ร่าง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการ กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. … ที่พรรคก้าวไกล (ก.ก.) เสนอต่อสภา
ผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 ชุด 9 ร่างกฎหมาย
โดยมีสาระสำคัญ ร่าง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ ดังนี้
1.ประชามติยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค ไม่มีใครตกงาน-เสียประโยชน์
จัดให้มีประชามติภายในปีแรก เพื่อถามประชาชนว่าเห็นชอบหรือไม่ ให้มีการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และโอนถ่ายอำนาจการบริหารจังหวัดไปสู่ท้องถิ่นในทุกจังหวัดภายใน 5 ปี
(หากประชามติได้รับความเห็นชอบจากประชาชน) ยืนยันว่าข้าราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) ทุกคน-ทุกตำแหน่งจะยังคงอยู่ ทุกสิทธิประโยชน์จะยังคงเดิม และทุกความก้าวหน้าจะยังคงมี เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนการทำงาน จากเดิมที่ทำแยกกันภายใต้ผู้ว่าฯ
แต่งตั้ง-อธิบดีกรม-ปลัดกระทรวง เป็นการทำงานร่วมกันภายใต้ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่
2.เลือกตั้งนายกจังหวัด ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
(หากประชามติได้รับความเห็นชอบจากประชาชน) เปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารจังหวัด จากเดิมที่มีผู้บริหารจังหวัด 2 คน (ผู้ว่าฯ ที่มาจากการแต่งตั้ง & นายก อบจ. ที่มาจากการเลือกตั้ง) มามีผู้บริหารจังหวัด 1 คน (“นายกจังหวัด” ที่มาจากการเลือกตั้ง)
(หากประชามติได้รับความเห็นชอบจากประชาชน) แบ่งโครงสร้างการบริหารประเทศเป็น 3 ระดับ ที่ล้วนนำโดย “นายก” ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน : ระดับประเทศ (นายกรัฐมนตรี) / ระดับจังหวัด (นายกจังหวัด) / ระดับเล็กกว่าจังหวัด (นายกเทศมนตรี / นายก อบต. / นายกเขต)
3.เลือกตั้งนายกเขต ทุกเขตใน กทม.
เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารเขตทุกเขตใน กทม. ให้มี “นายกเขต” ที่มาจากการเลือกตั้ง ลักษณะเดียวกับ นายก อบต. หรือนายกเทศมนตรี ในระดับ อบต. หรือเทศบาล (ซึ่งมีประชากรน้อยกว่าเขตใน กทม.)
เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารเขตทุกเขตใน กทม. ให้มี “สภาเขต” ที่มาจากการเลือกตั้ง ลักษณะเดียวกับ สภา อบต. หรือสภาเทศบาล ในระดับ อบต. หรือเทศบาล (ซึ่งมีประชากรน้อยกว่าเขตใน กทม.)
ปรับบทบาทของ ผอ.เขต ที่มาจากการแต่งตั้ง
ให้ทำหน้าที่เป็น “ปลัดเขต” ลักษณะเดียวกันกับปลัด อบต. หรือปลัดเทศบาล ในระดับ อบต. หรือเทศบาล
4.ข้าราชการทุกสังกัด ศักดิ์และสิทธิเท่ากัน โยกย้ายก้าวหน้าได้
ออกแบบระบบราชการเพื่อรองรับการกระจาย อำนาจ ที่จะนำมาสู่สัดส่วนข้าราชการท้องถิ่นที่สูงขึ้น
รับประกันว่าข้าราชการทุกสังกัด-ไม่ว่าส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่น-ได้รับสิทธิประโยชน์และความก้าวหน้าทางอาชีพ ที่ทัดเทียมกัน
สร้างกลไกโยกย้ายระหว่างท้องถิ่นด้วยกันเอง หรือระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลาง ที่สะดวกและรองรับความก้าวหน้าทางอาชีพของข้าราชการ
เพิ่มอำนาจท้องถิ่นในการบริหารบุคลากร ตั้งแต่อำนาจการคัดเลือกบุคลากรให้ท้องถิ่น และอิสระของแต่ละท้องถิ่นในการออกแบบกองตามภารกิจที่จำเป็นของท้องถิ่นนั้นๆ
ปลดล็อกข้อจำกัดปัจจุบัน ที่กำหนดให้งบบุคลากรของท้องถิ่นต้องไม่เกิน 40% ของงบท้องถิ่น
ทั้งหมด เพื่อรองรับจำนวนบุคลากรที่จะเพิ่มขึ้น ตามภารกิจที่ถูกโอนถ่ายมาให้ท้องถิ่นมากขึ้น
พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย
อำนาจฯ พ.ศ.2542 กำหนดเป้าหมายให้ อปท.มีรายได้เพิ่มขึ้น คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลไม่น้อยกว่า 35% แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาเป้าหมาย ทำให้ขาดสภาพบังคับ ส่วนกลางไม่ได้ขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ผ่านมา 20 ปี สัดส่วนนี้จึงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 29% แถมในจำนวนนี้ ประมาณ 1 ใน 5 ยังเป็นงบฝาก ที่ท้องถิ่นไม่มีอิสระในการตัดสินใจ เป็นแต่เพียงการใช้จ่ายตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดมา (เช่น เบี้ยผู้สูงอายุ)
การที่สัดส่วนรายได้ของท้องถิ่นยังไม่ถึงเป้า แถมระยะเวลาที่กำหนดให้ต้องเดินไปถึงเป้าก็เลื่อนลอย ส่งผลให้ท้องถิ่นขาดอิสรภาพทางการเงิน ต้องพึ่งพาเงินจากส่วนกลางเป็นหลัก ไม่สามารถหารายได้จากทางอื่นเนื่องจากกฎหมายไม่เปิดช่อง กลายเป็นข้อจำกัดในการจัดทำบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ต่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นนั้นจะมีวิสัยทัศน์หรือความรู้ความสามารถมากแค่ไหนก็ตาม
พรรคก้าวไกลต้องการให้ทุกจังหวัดมีงบประมาณเพียงพอในการดูแลประชาชน พัฒนาจังหวัด และแข่งขันกันพัฒนาพื้นที่ จึงเสนอให้
1.เพิ่มงบจังหวัดจัดการตนเองที่ท้องถิ่นตัดสินได้เองว่าจะใช้ทำอะไร โดยหลักเกณฑ์ดังนี้
เพิ่มงบจังหวัดจัดการตนเอง โดยให้สัดส่วน
รายได้ท้องถิ่นต่อรัฐบาลส่วนกลางเพิ่มทุกปี ปีละ 2%
ในปีที่ 4 ของรัฐบาลก้าวไกล (เมื่อเทียบกับปัจจุบัน)
งบของทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ จะเพิ่มขึ้นรวมกัน 200,000 ล้านบาท
งบของ อบจ. จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 250 ล้านบาท
ต่อจังหวัด
งบของเทศบาลนคร-เทศบาลเมือง จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 100 ล้านบาทต่อเมือง
งบของเทศบาลตำบล-อบต. จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 20 ล้านบาทต่อตำบล
งบของ กทม. จะเพิ่มขึ้น 3,300 ล้านบาท
งบของพัทยา จะเพิ่มขึ้น 50 ล้านบาท
เงินอุดหนุนท้องถิ่น จะต้องไม่กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อให้ท้องถิ่นตัดสินใจได้เองว่าจะใช้ทำอะไร
2.ปลดล็อกให้ท้องถิ่นมีอำนาจหารายได้ผ่านช่องทางใหม่ (เช่น กู้เงิน ออกพันธบัตร ร่วมทุนเอกชน ตั้งสหการ สร้างวิสาหกิจท้องถิ่นเอง)
3.ปรับสูตรในการคำนวณเงินอุดหนุน ท้องถิ่นแต่ละแห่งให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่ โดยคำนึงถึงสภาพทางเศรษฐกิจและศักยภาพในการหารายได้ของแต่ละพื้นที่