว (ภายใน 1 ปี)

-สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นเจ้าภาพ โดยร่วมมือกับ กทม.และกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดตั้งกลไกสร้างและจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพใน กทม. และมีงบประมาณสนับสนุนในระยะยาว (ภายใน 1 ปี)

2.เกิดการปฏิรูประบบการเชื่อมต่อฐานข้อมูลสุขภาพของประเทศ

-แต่งตั้งคณะกรรมการสุขภาพดิจิทัลแห่งชาติ…จัดทำข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์กลไกบริหารจัดการและโครงสร้างหน่วยงานบริหารจัดการข้อมูลของประเทศ (ภายในสิงหาคม 2565)

-กระทรวงสาธารณสุขเตรียมเสนอ ครม.แต่งตั้งคณะกรรมการสุขภาพดิจิทัลแห่งชาติ เสนอร่างแผนระดับ 3 หรือ แผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลสุขภาพแห่งชาติ (ภายในเดือน 1-3)

-ประกาศแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลสุขภาพแห่งชาติ (ภายใน 6 เดือน)

-จัดตั้งหน่วยงาน National Digital Health Agency/Authority (ภายใน 1 ปี)

3.เกิดการปฏิรูปกลไกการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในภาวะฉุกเฉิน

-จัดตั้งหน่วยงานสนับสนุนเพิ่มความเข้มแข็งของ National Regulatory Authority (NRA) เตรียมจัดตั้งเป็นรูปแบบสถาบันภายใต้มูลนิธิ หรือรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสม เพื่อทดลองดำเนินงาน (ช่วง 5 ปีแรก) และจัดตั้ง Government Link Company (GLC) หรือ Government Link Investment Company (GLIC) (ช่วง 5 ปีหลัง)

ผลสำเร็จที่เกิดจากการทำงานแบบปฏิรูป

1.ปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

-ผลักดันออก พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ เพื่อให้มี ศบค. EOC ให้มีอำนาจในการสั่งการ โดยไม่ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน

2.ปฏิรูประบบอภิบาลและระบบการจัดการด้านความมั่นคงด้านสุขภาพ

-เกิดระบบการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของประเทศเพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดในอนาคต

-เกิดระบบการบริหารจัดการและการจัดบริการปฐมภูมิรูปแบบใหม่ในพื้นที่เขตเมือง นำร่องในพื้นที่ กทม.

3.การปฏิรูประบบงบประมาณและการเงินการคลังและการเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์

-เกิดรูปแบบการบริหารจัดการจ่ายเงินแบบผสมผสานที่ใช้อยู่เดิม (Mix payment method) ของ สปสช. รองรับการบริการปฐมภูมิในเขตเมือง นำร่องพื้นที่ กทม.

-ผลักดันให้สามารถเข้าถึงยา (esp. Favipiravir) และวัคซีน ทั้งการจัดหาจัดซื้อและการผลักดันภาคเอกชนในการมีความสามารถในการผลิตวัคซีนภายในประเทศ

-เกิดหน่วยงานสนับสนุนใหม่ ภายใน อย. รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในภาวะฉุกเฉิน

4.การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการจัดการภาวะฉุกเฉิน

-เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญระหว่างกระทรวงดีอีเอส และ สธ. ในการพัฒนา Cloud ระดับเขตสุขภาพครอบคลุมทั่วประเทศ

งานที่ต้องดำเนินการต่อไป

1.ผลักดันให้เกิด Primary System Manager Model เพื่อให้เกิดการบริการจัดการระบบบริการปฐมภูมิรูปแบบใหม่ในพื้นที่ กทม.

2.ผลักดันให้เกิดรูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิและการจ่ายเงินตามโมเดล ใหม่ในพื้นที่ กทม.

3.ผลักดันให้เกิดการจัดตั้งหน่วยงานกลางการบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพของประเทศ (National Digital Health Agency)

4.ผลักดันแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลสุขภาพแห่งชาติบรรจุเป็นแผนระดับ 3 และประกาศใช้ภายในระยะเวลา 1 ปี

5.ผลักดันให้จัดตั้งสถาบัน/รูปแบบหน่วยงานประเมินวิชาการ เพื่อสนับสนุนการรับรองและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ และการให้คำปรึกษาผลิตภัณฑ์สุขภาพ นวัตกรรม เพื่อความคล่องตัวและเสริมความเข้มแข็งของ National Regulatory Authority (NRA)

Big Rock ที่ 2

การปฏิรูปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสร้างเสริมสุขภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพ การป้องกันและดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อ

ผลสำเร็จที่พลิกโฉม

1.เกิด Healthy Workplace Policy ระดับประเทศ ที่เป็นร่มใหญ่ของนโยบายและโครงการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยมีข้อตกลงเชิงนโยบายและความร่วมมือของหน่วยงานหลักภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และ สสส.

2.มีหลักสูตรพัฒนาผู้นำสุขภาพองค์กรระดับต่างๆ รวมถึงกำหนดบทบาทและสมรรถนะอย่างชัดเจน

3.ปัจจุบันมีสถานประกอบการทั่วประเทศเข้าร่วม จำนวน 42,000 แห่ง

ผลสำเร็จที่เกิดจากการทำงานแบบปฏิรูป

1.เกิดการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันอย่างเข้มข้นมากขึ้น

2.มีการใช้นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ ปัจจุบันมีผู้เข้าใช้กว่า 4 แสนคน เช่น โมบายเทคโนโลยีด้านการแสดงข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Health Record) และนวัตกรรมบริหารจัดการ (Digital Health Station)

งานที่ต้องดำเนินการต่อไป

1.ผลักดันให้ Healthy Workplace Policy เป็นนโยบายระดับชาติ โดยเป็นมติ ครม.

2.ผลักดันการใช้ระบบเทคโนโลยีในการสร้างเสริมสุขภาพให้กว้างขวาง

3.ผลักดันกฎหมาย สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยง เช่น อาหารปลอดสารพิษ น้ำตาล เกลือ บุหรี่และแอลกอฮอล์ เป็นต้น

4.ผลักดันการสร้างความรอบรู้และความตระหนักให้กับประชาชนตั้งแต่อายุน้อย ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจเส้นเลือดและสมอง ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาทุกอวัยวะและสมองเสื่อมก่อน 60 ปี หัวใจคือกินอาหารผักผลไม้กากใยที่ปลอดสารเคมี และปลา ลดแป้ง ลดเนื้อ และลดอาหารปรุงแต่ง (Ultraprocessed Food)

Big Rock ที่ 3

การปฏิรูประบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุด้านการบริบาล การรักษาพยาบาลที่บ้าน

ผลสำเร็จที่พลิกโฉม

1.เกิดการปรับหลักสูตรการพยาบาลทั่วประเทศ (นำโดยสภาการพยาบาล) เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป

โดยเกิดเป็นระบบที่ยั่งยืนในระบบการศึกษา

-โดยการ build in หลักสูตรการดูแลระยะยาว (Long Term Care) และหลักสูตรการเป็นผู้ฝึกอบรมผู้บริบาลผู้สูงอายุ

ในหลักสูตรการพยาบาลสำหรับนักศึกษาทุกคน

-ในปีการศึกษา 2568 จะมีพยาบาลที่สำเร็จการศึกษามากกว่า 10,000 คนที่ผ่านหลักสูตรดังกล่าว

-ช่วยลดงบประมาณในการจัดอบรมผู้ฝึกอบรมผู้บริบาล และ Care Manager รายใหม่

2.เกิดผู้บริบาลผู้สูงอายุ 46,256 คน สามารถดูแลผู้สูงอายุกว่า 4 แสนคน (ผู้บริบาล 1 คนดูแลผู้สูงอายุ 10 คน) โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อบูรณาการการดำเนินงานและมาตรฐานสร้างผู้บริบาลของหน่วยงานต่างๆ

ผลสำเร็จที่เกิดจากการทำงานแบบปฏิรูป

1.เกิดระบบฐานข้อมูลระดับประเทศด้านการคัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุ (Blue Book Application) และระบบข้อมูลกลางของผู้สูงอายุตามระดับการพึ่งพิง ซึ่งใช้โปรแกรม Long Term Care (3C)

-ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 มีการคัดกรองผู้สูงอายุแล้ว 4,091,902 คน และมีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงซึ่งได้รับการดูแลตาม Care Plan จำนวน 354,324 คน คิดเป็นร้อยละ 92.78 (จากจำนวนทั้งหมด 381,902 คน)

2.เกิดอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุกว่า 4,000 คน ที่ได้รับการฝึกอบรมให้มีศักยภาพตามมาตรฐาน

3.เกิดระบบดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในลักษณะ Telemedicine ที่เป็นมาตรฐาน โดยสามารถประสานกับแพทย์ เภสัชกรในการดูแล รักษาผู้สูงอายุได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเริ่มใช้ในพื้นที่นำร่องเขตสุขภาพที่ 1 (โดยกรมการแพทย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)

งานที่ต้องดำเนินการต่อไป

1.ผลักดันระบบการคัดกรองผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เข้าสู่ระบบ Digital โดยจะเป็นการดูแลผู้สูงอายุอย่างบูรณาการ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากแพทย์/พยาบาลทุกสังกัด และเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

2.ผลักดันและต่อยอดขยายผล Telemedicine และ Telehealth เข้าไปในระบบบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ

Big Rock ที่ 4

การปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพและกองทุนที่เกี่ยวข้อง

ผลสำเร็จที่พลิกโฉม

1.เกิดการปฏิรูปบริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค (P&P) และบริการดูแลระยะยาวในชุมชน (Long Term Care) สำหรับผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ให้มีมาตรฐานและการบริหารจัดการเป็นระบบเดียว รวมถึงลดความซ้ำซ้อนของการใช้งบประมาณ P&P ของกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ 3 กองทุน (สปสช. สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง)

1.1 ประชาชนทุกคนที่มีสิทธิตาม 3 กองทุนภาครัฐ ได้รับสิทธิประโยชน์บริการ P&P จำนวน 11 รายการ เริ่มในปี 2564

1.2 สิทธิประโยชน์ Long Term Care ได้ขยายจากผู้สูงอายุ เป็นประชาชนทุกกลุ่มวัย เริ่มในปี 2565

1.3 ประชาชนได้รับข้อมูลการดูแลสุขภาพ ผ่าน App “สปสช.” ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลกับชุดความรู้ด้านสุขภาพ “Persona Health” ของ สสส. โดยปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียน ประมาณ 1.39 ล้านคน และประชาชน 1.65 ล้านคน ลงทะเบียนใช้บริการ “กระเป๋าสุขภาพ” (Health Wallet)

2.เกิดการปฏิรูปบริการการแพทย์ฉุกเฉินภาครัฐ มีการปรับการจ่ายชดเชยค่าบริการ เพื่อเพิ่มคุณภาพมาตรฐานบริการและเพิ่มการเข้าถึงสำหรับประชาชน

2.1 เกิดห้องฉุกเฉินคุณภาพ โดยกำหนดอัตราจ่ายที่สะท้อนต้นทุนบริการมากขึ้น

2.2 เกิดการขยายหน่วยให้บริการห้องฉุกเฉินคุณภาพฯ ที่ให้บริการนอกเวลาราชการตามความจำเป็นของผู้มีสิทธิ/เหตุสมควร (แยกจากห้องฉุกเฉินปกติ) จำนวน 91 แห่ง โดย สปสช.ปรับหลักเกณฑ์ แนวทาง เงื่อนไขการจ่ายชดเชยบริการฉุกเฉินคุณภาพในปี 2565 ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการห้องฉุกเฉินคุณภาพได้อย่างทั่วถึงตามความจำเป็น

3.เกิดระบบฐานข้อมูลการเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุข ที่มีการเชื่อมโยงบูรณาการและใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่าง 3 กองทุน

หลักประกันสุขภาพภาครัฐ รวมทั้งทุกหน่วยบริการ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานวิจัย และภาคีเครือข่ายต่างๆ

3.1 เกิดเอกภาพในการแชร์และร่วมใช้ข้อมูล โดยหน่วยงานสามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ร่วมกันได้สำเร็จ

3.2 มีหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชน 16,528 แห่งร่วมใช้ระบบข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุข

3.3 หน่วยบริการ ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ สามารถใช้บริการจากฐานข้อมูล รวม 8 เรื่อง เช่น โรคโควิด-19 โรคมะเร็ง และ P&P

3.4 เกิดข้อตกลงเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญ 4 เรื่อง เช่น เชื่อมโยงทะเบียนผู้รับบริการแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ กับระบบฐานข้อมูลประชากรของ สปสช. และเชื่อมโยง
ข้อมูลสุขภาพ (Health Information Exchange) และข้อมูลผู้ป่วยผ่าน Platform “Health Link”

ผลสำเร็จที่เกิดจากการทำงานแบบปฏิรูป

1.เกิดการบูรณาการชุดสิทธิประโยชน์วิธีการรับบริการการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการและการกำกับติดตามการใช้บริการกรณีโรคโควิด-19 ของ 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ

2.เกิดการยกระดับศักยภาพอย่างยั่งยืนของระบบสายด่วนกลาง (Call Center 1330) ของประเทศในกรณีโรคและภัยสุขภาพฉุกเฉิน ที่สามารถรองรับความต้องการของประชาชนจำนวนมาก สูงถึงวันละ 80,000 สาย สำหรับบริการโรคโควิด-19
ทั้งการสอบถามข้อมูล การประสานส่งต่อไปรับบริการตรวจรักษารวมทั้ง Home and Community Isolation และรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นมาตรฐานเดียว โดยการบูรณาการความร่วมมืออย่างเข้มแข็งต่อเนื่องของเครือข่ายอาสาสมัครต่างๆ หน่วยงานภาครัฐ
เอกชน และประชาสังคม

งานที่ต้องดำเนินการต่อไป

1.เร่งพัฒนาระบบการจ่ายเงินของ สปสช. (และกองทุนอื่นๆ) ระบบการจ่าย Value Based System เพื่อมาพัฒนา

ให้บริการสุขภาพเน้นที่ผลการให้บริการ มากกว่า Workload ของการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อผลลัพธ์การรักษาพยาบาลสู่ประชาชน

2.พัฒนาแนวทางที่เหมาะสมในการสนับสนุนงบประมาณให้ รพ.สต.และสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติที่ถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.พัฒนากลไกการประสานงานของทั้ง 3 กองทุน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทั้งการป้องกันโรคและการรักษาพยาบาล

4.ขยายความครอบคลุมการประกันสุขภาพภาคบังคับ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวและแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาประเทศไทย

5.สร้างความยั่งยืนและเพียงพอของการเงินการคลังของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และผลักดันการเตรียมการรองรับภาระในอนาคตโดยใช้ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

Big Rock ที่ 5

การปฏิรูปการบริหารจัดการเขตสุขภาพ

ผลสำเร็จที่พลิกโฉม

1.เกิด Sandbox เขตสุขภาพนำร่อง 4 เขต (เขตสุขภาพที่ 1, 4, 9 และ 12)

1.1 เกิดระบบการกระจายอำนาจและกลไกการบริหารจัดการเขตสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

-เกิดระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อการปฏิรูปฯ พ.ศ.2564

-มีการมอบอำนาจให้ผู้ตรวจราชการกระทรวง และผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข

-เกิดคณะกรรมการอำนวยการเขตสุขภาพ และคณะกรรมการบริหารเขตสุขภาพ

1.2 มีผลการประเมินและผลการวิจัยเบื้องต้นที่แสดงประสิทธิภาพประสิทธิผลของเขตสุขภาพนำร่อง 4 เขต

1.3 มีมติ คณะกรรมการกำกับทิศทางและนโยบายด้านเขตสุขภาพ ให้ขยาย Sandbox เขตสุขภาพไปทั้ง 12 เขต

2.เกิด New Service Model หลากหลายเพื่อสนองตอบต่อปัญหาสุขภาพที่เฉพาะเจาะจง (Pain Point) ของแต่ละเขตสุขภาพ ซึ่งรวมถึง Sandbox การบริการที่ใช้ Digital Technology และ Value Based Healthcare and Payment

เช่น เขตสุขภาพที่ 1 เรื่อง COPD เขตสุขภาพที่ 4 เรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์ เขตสุขภาพที่ 9 เรื่องแม่และเด็ก กลุ่มวัยทำงาน และ Pre-Aging เขตสุขภาพที่ 12 เรื่อง Asthma & COPD และการคัดกรองมะเร็งเต้านม (IBIS Model)

เมื่อดำเนินการเต็มรูปแบบจะส่งผลให้ประชาชน 4 เขตสุขภาพนำร่องได้รับประโยชน์ ครอบคลุมประชากร 28.5 ล้านคน

ผลสำเร็จที่เกิดจากการทำงานแบบปฏิรูป

เกิดบริการที่เป็นประโยชน์กับประชาชนจำนวนมากอย่างเป็นรูปธรรม ใน 4 เขตสุขภาพนำร่อง (เขตสุขภาพที่ 1, 4, 9 และ 12) โดยมีระดับความสำเร็จสูงเกณฑ์ที่กำหนด

-ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อย 2 เข็ม ร้อยละ 70-82

-ผู้ป่วยโควิด-19 ได้รับการรักษา ทำให้มีอัตราป่วยตายต่ำกว่าเกณฑ์ คือ มีอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.5-1.0 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 1.5)

-ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลตาม Care Plan ร้อยละ 88-95 (เกณฑ์ร้อยละ 90)

-ผู้สูงอายุที่พบความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ได้รับการดูแลรักษา ร้อยละ 70-100 (เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30)

-ผู้สูงอายุที่พบความเสี่ยงการเกิดภาวะหกล้ม ได้รับการดูแลรักษา ร้อยละ 92-100 (เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30)

งานที่ต้องดำเนินการต่อไป

1.ต่อยอดขยายผลและขับเคลื่อนการดำเนินงานจาก 4 เขตสุขภาพนำร่อง ให้ครอบคลุมและเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลใน 12 เขตสุขภาพทั่วประเทศ

2.ผลักดันให้สำนักงานเขตสุขภาพที่ 1-12 มีโครงสร้างตามกฎหมาย

3.เพื่อให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง (คณะกรรมการอำนวยการเขตสุขภาพ คณะกรรมการบริหารเขตสุขภาพ) สามารถดำเนินการอย่างเข้มแข็งและบูรณาการอย่างต่อเนื่อง จึงควรให้นำเสนอ ครม.เห็นชอบและสนับสนุนการกระจายอำนาจไปที่เขตสุขภาพ และให้ ครม.รับรองคณะกรรมการ 3 ระดับ ให้ตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนเขตสุขภาพ ให้หน่วยงานอื่นๆ ร่วมดำเนินการ และให้จัดตั้งสำนักงานเขตสุขภาพขึ้นเพื่อบริหารจัดการ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image