บรรยากาศของการเคลื่อนไหวของ “ชาวสวนยาง” อันกระหึ่มขึ้นในห้วงกลางเดือนมก ราคม ได้ “สงบ” ลงแล้วโดยพื้นฐาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ภาคใต้”
พลันที่มติของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาอันมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานมีผลสรุปออกมา
1 กำหนดวงเงินงบประมาณ 12,000 ล้านบาท 1 กำหนดเป้าหมายราคาในการรับซื้อยางดิบจาก 30 บาทเศษๆไปอยู่ที่ราคา 45 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม
ปรากฏเสียง “เฮ” ดังขึ้น “กึกก้อง”
ไม่ว่าจะเป็นที่สุราษฎร์ธานี ไม่ว่าจะเป็นที่นครศรีธรรมราช ไม่ว่าจะเป็นที่กระบี่ ไม่ว่าจะเป็นที่ตรัง ไม่ว่าจะเป็นที่พังงา ไม่ว่าจะเป็นที่สตูล ไม่ว่าจะเป็นสงขลา ไม่ว่าจะเป็นที่ภูเก็ต
ล้วน “พอใจ” ส่งเสียง “ขานรับ”
แม้ว่าเป้าหมายเดิมที่กำหนดเอาไว้อย่างค่อนข้างเป็นเอกภาพว่าน่าจะอยู่ที่ราคา 60 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม
แม้ได้เพียง 45 บาทก็”ขานรับ” ก็”พอใจ”
ไม่มีเสียงเอะอะโวยวายดังมาจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขณะที่ นายถาวร เสนเนียม เงียบกริบ
เหมือนกับ “ชนะ” เหมือนกับ “สำเร็จ” เป็นความสำเร็จโดยน้ำใจไมตรีจาก “รัฐบาลพวกเรา” เป็นความสำเร็จโดยน้ำใจไมตรีจาก “รัฐบาลของเรา”
เป็นเช่นนั้น จริงละหรือ
พลันที่มติของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคายางประกาศออกมา พลันที่บรรดาเกษตรกรชาวสวนยางแสดงความเห็นด้วย
ภาระทั้งหมดจึงอยู่ที่ “รัฐบาล”
แม้ในเบื้องต้น พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสห กรณ์ อาจจะท้อแท้
“น้อยใจ”
แต่เมื่อได้เห็น “มติ” แต่เมื่อได้รับคำปลอบประโลมจาก “นายกรัฐมนตรี” ซึ่งร่วมทำ “รัฐประหาร” มาด้วยกัน
1 ไม่มีวัน “ปลด” ออกจากตำแหน่ง1 ผมจะแต่งตั้งให้ควบตำแหน่ง “รองนายกรัฐมนตรี” อีกตำแหน่งหนึ่งด้วยซ้ำไป
ทุกอย่างก็ “เรียบโร้ย”
ยิ่งกว่านั้น หน่วยงาน “หลัก” ที่ดำเนินการในการรับซื้อก็มิใช่ “อคส.” ซึ่งขึ้นต่อกระทรวงพาณิชย์
หากแต่เป็น “กยท.”
นั่นก็คือ การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและแนบแน่นอยู่กับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทุกอย่างจึง “ฉลุย” อย่างชนิดลุยลาย
แต่คำถามที่เสนอเข้ามาก็คือ ในเบื้องต้นจะเอาเงินมาจากไหน เพราะร้อยละ 10 หากเอามาจาก “เซส” อันเป็นค่าธรรมเนียมจากการส่งออกยาง
ก็ได้มาแค่ 3,000 ล้านบาทเท่านั้น
ตามเป้าหมายเดิมเงินที่ใช้ในการ “ซ้อนำราคา” จะต้องเป็น 12,000 ล้านบาท จึงเท่ากับยังขาดอีก 9,000 ล้านบาท
ตรงนี้แหละที่ “ธ.ก.ส.”และ”ออมสิน” เริ่มเนื้อหอม
เมื่อเป็นความริเริ่มอันมาจาก “คสช.” เสียอย่าง ทุกอย่างก็ย่อมจะราบรื่นเหมือนยืนอยู่บนเนินเขา
จะติดข้องและอาจกลายเป็นปัญหาอยู่บ้าง
ก็เพียงแต่ว่าจำนวน 100,000 ตันซึ่งเป็นเป้าหมายในการซื้อ”นำราคา”น้อยนิดอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับปริมาณยาง 3-4 ล้านตัน
นั่นก็คือ เสมอเป็นเพียง 0.1 ล้านตันเท่านั้นเอง
คำถามที่สำคัญยิ่งกว่านั้นยังเป็น หากว่ามาตรการซื้อ”นำราคา”ประสบปัญหาเหมือนกับมาตรการ”มูลภัณฑ์กันชน” 6,000 ล้านบาท
ใครจะเป็นคน”รับผิดชอบ”