การเมือง-การเปลี่ยนแปลงปี’66 ผลเลือกตั้งชี้วัดอนาคต 2 ขั้ว

การเมือง-การเปลี่ยนแปลงปี’66 ผลเลือกตั้งชี้วัดอนาคต 2 ขั้ว

การเมืองในปี 2566 ชัดเจนว่าเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงผ่านการเลือกตั้งทั่วไป ด้วยเพราะเงื่อนไขที่เป็นไฟต์บังคับที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะครบวาระการทำหน้าที่ 4 ปี ในวันที่ 23 มีนาคม 2566 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้วางไทม์ไลน์กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปคือ วันที่ 7 พฤษภาคม 2566

ถ้าเงื่อนไขการเมืองเปลี่ยน หาก พล.อ.ประยุทธ์ นายกฯ ตัดสินใจยุบสภาก่อนรัฐบาลครบวาระ กกต.จะต้องกำหนดวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 103 กำหนด ทั้งนี้ ภายใน 5 วันนับแต่วันมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา กกต.จะต้องประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป และวันสมัครรับเลือกตั้งในราชกิจจานุเบกษา

ส่วนความชัดเจนของกลุ่มผู้มีอำนาจในสมการการเมืองผ่านการเลือกตั้งในปี 2566 นั้น ฝั่งของขั้วอำนาจเดิม ตัวแทนของฝ่ายอนุรักษนิยม ชัดเจนว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ประกาศไปต่อในการเมืองครั้งหน้าด้วยการตอบรับเป็นแคนดิเดตนายกฯของพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ที่มี พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่สวมหมวกอีกใบเป็นหัวหน้าพรรค รทสช. และ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค รทสช. เตรียมจัดทัพทั้งโครงสร้างและผู้สมัคร ส.ส.ให้พร้อมไปต่อกับ พล.อ.ประยุทธ์ กับเป้าหมายชนะเลือกตั้ง มีเสียงของ ส.ส.เป็นอันดับหนึ่งของขั้วอนุรักษนิยม เพื่อชิงความชอบธรรมในการรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล

ขณะที่ขั้วประชาธิปไตยในฝั่งของพรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย พรรคเพื่อไทย (พท.) ประกาศยุทธศาสตร์ชนะเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ ให้ได้ ส.ส.มากกว่า 253 เสียง เพื่อชิงความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล สร้างแรงกดดันต่อสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ทั้ง 250 คน ไม่ให้กล้าโหวตเลือกนายกฯสวนฉันทามติของประชาชน

Advertisement

ย่อมต้องทุ่มทุกสรรพกำลังเปิดหน้าสู้อย่างเต็มที่ เนื่องจากห่างเหินจากการเป็นรัฐบาลมากว่า 8 ปี ไม่ได้โชว์ฝีมือให้ประชาชนที่สนับสนุนพรรค พท.ได้สัมผัสกับการบริหารประเทศ โดยเฉพาะฝีมือด้านการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง ฉบับประชานิยมของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ขณะเดียวกัน กติกาการเลือกนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งปี 2566 ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้อำนาจ ส.ว.ทั้ง 250 คน ร่วมโหวตเลือกนายกฯร่วมกับ ส.ส.ได้เป็นครั้งสุดท้าย จึงยังเป็นตัวช่วยพิเศษ สร้างความมั่นใจให้กับขั้วพรรคร่วมรัฐบาลเดิม ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ มีความมั่นใจว่าจะได้ไปต่อภายหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า ขอเพียงแค่รวมเสียง ส.ส.ให้ได้ตามเป้าหมาย แล้วมารวมกับ ส.ว. 250 คน เพื่อตั้งนายกฯให้ได้ก่อน จากนั้นจึงใช้เทคนิคทางการเมืองรวมเสียง ส.ส.สู้กับขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้าม ให้มีเสียงของรัฐบาลพอที่จะบริหารประเทศได้ นั่นคือไม่ต่ำกว่า 250 เสียง แก้ปัญหาตั้งนายกฯได้ แต่กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย บริหารประเทศไม่ได้

แต่ด้วยกติกาการเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะกลับมาใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แบ่งเป็น ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน หารด้วย 100 คน จะเป็นสัดส่วนของจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่งที่แต่ละพรรคจะได้รับ ปัจจัยชี้ขาดผลแพ้-ชนะเลือกตั้งครั้งหน้าของแต่ละพรรคในทั้ง 2 ขั้วการเมืองคือ ส.ส.แบบเขต ที่มีตัวเลขถึง 400 ที่นั่ง กระจายทั่วทุกภาค

Advertisement

โดยผู้ชนะ ส.ส.เขต คือผู้ที่ได้คะแนนในอันดับที่ 1 ส่วนผู้ที่ได้อันดับที่ 2 ลงมาจะไม่สามารถนำคะแนนไปคำนวณให้เป็นคะแนนพรรคได้เหมือนกับการเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว เพราะทุกคะแนนตกน้ำหมด เพราะการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อจะคิดจากคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับผ่านบัตรเลือกตั้งอีกใบ

กลยุทธ์ของทุกพรรคที่จะใช้ในการสู้ศึกเลือกตั้งย่อมต้องเปิดหน้าแลก ทิ้งทุกไพ่เด็ด เพื่อหวังกำชัยในการเลือกตั้ง โดยมีการวิเคราะห์จากนักวิชาการหลายสำนักที่มองตรงกันว่า ปัจจัยชี้ขาดผลแพ้-ชนะเลือกตั้งครั้งหน้านอกจาก กระแส และ กระสุน ของแต่ละพรรคแล้ว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image