เดินหน้าชน : ‘ส่งเสริมการอ่าน’

รัฐบาลเศรษฐา 1 แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ถูกวิจารณ์หนักว่าไม่ตรงปก 

ไม่เหมือนตอนหาเสียงรับปากเป็นมั่นเป็นเหมาะกับประชาชนก่อนเลือกตั้ง 14 ..66

มีนโยบายประชานิยมมากมาย พรรคเพื่อไทยเคยประกาศไว้ ทั้งเวทีดีเบต หรือเวทีปราศรัยตอนหาเสียง

แต่ไม่เห็นมีในถ้อยแถลงและเอกสารรายละเอียด เหมือนที่เคยรับปาก

Advertisement

รัฐบาลเพื่อไทยคงต้องเร่งมือสร้างผลงาน เพื่อให้ประชาชนได้เห็นฝีมือ เหมือนในอดีตเคยโชว์ให้เห็นมาแล้วในรัฐบาลไทยรักไทย

ส่วนใหญ่นโยบายรัฐบาลเศรษฐา 1 ยังคงเน้นภาพรวมคล้ายพรรคไทยรักไทยในอดีต

เน้นเร่งแก้เรื่องปากท้อง เป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศ กำลังรุมเร้าประชาชนหลายด้าน

Advertisement

แต่ยังมีนโยบายน่าสนใจ ด้านการพัฒนาศักยภาพคน เพื่อพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน

นโยบายที่น่าจับตาอย่างยิ่งคือ นโยบายด้านการศึกษา 

รัฐบาลเศรษฐา 1 ระบุในนโยบายไว้ว่า

จะดำเนินนโยบายปฏิรูปการศึกษา และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งส่งเสริมให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนตามความถนัด ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างอนาคต สร้างรายได้

แม้ว่าจะไม่ใช่นโยบายเร่งด่วน แต่ถือว่าเป็นนโยบายสำคัญน่าจับตาดู เพราะเป็นการวางรากฐานประเทศอย่างยั่งยืน

เป็นที่ทราบกันดีว่า การอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นรากฐานของการพัฒนาคนได้อย่างชัดเจนและเห็นผลชัดเจนยิ่ง

โดยเฉพาะหากปลูกฝังตั้งแต่เด็ก และสนับสนุนให้การอ่านและการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ไปสู่ประชาชนทั่วประเทศอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

ยิ่งมีข้อมูลสถิติบ่งชี้ว่าเด็กไทยอ่านหนังสือน้อย ก็จำเป็นต้องยิ่งเร่งส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้มากขึ้น 

เพราะนั่นหมายถึงอนาคตของชาติจะไปทิศทางไหน

.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มีข้อเสนอแนะถึงรัฐบาลควรมีแนวทางส่งเสริมการอ่านว่า 

ปัจจุบันการอ่าน อาจเป็นวิถีชีวิตคนไทยไม่ค่อยคุ้นเคย เคยมีสถิติว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อย แต่ความจริงแล้วถ้าเราสร้างให้เด็กและเยาวชนเกิดความอยากเรียนรู้ ส่วนตัวยังเชื่อมั่นว่าคนส่วนใหญ่อยากเข้าถึงความรู้ ไม่ว่าจะผ่านการอ่าน การดู หรือการฟัง

ดังนั้น การอ่านมีความสำคัญ ควรส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนรุ่นใหม่เข้าใจว่าเนื้อหาความรู้ ทั้งสาระและความบันเทิง มีความจำเป็นอย่างไรบ้าง ทำให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว 

แต่ทุกวันนี้ไม่ค่อยรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเท่าไร เพราะให้เวลากับการอ่านวิเคราะห์ข้อมูลน้อย ไม่เห็นคุณค่าการอ่าน เพราะมีข้อมูลตัดตอนสื่อสารรวดเร็ว แต่ความรวดเร็วการใช้ข้อมูลเหล่านี้ มีทั้งข้อดีและเสีย ทักษะการอ่าน จะช่วยเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ได้มาก ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่สังคมไทยยังขาด

ดังนั้น นโยบายส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ารัฐบาลเศรษฐา 1 ที่มีเสียงสนับสนุนจากบรรดาภาคธุรกิจมากมาย

จะเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ได้แค่ไหน 

และมีมุขอะไรใหม่ๆ เพื่อให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

สุรพล สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image