9.00 INDEX ​ก้าวย่าง การแก้ไข กฎหมายคณะสงฆ์ ​​​จาก”คณะสงฆ์” มายังกลไก”ฆราวาส”

รัฐกับการแบ่งนิกายของสงฆ์ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

การเคลื่อนไหวของ 84 สนช. เพื่อแก้ไขพรบ.คณะสงฆ์ ในมาตรา 7 ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว
​ไม่ว่าในหมู่ “ฆราวาส” ไม่ว่าในหมู่ “สงฆ์”
​เพราะว่าดำเนินไปใน “สถานการณ์” ที่มีการยกกำลังตำรวจกว่า 5 กองร้อยไปล้อมหน้าประตู 5 และประตู 6 ของวัดพระธรรมกาย
​เหมือนเป็น”คนละเรื่อง” กับการเคลื่อนไหวของ 84 สนช. แต่ก็ดำเนินไปในกระสวน “อย่างเดียวกัน”
​เพราะเป็นเรื่องของ”คณะสงฆ์”
​เพราะว่าบทบัญญัติของ มาตรา 7 สัมพันธ์กับเรื่องการสถาปนา “สมเด็จพระสังฆราช” อย่างแนบแน่น
​ขณะเดียวกัน เนื้อหาใหม่ที่เสนอเข้ามาคือ
​”พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”
​ตรงนี้แหละที่ “สำคัญ”

สำคัญเพราะว่า 1 เท่ากับย้อนกลับไปยังเนื้อหาเดิมของพรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505
​โดยยกเลิกข้อความอันเติมมาในการแก้ไข พ.ศ.2535 ที่ว่า
​พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่งในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชา คณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
​”การเคลื่อนไหว” โดย 84 สนช.จึง “ทรงความหมาย”

ทรงความหมายเพราะหากว่า สนช.”ส่วนใหญ่”เห็นด้วยกับข้อเสนอโดย 84 สนช.จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
​เปลี่ยนแปลงในเรื่อง “ที่มา”
​หากศึกษา พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 จะเห็นในกระบวนการเสนอ 2 ขยัก
​ขยัก 1 เป็น มหาเถรสมาคม
​ขยัก 2 เป็น นายกรัฐมนตรี
​แต่ถ้าเป็นไปตามข้อเสนอโดย 84 สนช.จะทำให้ขยัก 1 หมดสิ้นไป
​เหลือเพียงขยัก 2
​นั่นเท่ากับ “มหาเถรสมาคม”มิได้มีบทบาท หากแต่ “นายกรัฐ มนตรี” คือผู้ที่มีบทบาท
​เท่ากับตัดตอน “คณะสงฆ์” ออกไป
​เท่ากับนำเอา “รัฐบาล” เข้ามาเป็น “กลไก” สำคัญ

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image