เปิดปวศ. ‘ผ้าขาวม้า’ จากประโยชน์ ‘ผูกคอตาย’ ในเว็บฯ วธ. สู่ครม.เห็นชอบเสนอยูเนสโก

แฟ้มภาพ

สืบเนื่องกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบให้เสนอ ผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย (Pha Khoa Ma : Multifunctional cloths in Thai life) ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ต่อยูเนสโก และให้อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามในเอกสารการนำเสนอต่อไปนั้น (อ่านข่าว ครม.เห็นชอบ เสนอ ยูเนสโก ขึ้นทะเบียน ‘ผ้าขาวม้า’ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้)

ย้อนไป เมื่อต้นปี 2564 เวปไซต์กระทรวงวัฒนธรรมถูกวิพากษ์อย่างหนัก หลังหลังผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง หาข้อมูล ‘ผ้าขาวม้า’ ก่อนพบว่าประโยชน์นั้นไว้ใช้ ‘ผูกคอตาย’ (ยามสิ้นคิด)  ถูกระบุไว้ในข้อ 28 ของเว็บไซต์ โดยถูกเผยแพร่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2558 โดยข้อมูลปรากฏอยู่ในหมวดเครื่องนุ่งห่ม ล่าสุด ไม่ปรากฏหน้าดังกล่าวในเวบไซต์กระทรวงวัฒนธรรมแล้ว

ย้อนอ่าน งงตาแตก กระทรวงวัฒนธรรม ชี้ประโยชน์ผ้าขาวม้า เอาไว้ผูกคอตาย

‘มติชนออนไลน์’ ชวนมาทำความรู้จักผ้าขาวม้าให้มากยิ่งขึ้นในเชิงประวัติศาสตร์-วัฒนธรรม ซึ่งในหนังสือ วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ โดยสำนักพิมพ์นาตาแฮก พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2559 ระบุว่า

Advertisement

ผ้าขะม้า คือ ผ้าผืนเดียว

ผ้าผืนเดียว เตี่ยวพันกาย เป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ และอาจร่วมทั้งโลก ส่วนชื่อเรียกมีทั้งคำพื้นเมืองและคำต่างชาติต่างภาษา

ผ้าขะม้า คือผ้าผืนเดียวมีใช้ทั่วไป ส่วนชื่อผ้าขะม้าเป็นคำไทยที่เพี้ยนจาก
คำเขมรเรียก “กรอมมา” ซึ่งมีรากคำจากเปอร์เซีย (อิหร่าน) ว่า กะมัรฺ บันด์ (Kamar Band) คำ Kamar แปลว่า เอว, Band แปลว่า รัด, คาด ตรงกับ รัดประคด ใช้
คาดเอว [จากหนังสือความสัมพันธ์ของมุสลิม ทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย ของ ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2505]

Advertisement

[ผ้าขะม้า มีคำอธิบายเป็นนิทานว่ากร่อนจาก “ผ้าข่าวม้า” เพราะใช้ผ้ามัดเอวห่อหนังสือข่าวสารขี่ม้าไปส่งข่าวอีกฟากหนึ่ง]

ผ้าเตี่ยว หมายถึง ผ้าผืนเล็ก แต่ยาว หรือผ้าแถบยาว แต่เล็กและแคบ ใช้ห่มพันรอบเอวแล้วตวัดลอดหว่างขาไปเหน็บไว้ข้างหลัง เป็นคำพูดเชิงดูถูกว่ายาจกยากจน ส่วนผู้หญิงโบราณใส่เตี่ยวใช้ซับประจำเดือน

ผ้านุ่ง คือ ผ้าผืนเดียวเย็บชายติดกันเป็นถุงเหมือนกันหมดทุกแห่ง เช่น
ลาว, เขมร, มอญ, พม่า, ชวา, มลายู แต่เรียกชื่อต่างกัน เช่น ผ้าถุง, ผ้าซิ่น,
ผ้าโสร่ง (เป็นพยานว่าโสร่งเป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์ ซึ่งมิได้เป็นสมบัติ
ของพวกใดพวกหนึ่ง เช่น พม่า, มอญ, มลายู) ถ้าเป็นผืนยาว เรียก “ผ้าหาง” ใช้นุ่งโจงกระเบนก็ได้

ข้อมูลจาก หนังสือความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม โดย จิตร ภูมิศักดิ์ พิมพ์โดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2519 กล่าวถึงเรื่องราวของผ้านุ่งไว้ มีเนื้อหาโดยสรุปว่า สยามนุ่งโสร่ง ผ้าโสร่ง มีทั้งเป็นผ้าพื้นเรียบและทั้งลายแบบผ้านุ่งผู้ไท ซึ่ง
นุ่งให้เชิงผ้าข้างล่างผายนิดๆ เหมือนโสร่งมอญ-พม่า แต่สังเกตว่าไม่ได้เพลาะ
ชายผ้าให้เป็นถุง หากเป็นผืน และนุ่งพันแบบมลายู รอบเอวมีดอกไม้ห้อยเป็นระย้าลงมาเป็นสายยาวเกือบจรดเข่าเหมือนระย้าประดับเอวระบำฮาวาย มือถือหอกหรือทวน และดั้ง

เครื่องแต่งกายขบวนเสียมกุกนุ่งโสร่งบนภาพสลักที่ปราสาทนครวัด ราว พ.ศ. 1650
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image