เทียบชัดๆ งบกระทรวง 3 ยุค ‘ยิ่งลักษณ์-ประยุทธ์’ สู่ว่าที่ ‘นายกฯ พิธา’

เทียบงบกระทรวง 3 ยุค ‘ยิ่งลักษณ์-ประยุทธ์’ สู่ว่าที่ ‘นายกฯ พิธา’

2566 คือปีแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลใหม่ ผลการเลือกตั้ง พรรคก้าวไกล ก้าวขึ้นเป็นพรรคอันดับหนึ่งในการตั้งรัฐบาล โดยมี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค เป็นแคนดิเดต ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทยที่ปัจจุบันเส้นทางยังฝุ่นตลบ!!

‘มติชนออนไลน์’ สำรวจวาระสำคัญของรัฐบาล เรื่องสำคัญหนึ่งคือ “งบประมาณ” ที่จะใช้ในการบริหารและพัฒนาประเทศ เทียบยุค 2 ยุคสำคัญกับ ว่าที่รัฐบาลชุดใหม่

ตรวจสอบรายกระทรวงที่ครองงบสูงสุดของแต่ละยุค เป็นดังนี้

Advertisement

ยุครัฐบาล ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ พรรคเพื่อไทย

ปีงบ 2555 กรอบ 2.38 ล้านล้านบาท มีงบกลาง 420,601 ล้านบาท จำแนกตามกระทรวง 10 อันดับแรก
1.กระทรวงศึกษาธิการ 418,616 ล้านบาท
2.กระทรวงมหาดไทย 283,875 ล้านบาท
3.กระทรวงการคลัง 190,981 ล้านบาท
4.กระทรวงกลาโหม 167,446 ล้านบาท
5.กระทรวงสาธารณะสุข 93,056 ล้านบาท
6.กระทรวงคมนาคม 81,310 ล้านบาท
7.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 77,993 ล้านบาท
8.กระทรวงแรงงาน 27,265 ล้านบาท
9.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 24,611 ล้านบาท
10.สำนักนายกรัฐมนตรี 22,485 ล้านบาท

ปีงบ 2556 กรอบ 2.37 ล้านล้านบาท มีงบกลาง 319,864 ล้านบาท
1.กระทรวงศึกษาธิการ 460,411 ล้านบาท
2.กระทรวงมหาดไทย 308,835 ล้านบาท
3.กระทรวงการคลัง 180,707 ล้านบาท
4.กระทรวงกลาโหม 180,491 ล้านบาท
5.กระทรวงสาธารณสุข 99,788 ล้านบาท
6.กระทรวงคมนาคม 95,948 ล้านบาท
7.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 72,882 ล้านบาท
8.กระทรวงแรงงาน 36,534 ล้านบาท
9.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 30,657
10.สำนักนายกรัฐมนตรี 25,255 ล้านบาท

ปีงบ 2557 กรอบ 2.52 ล้านล้านบาท งบกลาง 343,131 ล้านบาท
1.กระทรวงศึกษาธิการ 482,788 ล้านบาท
2. กระทรวงมหาดไทย 333,145 ล้านบาท
3.กระทรวงการคลัง 228,796 ล้านบาท
4.กระทรวงกลาโหม 183,820 ล้านบาท
5.กระทรวงสาธารณสุข 106,102 ล้านบาท
6.กระทรวงคมนาคม 100,577 ล้านบาท
7.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 76,841 ล้านบาท
8.สำนักนายกรัฐมนตรี 32,160 ล้านบาท
9.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ เเละสิ่งเเวดล้อม31,487 ล้านบาท
10.กระทรวงแรงงาน 30,353 ล้านบาท

Advertisement

ยุค ‘พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกฯคนปัจจุบัน

จากนั้นปี 2557 ก็เข้าสู่ยุค พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯคนปัจจุบัน โดยในช่วง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)

เริ่มบริหารและจัดร่างงบปี 2558 มีวงเงิน 2.57 ล้านล้านบาท มีงบกลาง 374,768 ล้านบาท

หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ
1. กระทรวงศึกษาธิการ 501,326 ล้านบาท
2.กระทรวงมหาดไทย 340,171 ล้านบาท
3.กระทรวงกลาโหม 192,949 ล้านบาท
4.กระทรวงการคลัง 185,852 ล้านบาท
5. กระทรวงคมนาคม 110,722 ล้านบาท
6.กระทรวงสาธารณสุข 109,658 ล้านบาท
7.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 80,999 ล้านบาท
8.กระทรวงแรงงาน 33,638 ล้านบาท
9.สำนักนายกรัฐมนตรี 33,417 ล้านบาท
10.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 30,245 ล้านบาท

ขณะที่ งบช่วงหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จากการเลือกตั้งปี 2562
ปีงบ 2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท มีงบกลาง 518,771 ล้านบาท
1.กระทรวงมหาดไทย 288,459 ล้านบาท
2.กระทรวงศึกษาธิการ 132,834 ล้านบาท
3.กระทรวงกลาโหม 124,400 ล้านบาท
4.กระทรวงแรงงาน 67,736 ล้านบาท
5.กระทรวงคมนาคม 54,211 ล้านบาท
6.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 31,644 ล้านบาท
7.สำนักนายกรัฐมนตรี 29,863 ล้านบาท
8.กระทรวงสาธารณสุข 26,731 ล้านบาท
9.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 17,795 ล้านบาท
10.กระทรวงการคลัง 13,904 ล้านบาท

และล่าสุด ปีงบ 2566 วงเงิน 3.18 ล้านล้านบาท มีงบกลาง 590,470 ล้านบาท
1.กระทรวงศึกษาธิการ 325,900 ล้านบาท
2.กระทรวงมหาดไทย 325,578 ล้านบาท
3.กระทรวงการคลัง 285,230 ล้านบาท
4.กระทรวงกลาโหม 197,292 ล้านบาท
5.กระทรวงคมนาคม 180,502 ล้านบาท
6.กระทรวงสาธารณสุข 156,408 ล้านบาท
7.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 126,067 ล้านบาท
8.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 124,748 ล้านบาท
9.กระทรวงแรงงาน 54,338 ล้านบาท
10.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 30,638 ล้านบาท

โดยจะพบว่า งบประมาณกระทรวงที่มีการลดลง คือ กระทรวงศึกษาธิการ ที่ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ถือว่าเป็นช่วงที่ได้รับงบสูงสุด ขณะที่รัฐบาลประยุทธ์ มีการปรับลดลง และก่อตั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

อย่างไรก็ดี ปีงบ 66 เมื่อรวมงบกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เข้าด้วยกันแล้ว แต่งบก็ยังน้อยกว่าช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่กระทรวงศึกษาฯ ปีละ 4-5 แสนล้านบาท ส่วนโครงสร้างของงบประมาณรายจ่ายของกระทรวงนั้น ยังคงใกล้เคียงกัน ใน 10 อันดับแรก

ส่วนงบที่หลายฝ่ายจับตามอง คือ งบทหาร ซึ่งน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในงบกระทรวงกลาโหมนั้น ในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตั้งวงเงินไว้ ราว 1.8 แสนล้านบาทต่อปี ส่วนในรัฐบาล พล.ประยุทธ์ กลับมีการอัดฉีดไปจนพีคสุดในปีงบ 2563 ราว 2.31 แสนล้านบาท ต่อมาปีงบ 2566 ปรับลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ 1.97 แสนล้านบาท ซึ่งหากมองในเชิงสัดส่วนแต่ละกระทรวง ยังคงมีอันดับเฉลี่ยที่อันดับ 4-5 ของแต่ละปี ซึ่งไม่ต่างกันในระหว่างสองรัฐบาล

ล่าสุด งบปี 2567 ผ่านความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีพล.อ.ประยุทธ์ ก่อนที่จะยุบสภาแล้ว แต่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรัฐสภา มีกรอบวงเงิน จำนวน 3.35 ล้านล้านบาท

ซึ่งกระทรวงที่ได้รับงบสูงสุด 10 อันดับ คือ
1.กระทรวงมหาดไทย 351,985 ล้านบาท
2.กระทรวงศึกษาธิการ 330,512 ล้านบาท
3.กระทรวงการคลัง 313,822 ล้านบาท
4.กระทรวงสาธารณสุข 170,369 ล้านบาท
5.กระทรวงกลาโหม 198,562 ล้านบาท
6.กระทรวงคมนาคม 183,950 ล้านบาท
7.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 127,669 ล้านบาท
8.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 117,142 ล้านบาท
9.กระทรวงแรงงาน 61,841 ล้านบาท
10.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 31,977 ล้านบาท

น่าจับตา ว่าที่รัฐบาลใหม่นำโดย นายพิธา พรรคก้าวไกล จะเข้ามารื้อร่างงงบประมาณหรือไม่ และจะนำแนวคิดนโยบาย ฐานศูนย์ เข้ามาใช้จะรื้องบส่วนใด

เบื้องต้นคาดว่าจะเป็น งบทหาร งบอมรมสัมมนา ละงบไม่จำเป็นเล็กๆน้อยๆ รวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท

“พิธา” จะฝ่าแรงต้านได้บริหารงบ 2567 หรือไม่ ต้องติดตาม!!

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image