‘เมืองพิษณุโลก’ ขอใช้แพชชั่น พัฒนาชีวิตปชช. มุ่งสู่เป้า ‘มั่นคงอาหาร’ คิ๊กออฟคู่ขนาน ‘ถังขยะเปียกลดโลกร้อน’

‘เมืองพิษณุโลก’ น้อมนำพระราชดำริ ‘สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ’ – ขอใช้แพชชั่น เดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิต ปชช. มุ่งสู่เป้า ‘มั่นคงอาหาร’ คู่ขนาน คิ๊กออฟ ‘ถังขยะเปียก ลดโลกร้อน’ พร้อมกันทั้งอำเภอ

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน นายนิสิต สวัสดิเทพ นายอำเภอเมืองพิษณุโลก เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินโครงการอำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการ และสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งอำเภอเมืองพิษณุโลก ได้รับการคัดเลือกให้เป็นอำเภอนำร่องตามโครงการฯ ดังกล่าว โดยภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันนำเสนอโครงการ “ปลุกพลังความคิด ปรับวิถีชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนเมืองพิษณุโลกสู่ความยั่งยืน (SDGs) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน” ด้วยการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเสริมสร้างพลังการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและพี่น้องประชาชนในการบริหารจัดการขยะ เพื่อสร้างเมืองพิษณุโลกที่สะอาด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย โดย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีนโยบายในการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะครบวงจร ด้วยการเสริมสร้างจิตสำนึกประชาชนในการคัดแยกขยะตามหลัก 3ช (3Rs) คือ ใช้ซ้ำ Reuse ใช้น้อย Reduce และนำกลับมาใช้ใหม่ Recycle

พร้อมทั้งดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอย “จังหวัดสะอาด” โดยมีเป้าประสงค์ให้ทุกครัวเรือนได้รับการส่งเสริมและจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ซึ่งถือเป็นการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้ทุกจังหวัดแจ้งอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง สำรวจและรายงานข้อมูลถังขยะเปียกลดโลกร้อนในระดับครัวเรือน ระดับโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระบบสารสนเทศการจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการรับรองคาร์บอนเครดิต รวมทั้ง ได้เน้นย้ำในการน้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับพี่น้องประชาชนทุกครัวเรือน เพื่อให้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการบริโภคพืชพันธุ์ผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษ และประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว

Advertisement

นายนิสิต นายอำเภอเมืองพิษณุโลก กล่าวว่า จังหวัดพิษณุโลก โดย นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการ “ปลุกพลังความคิด ปรับวิถีชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนเมืองพิษณุโลกสู่ความยั่งยืน (SDGs) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน” ภายใต้โครงการอำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการ และสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย โดยเน้นย้ำว่า “ทุกอำเภอของจังหวัดพิษณุโลกต้องเป็นอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ตามเจตนารมณ์และ Passion ของชาวมหาดไทยทุกคน โดยมอบหมายให้อำเภอเมืองพิษณุโลก ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนสร้างพลังของภาคีเครือข่ายในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของพี่น้องประชาชนให้เกิดความลงตัวในการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดประโยชน์กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม รวมทั้งนำนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในด้านการบริหารจัดการขยะครบวงจรตามนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงมหาดไทย มาขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน

“อำเภอเมืองพิษณุโลก เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และการดำเนินการจัดทำ ‘ถังขยะเปียกลดโลกร้อน’ ในระดับครัวเรือน โดยทีมนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย (CAST) อำเภอเมืองพิษณุโลก จึงได้ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ตำบลวังน้ำคู้ มะขามสูง พลายชุมพล หัวรอ งิ้วงาม สมอแข ดอนทอง วัดพริก ไผ่ขอดอน บ้านป่า บึงพระ บ้านกร่าง อรัญญิก จอมทอง ท่าโพธิ์ ปากโทก บ้านคลอง ท่าทอง และตำบลวัดจันทร์ รวม 19 ตำบล 173 หมู่บ้าน สอบทวนและจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนพร้อมกันทั้งอำเภอ ครบทุกครัวเรือน 100% พร้อมทั้งสร้างการรับรู้ความเข้าใจและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการแยกขยะ การใช้อย่างถูกวิธีและเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง (ครัวเรือน) เพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบ และลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ด้วยการย่อยสลายขยะอินทรีย์ในถังขยะเปียกลดโลกร้อน ที่จะกลายเป็นปุ๋ยที่นำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและเป็นปุ๋ยบำรุงพืชผักผลไม้และสมุนไพรได้อีกด้วย” นายนิสิตกล่าวเน้นย้ำ

Advertisement

นายนิสิต กล่าวต่ออีกว่า อำเภอเมืองพิษณุโลก ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ของทุกครัวเรือนที่ได้ดำเนินการครบทั้ง 100% และสอบทานว่า สามารถใช้การได้อย่างถูกวิธี และมีการใช้งานอย่างเป็นประจำ พร้อมทั้ง ให้มีการบันทึกข้อมูลในระบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทยให้สอดคล้องกับกระบวนการรับรองคาร์บอนเครดิต เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นการขยายผลจากการส่งเสริมให้ครัวเรือนต้นแบบการจัดการคัดแยกขยะ ผลิตถังขยะอินทรีย์จาก “ถังขยะเปียกลดโลกร้อน” รวมทั้งได้สร้างการรับรู้ความเข้าใจกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และทุกภาคส่วนในอำเภอเมืองพิษณุโลก ให้เล็งเห็นประโยชน์ของการน้อมนำพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ในพื้นที่ 19 ตำบล 173 หมู่บ้าน โดยขับเคลื่อนด้วยพลัง “บวร” ได้แก่ บ้าน 3,460 ครัวเรือน (หลัง) วัด 19 แห่ง โรงเรียน 19 แห่ง ตามโครงการ “ปลุกพลังความคิด ปรับวิถีชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนเมืองพิษณุโลกสู่ความยั่งยืน (SDGs) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน” ภายใต้โครงการอำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการ และสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย โดยประยุกต์ขยะอินทรีย์จากถังขยะเปียกลดโลกร้อน ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าวมาเป็นสารบำรุงดิน บำรุงพืชผักสวนครัว ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อการบริโภค และพี่น้องประชาชนได้ประหยัดรายจ่ายของครัวเรือน ทั้งยังเสริมสร้างความอบอุ่น ความรัก ความผูกพัน ให้กับคนในครอบครัวอีกด้วย

นายนิสิตกล่าวเพิ่มเติมว่า อำเภอเมืองพิษณุโลก ให้ความสำคัญในการส่งเสริมพลังการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา มาเป็นกลไกการขับเคลื่อน ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกแห่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน “ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ ด้วย Passion ที่อยากให้เกิดความเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของคำว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชน ชุมชน และสังคมให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริงต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image