รายงานพิเศษ – ใครเป็นใคร? ‘โรลส์-รอยซ์’-‘สายเคเบิล’

ในเอกสารคำให้การโรลส์-รอยซ์ ระบุว่า นอกจากพนักงานของ 2 รัฐวิสาหกิจดังกล่าว ยังมีคนในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสมัยนั้นเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ถึงขนาดที่คนกลางเจรจาเรื่องสินบนเคยไปทานข้าวกับระดับรัฐมนตรีมาแล้วด้วย

จึงเป็นที่มาของการสืบค้นว่าเจ้าหน้าที่ในสมัยนั้นและคนในรัฐบาลมีใครบ้าง รายชื่อยาวเหยียดเรียงหน้ากระดานดังต่อไปนี้

ข่าวคราวของ “โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบน” สั่นสะเทือนไปทั่วโลก วงการจัดซื้อ-จัดจ้างของประเทศไทยก็สั่นสะท้านไปทั้งระนาบ ดูเหมือนจะบานปลายลามไปยังรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ล่าสุดยังเกิดประเด็นใหม่ บริษัท เจเนอรัล เคเบิล คอร์ปอเรชั่น ยอมรับกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐว่า จ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐในหลายประเทศ รวมถึงหน่วยงานรัฐของไทย ที่ถูกระบุชื่อคือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

เป็น 3 รัฐวิสาหกิจที่ดูแลเรื่องไฟ น้ำ และบริการโทรคมนาคมของคนไทยทั้งประเทศ

Advertisement

สำหรับสินบนโรลส์-รอยซ์ จากเอกสารของสำนักงานปราบปรามการทุจริตของสหราชอาณาจักร (UK Serious Fraud Office: SFO) ระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยรับสินบนการจัดซื้อเครื่องยนต์ระหว่างปี 2534-2548 รวมทั้งสิ้น 36.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยขณะนี้สูงกว่า 1,200 ล้านบาท

การรับสินบน แบ่งเป็น 3 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงปี 2534-2535 จ่ายเป็นค่านายหน้าให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยเป็นเงิน 18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปี 2535-2540 จ่ายให้เจ้าหน้าที่ของการบินไทย 10.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วงปี 2547-2548 จ่ายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และพนักงานของการบินไทย 7.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนั้นในการการสอบสวนของสหรัฐ พบว่า โรลส์-รอยซ์ และ โรลส์-รอยซ์ เอ็นเนอร์จี ซิสเต็ม จ่ายสินบนให้กับการจัดซื้อเครื่องยนต์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในช่วงปี 2543-2556 มากกว่า 11 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินในขณะนี้ 385 ล้านบาท

Advertisement

ในเอกสารคำให้การโรลส์-รอยซ์ ระบุว่า นอกจากพนักงานของ 2 รัฐวิสาหกิจดังกล่าว ยังมีคนในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสมัยนั้นเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ถึงขนาดที่คนกลางเจรจาเรื่องสินบนเคยไปทานข้าวกับระดับรัฐมนตรีมาแล้วด้วย

โลโก้การบินไทย2

ใครเป็นใคร ใครรับหน้าที่หรือตำแหน่งไหนในช่วงนั้นจึงเป็นเรื่องน่าสนใจ

แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ ใครที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องฉาว ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องตรวจสอบและสอบสวน

เริ่มที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บุคคลที่ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การบินไทย พล.อ.อ.วีระ กิจจาทร ดีดีการบินไทย ปี 2531-2535 พล.อ.เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ.เป็นประธานบอร์ด ปี 2532-2535 ฉัตรชัย บุญยะอนันต์ เป็นดีดีการบินไทยปี 2535-2536 โดยมี พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ ผบ.ทอ.เป็นประธานบอร์ด

สำหรับปี 2536-2543 ธรรมนูญ หวั่งหลี เป็นดีดีการบินไทย มี พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ เป็นประธานบอร์ดการบินไทยตั้งแต่ปี 2536-2539 จากนั้นปรับเปลี่ยนบอร์ดใหม่ มหิดล จันทรางกูร ปลัดกระทรวงคมนาคมมาดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดการบินไทย ช่วงธันวาคม 2539-พฤศจิกายน 2543

กนก อภิรดี เป็นดีดีปี 2545-2549 ด้าน ทนง พิทยะ เป็นประธานบอร์ด มิถุนายน 2545-มีนาคม 2548 วันชัย ศารทูลทัต ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานบอร์ด มีนาคม 2548-พฤศจิกายน 2549

59

สำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในช่วงดังกล่าว ประกอบด้วย สมัคร สุนทรเวช 9 ธันวาคม 2533-23 กุมภาพันธ์ 2534 นายนุกูล ประจวบเหมาะ 2 มีนาคม 2534-22 มีนาคม 2535 บรรหาร ศิลปะอาชา 7 เมษายน-9 มิถุนายน 2535 นุกูล ประจวบเหมาะ 10 มิถุนายน-22 กันยายน 2535 พ.อ.วินัย สมพงษ์ 23 กันยายน 2535-25 ตุลาคม 2537 วิชิต

สุรพงษ์ชัย 25 ตุลาคม 2537-19 พฤษภาคม 2538 วันมูหะมัดนอร์ มะทา 13 กรกฎาคม 2538-24 พฤศจิกายน 2539 สุวัจน์ ลิปตพัลลภ 25 พฤศจิกายน 2539-8 พฤศจิกายน 2540

สุเทพ เทือกสุบรรณ 14 พฤศจิกายน 2540-9 พฤศจิกายน 2543 สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 3 ตุลาคม 2545-2 สิงหาคม 2548

กรณีของ ปตท. เป็นเครื่องยนต์เกี่ยวข้องกับการสร้างพวกแท่นขุดเจาะ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โดยช่วงปี 2543-2556 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ซีอีโอ) คาบเกี่ยว 3 คน ได้แก่ วิเศษ จูภิบาล ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ และ ไพรินทร์ ชูโชติถาวร

หลายคนได้ให้สัมภาษณ์แล้วว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับขบวนการรับสินบน ได้แก่ ทนง พิทยะ อดีตประธานกรรมการบริษัทการบินไทย ระบุว่า จากการตรวจสอบเครื่องที่โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบน เป็นเครื่องยนต์ ที-800 ในเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 777 ในสมัยที่เป็นประธานบอร์ดการบินไทย ไม่เคยอนุมัติจัดซื้อเครื่องบินรุ่นดังกล่าวแม้แต่ลำเดียว แต่พบว่ามีการจัดซื้อก่อนที่จะมารับตำแหน่ง

อีกคนคือ กนก อภิรดี ได้ส่งไลน์ให้กลุ่มเพื่อนที่อบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) ยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า

“หากเพื่อนคนนี้ของท่านได้ประพฤติเยี่ยงโจรในมหากาพย์โรลส์-รอยซ์นี้ ไม่ว่าจะมากจะน้อยเพียงใด ก็อย่าให้มีความเป็นเพื่อนหลงเหลืออยู่ เเละจงลงโทษมันผู้นี้ด้วยโทษที่สูงสุดเท่าที่กฎหมายจะหยิบยื่นให้ได้โดยไม่ต้องลังเลเเต่อย่างใดครับ”

โลโก้ปตท.

ด้าน วิเศษ จูภิบาล อดีตผู้ว่าการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ออกมาระบุว่า ไม่ทราบเรื่องของการติดสินบน ปกติการก่อสร้างโรงแยกก๊าซ ปตท.จะไม่ได้ซื้อสินค้าโดยตรง เป็นการจ้างรับเหมาเสนอราคาประมูล หากรายใดราคาต่ำสุดก็จะชนะประมูล ดังนั้น ชิ้นส่วน อุปกรณ์ หรือเครื่องยนต์เป็นเรื่องที่ผู้ประมูลจัดหามาเอง เหมือนการสร้างบ้านที่จ้างผู้รับเหมามา แต่เจ้าของบ้านกำหนดราคาและสเปก

สำหรับทีโอที หน่วยงานที่ถูกอ้างชื่อว่าพัวพันกับการรับสินบนในช่วงปี 2555 นั้น เป็นช่วงที่พันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) มนต์ชัย หนูสง ทำหน้าที่รักษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ก่อนที่ในเดือนพฤศจิกายน 2555 อุดม พัวสกุล จะเป็นประธานบอร์ด ทีโอที แทนพันธ์เทพ และในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 บอร์ดทีโอทีมีมติแต่ตั้งยงยุทธ วัฒนสินธุ์ ทำหน้าที่ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที

ขณะเดียวกันประเด็นเรื่องการจ่ายเงินสินบนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ล่าสุด เว็บไซต์กระทรวงยุติธรรม สหรัฐอเมริกา แจ้งถึงการจ่ายค่าปรับจำนวนมากกว่า 20 ล้านดอลลาร์ของบริษัท เจเนอรัล เคเบิลฯ ผู้ผลิต

และจำหน่ายสายเคเบิลและสายไฟฟ้าจากรัฐเคนทักกี เพื่อยุติการสอบสวนดำเนินคดีกับบริษัทฐานติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐในหลายประเทศทั้งเอเชียและแอฟริการวมถึงประเทศไทยด้วย ในช่วงปี 2555-2556

ประเด็นเรื่องเงินสินบนของบริษัท เจเนอรัลฯ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมีการพาดพิงถึงรัฐวิสาหกิจไทย 3 แห่ง ได้แก่ กฟภ. กฟน. และทีโอที

ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง นายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการ กฟภ.ได้สั่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยมีรองผู้ว่า กฟภ.เป็นหัวหน้าทีม นอกจากนี้ยังมีบุคคลภายนอกจากกระทรวงยุติธรรมเข้าร่วมเป็นกรรมการโดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงาน ซึ่ง กฟภ.จะตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน และนำเสนอชี้แจงให้สังคมทราบต่อไป

ขณะที่ นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการ กฟน.ได้สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันตามระเบียบของ กฟน. โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน

ผลการสอบสวนข้อเท็จจริงจะได้ข้อสรุปออกมาอย่างไร ต้องติดตามกันต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image