พิธา ชูศักยภาพ จิสด้า ใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชน
วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และคณะ ประกอบด้วย นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายนโยบาย นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล และนายศุภโชติ ไชยสัจ ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ได้เข้าเยี่ยมชมภารกิจของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า (GISTDA) เพื่อหารือถึงศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ ในการสนับสนุนเชิงนโยบายเพื่อการบริหารจัดการปัญหาสำคัญของประเทศ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA ได้เน้นความสำคัญกับภารกิจอวกาศของ GISTDA ในฐานะหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะในการจัดการกับปัญหา PM2.5 อุทกภัย ภัยแล้ง การเกษตร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้สามารถประเมินพื้นที่ที่เสี่ยงภัยพิบัติได้ และคาดการณ์ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีการวางแผนการผลิตและการบริหารจัดการเกษตรรายแปลงที่เหมาะสม
นอกจากนี้ GISTDA ยังได้มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่ทันสมัยเพื่อสร้างโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจอวกาศ (New SPACE ECONOMY) โดยผลักดันให้มีกฎหมาย ได้แก่ (ร่าง) พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. … รวมถึงการพัฒนาแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้ประเทศไทยมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมอวกาศที่ก้าวหน้า อีกทั้ง ยังมุ่งพัฒนาดาวเทียมในประเทศไทย เพื่อให้สามารถสร้างด้วยขีดความสามารถจากภายในประเทศ การวิจัยเทคโนโลยีอวกาศเพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการก่อสร้างท่าอวกาศยาน (Spaceport) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนกฎหมายและนโยบายด้านอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทยในระยะยาว
นายพิธากล่าวว่า GISTDA มีศักยภาพ และข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์ในการสนับสนุนนโยบาย การแก้ไขปัญหาของประชาชน ทั้งด้านอุทกภัย ภัยแล้ง PM2.5 รวมถึงการเยียวยาเกษตรกรในกรณีเกิดภัยพิบัติ
เห็นควรถึงความสำคัญในการสนับสนุน GISTDA ทั้งในด้านการจัดสรรงบประมาณ และการทำงานร่วมกัน กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศไปใช้แก้ปัญหาให้กับประชาชน
โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับการทำงานร่วมกับ GISTDA ใน 3 ระยะ ระยะใกล้ : ดิน น้ำ ลม ไฟ การใช้ประโยชน์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเกษตรรายแปลง การใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ ถึงปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณน้ำน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี กว่า 30% และน้อยกว่าปีที่แล้ว 45% ซึ่ง GISTDA มีข้อมูลน้ำต้นทุนที่เป็นแหล่งน้ำขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการวางแผนการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสมกับปริมาณการใช้น้ำ และสถานการณ์น้ำ
นายพิธากล่าวว่า การวางแผน และการแก้ไขปัญหา PM2.5 การคาดการณ์ทิศทางลม การประเมินคุณภาพอากาศจากดาวเทียม ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมจะช่วยเสริมความแม่นยำในการบริหารจัดการได้ และBurn check ซึ่งเข้าใจดีกว่าประชาชนจำเป็นต้องมีการเผา แต่หากสามารถบริหารจัดการได้ก็จะช่วยสามารถบรรเทาสถานการณ์หมอกควันได้ นอกจากนี้จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องความถี่ของข้อมูล ทั้งข้อมูล HOTSPOT Burn Scar รวมถึงข้อมูล Biomass เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า b. ระยะกลาง : การบริหารจัดการ การประเมิน Carbon credit ที่สามารถวัดได้อย่างแม่นยำ และ c. ระยะยาว การส่งเสริมให้เกิด Space Economy ซึ่งมีการคาดการณ์มูลค่าของอุตสาหกรรมอวกาศของทั่วโลกที่ 7.7 ล้านล้านบาท และประเทศไทยมีศักยภาพ โครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร นอกจากนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศจะช่วยให้เกิด Spillover Effect ในการได้เทคโนโลยีระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเราจำเป็นต้องส่งเสริมเรื่อง Local Content ในประเทศไทย รวมถึงการทุนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ
นายพิธากล่าวว่า การใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชน และประเทศ การผลักดันการศึกษาความเป็นไปได้ของการตั้ง Spaceport ในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากเวลาจำกัด ในอนาคตอาจจะมีการตั้ง Working Team เพื่อทำงานร่วมกันต่อไป