เช็กชื่อ 62 แคนดิเดตนายกฯ ลุ้นฝ่าด่าน 25 เสียงชิง สร.1

เช็กชื่อ 62 แคนดิเดตนายกฯ ลุ้นฝ่าด่าน 25 เสียงชิง สร.1

สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่ประกาศรับรองผลการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ รวมถึงรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ลงนามโดยนายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. รวม 3 ฉบับ ดังนี้ ประกาศ กกต. เรื่องการแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกฯ จำนวน 43 พรรคการเมือง

โดยเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม 62 คน จากผู้เสนอตัว 63 คน และมี 1 คนที่ไม่มีคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้าม คือ นายรัฐฐาน์ พีรวิชญ์ธนาภัค พรรคราษฎร์วิถี เนื่องจากไม่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 160 (3) ของรัฐธรรมนูญ 60

นอกจากนี้ ยังออกประกาศ กกต.เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (ส.ส.4/23 และ ส.ส.4/24) โดย กกต.ได้ตรวจสอบหลักฐานการสมัคร คุณสมบัติ และลักษณะของผู้สมัครรับเลือกตั้งดังกล่าวแล้ว จำนวน 67 พรรคการเมือง โดยพบว่า เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 1,889 คน และไม่รับสมัคร เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย 9 คน

Advertisement

1.น.ส.นารีม๊ะ โต๊ะเล๊ะ พรรคประชาธิปไตยใหม่ ผู้สมัครลำดับที่ 15 เนื่องจากอายุไม่ถึง 25 ปี มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 41 (2)

2.นายคณนาถ หมื่นหนู พรรคภูมิใจไทย ผู้สมัครลำดับที่ 44 เนื่องจากถูกคำสั่งจังหวัดพัทลุงให้พ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลทะเลน้อย มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 42 (10)

3.นายบุญธรรม คำมี พรรคประชาไทย ผู้สมัครลำดับที่ 15 ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและขอถอนการสมัครแต่กฎหมายมาตรา 42 (1) ไม่ได้บัญญัติให้ถอนการสมัครแบบบัญชีรายชื่อได้

Advertisement

4.นายณรงค์ อวยศิลป์ พรรคไทยเป็นหนึ่ง ผู้สมัครลำดับที่ 2 ไม่พบข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคไทยเป็นหนึ่ง

5.นายประวิทย์ แสงสว่าง พรรคประชากรไทย ผู้สมัครลำดับที่ 14 ไม่พบข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทย

6.พ.ท.ประสาร แสงสว่าง พรรคเสรีรวมไทย ผู้สมัครลำดับที่ 25 ไม่พบข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคเสรีรวมไทย

7.นางแขไข ฐิติชญานัน พรรคเสรีรวมไทย ผู้สมัครลำดับที่ 28 ไม่พบข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคเสรีรวมไทย

8.นายเสถียร คงปาน พรรคไทยสร้างไทย ผู้สมัครลำดับที่ 70 ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและขอถอนการสมัครแต่กฎหมายมาตรา 42 (1) ไม่ได้บัญญัติให้ถอนการสมัครแบบบัญชีรายชื่อได้

9.นายภานุณ์พล จองชัยธนโรจน์ พรรคไทยสร้างไทย ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและขอถอนการสมัคร แต่กฎหมายมาตรา 42 (1) ไม่ได้บัญญัติให้ถอนการสมัครแบบบัญชีรายชื่อได้

ขณะที่แคนดิเดตนายกฯ ตามรหัสเรียกขาน “สร.1” ที่สำนักงาน กกต.รับรอง เรียงตามเบอร์การสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค ดังนี้ เบอร์ 2 พรรคประชาธิปไตยใหม่ นายสุรทิน พิจารณ์ เบอร์ 4 พรรคท้องที่ไทย นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล เบอร์ 5พรรคพลังสังคมใหม่ นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ เบอร์ 7 พรรคภูมิใจไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล

เบอร์ 9 พรรคพลัง นายชัยยพล พสุรัตน์บรรจง และนายลิขสิทธิ์ ใสกระจ่าง เบอร์ 11 พรรคประชาชาติ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง

เบอร์ 13 พรรคไทยชนะ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เบอร์ 14 พรรคชาติพัฒนากล้า นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกรณ์ จาติกวณิช และนายเทวัญ ลิปตพัลลภ

เบอร์ 17 พรรคเสมอภาค นางรฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ เบอร์ 18 พรรคชาติไทยพัฒนา นายวราวุธ ศิลปอาชา เบอร์ 21 พรรคไทยภักดี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม

เบอร์ 22 พรรครวมไทยสร้างชาติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เบอร์ 24 พรรคเพื่อชาติ นพ.เรวัต วิศรุตเวช ร.อ.จารุพล เรืองสุวรรณ

เบอร์ 25 พรรคเสรีรวมไทย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เบอร์ 26 พรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เบอร์ 28 พรรคไทยพร้อม นายวิทยา อินาลา และนายวิษณุ กรองกันภัย เบอร์ 29 พรรคเพื่อไทย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายเศรษฐา ทวีสิน และนายชัยเกษม นิติสิริ เบอร์ 30 พรรคทางเลือกใหม่ นายราเชน ตระกูลเวียง

เบอร์ 32 พรรคไทยสร้างไทย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี และ น.ต.ศิธา ทิวารี เบอร์ 33 พรรคไทยเป็นหนึ่ง พล.อ.ประสูตร รัศมีแพทย์ เบอร์ 36

พรรคเพื่อชาติไทย นายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล เบอร์ 37 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เบอร์ 39 พรรคมิติใหม่ นายปรีชา ไข่แก้ว

เบอร์ 40 พรรคประชาภิวัฒน์ นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ และ พล.ต.ไชยนาจ ญาติฉิมพลี เบอร์ 41พรรคไทยธรรม นายกิติกร วิชัยเรืองธรรม นายอโณทัย ดวงดารา และ น.ส.รัตติกาล โสวะภาส เบอร์ 42 พรรคไทยศรีวิไลย์ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เบอร์ 44 พรรคราษฎร์วิถี นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ และนายรัฐฐาน์ พีรวิชญ์ธนาภัค เบอร์ 45 พรรคแนวทางใหม่ นายยุทธนา รักชลธี เบอร์ 48 พรรคเพื่ออนาคตไทย นายประเสริฐ เลิศยะโส เบอร์ 49 พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย นายณัชพล สุพัฒนะ เบอร์ 50 พรรคพลังปวงชนไทย นายฑิฎิวุฒิ ศรีมานพ

เบอร์ 52 พรรคชาติรุ่งเรือง นางพิมไหมทอง ศักดิพัตโภคิน เบอร์ 53 พรรคพลังสังคม นางณฐพร ชลายนนาวิน เบอร์ 55 พรรคไทยก้าวหน้า นายวัชรพล บุษมงคล และ พล.อ.สิทธิ์ สิทธิมงคล เบอร์ 56 พรรคประชาไทย นายบุญยงค์ จันทร์แสง เบอร์ 57 พรรคพลังเพื่อไทย นายเอกวรพงศ์ อำนวยทรัพย์ นายพงษ์ศักดิ์ พัวพรพงษ์ และ น.ส.ปภาดา ถาวรเศรษฐ

เบอร์ 59 พรรคช่วยชาติ นางสาวนงนุช บัวใหญ่ เบอร์ 60 พรรคความหวังใหม่ นายชิงชัย มงคลธรรม เบอร์ 61 พรรคคลองไทย นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ เบอร์ 63 พรรคประชากรไทย นายคณิศร สมมะลวน น.ส.ภคมน วงศ์ใหญ่ และนายหรรษธร ณรงค์ เบอร์ 65 พรรคเปลี่ยนอนาคต ผศ.(พิเศษ) อัครนันท์อริยศรีพงษ์ เบอร์ 67 พรรคไทยสมาร์ท นายเกียรติภูมิ สิริพันธุ์

ส่วนแคนดิเดตนายกฯ ที่ กกต.รับรองคุณสมบัติแล้วนั้น ใครจะได้ไปต่อภายหลังการเลือกตั้ง จะต้องผ่านขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 159 บัญญัติไว้ว่า “ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 เฉพาะจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิก ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร การเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องกระทํา โดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของสภาผู้แทนราษฎร”

ถือเป็นด่านสำคัญที่แคนดิเดตนายกฯ ของแต่ละพรรค จะต้องได้รับเลือกตั้งได้เสียง ส.ส.ไม่ต่ำกว่า 25 เสียง เพื่อมีสิทธิเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาด้วยเสียงไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง คือ 376 เสียง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image