“วิษณุ” คาดอีก 1 ปี เลือกตั้งใหม่ เผยร่างรัฐธรรมนูญใกล้เสร็จแล้ว

“วิษณุ” ชี้ เวทีโลกเปลี่ยน จะกอดอธิปไตย ทำตัวเป็นเจ้าของไม่ได้ ต้องปรับเปลี่ยน ยกปฏิรูป สำเร็จได้ต้องมี 3 P ชี้ต้องเร่งแก้ 5เรื่องสำคัญเริ่มจากกฎหมาย เผยสิทธิบัตรหมื่นรายถูกดองเหตุรวมศูนย์อำนาจ

เมื่อเวลา 19.00 น. ที่โรงแรมซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลลาดพร้าว นายวิษณุ เครืองาม รองนากยรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ปฏิรูปกฎหมาย บริบทประเทศไทยบนเวทีโลก” ว่า ในบริบทนี้หากพูดถึงโลก โลกเราไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ เวทีโลก ตัวอย่างเช่น ในอดีต เราพูดคำว่าอธิปไตย ดูจริงจังเหลือเกิน จะให้ใครล่วงเกินไม่ได้ ไม่ยอมให้ใครเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ แต่ในวันนี้ใครห่วง กอดเอาไว้เป็นเจ้าเข้าเจ้าของ คนอื่นล่วงเกินไม่ได้อยู่ไม่ได้แล้ว เพราะเวทีโลกพูดเรื่องนี้น้อยลง แต่พูดเรื่องโลกไร้พรหมแดนมากขึ้น โดยเห็นได้จากเวทีโลกวันนี้พูดเรื่องการร่วมกันในภูมิภาค ซึ่งทุกประเทศต้องยอมเสียสละอธิปไตยบางส่วน และให้ประเทศอื่นเข้ามาบ้าง อย่างการก่อตั้ง AEC FTA ดังนั้นคนที่เคยชินกับอำนาจอธิปไตยนั้นทำใจยอมรับสิ่งที่ไร้พรหมแดน ความร่วมมือระหว่างประเทศไม่ได้

นายวิษณุ กล่าวว่า เวทีโลกในอดีตพูดเรื่องโลกภิวัฒน์ เสือตัวที่ห้า แต่เวทีโลกวันนี้พูดเรื่อง 4.0 อะไรต่ออะไรเป็น 4.0 หมดแล้ว เวทีโลกในอดีตพูดเรื่องความเป็นธรรมยิ่งใหญ่ และวันนี้เวทีโลกพูดเรื่องสิทธิมนนุษยชน หลักธรรมาภิบาล ในอดีตไม่มีใครรู้จักหรือไม่ให้ความสำคัญ ดังนั้นบริบทเวทีโลกล่วงไปแล้ว ใครก็ตามมีชีวิตอยู่บนโลกขณะนี้ต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงไม่งั้นอยู่ไม่ได้ ไม่ว่าเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง การต่างประเทศ ก็ต้องปรับเปลี่ยนหมด คำพูดที่เคยพูดมีความหมายมากขึ้น และ “You must change before you are changed หรือ คุณต้องเปลี่ยนก่อนถูกจับเปลี่ยน” โดยเปลี่ยนในที่นี้อาจจะแปลว่าปรับเปลี่ยนธรรมดา แต่มีอีกคำที่ใกล้เคียงกับปรับเปลี่ยน แต่บริบทไปไกลมาก คือ คำว่าปฏิรูป หรือภาษาอังกฤษ เรียก Reform จะแปลว่าเปลี่ยนก็ได้ แต่ไม่ใช่การเปลี่ยนอย่างความคิด เมนู รสนิยม แต่ไปไกลกว่านั้น หมายถึงการเปลี่ยนทั้งระบบ วิธีคิด การชักจูงให้คนอื่นคล้อยตาม ตั้งเป้า และพากันไปให้ถึงฝั่งเหมือนกัน หากทำเช่นนี้ เรียกว่าการปฏิรูป

การปฏิรูปจะสำเร็จได้ต้องประกอบด้วย 3 P คือ Purpose คือ ต้องมีวัตถุประสงค์ อีกตัวคือ Performer หรือ Planner ผู้นำทางการขับเคลื่อน จะให้ใครมาเป็นตัวขับเคลื่อนเพราะต้องมีการกดปุ่มสั่งการ นัดแนะไปเป็นขบวนการ และ ตัวสุดท้าย คือ Process หรือกระบวนการการปฏิรูป ต้องรู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง และเมื่อมีคนไม่เข้าใจหรือขัดขวางทำอย่างไร โดยทั้งหมดนี้ต้องมีไม่งั้นไม่เรียกปฏิรูปแต่เรียกการเปลี่ยนแปลง

Advertisement

“บนเวทีโลกวันนี้ไม่มีใครเรียกร้องให้เปลี่ยน ใครใคร่เปลี่ยนเปลี่ยนไป แต่เวทีโลกแคบขึ้น เราต้องการปฏิรูปอย่าง2 – 3 ปีก่อน มีการออกมาเดินถนนเรียกร้องการปฏิรูป ต่อมาเมื่อมีการเลือกตั้ง ก็เถียงกันจะปฏิรูปก่อนเลือกตั้งหรือเลือกตั้งก่อนการปฏิรูป และเมื่อโอบาม่าขึ้นมาชนะเลือกตั้งด้วยคำว่า Change ซึ่งไม่ใช่แค่เปลี่ยนแต่ขยายความถึง Reform ดังน้นการปฏิรูปเป็นสิ่งที่เรียกร้องทั่วไป ต้องการเปลี่ยนแปลงตอบโจทย์ เปลี่ยนโดยการมีกลไกขับเคลื่อน แต่ก็ต้องเข้าใจอะไรยุ่ง ทำยากต้องต่อสู้ความไม่เคยชินของคนอื่น” นายวิษณุกล่าว

นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องที่จะต้องเร่งแก้ปัญหา มี 5 เรื่องใหญ่ คือ การแก้ปัญการความเลื่อมล้ำ การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจรวมทั้งเศรษฐกิจ กฎเกณฑ์ในการติดต่อราชการ รวมทั้งการปฏิบัติตามพันธะสัญญาต่างๆในเวทีโลกที่ไทยมีข้อตกลงไว้ ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องปฏิรูปกฎหมาย ที่จะเป็นการวางรากฐานเพื่อก้าวสู่บันไดขั้นต่อไป ขณะนี้ที่รัฐบาลพยายามทำแต่ยังไม่สะใจและไม่เต็มที่ แม้ว่ารัฐบาลจะเข้ามา 2 ปีครึ่งแล้ว ได้ออกกฎหมายไปแล้ว 213 ฉบับ ซึ่งช่วง 7 ปีก่อนที่รัฐบาลจะเข้ามามีการกฎหมายไปเพียง 120 ฉบับ ที่รัฐบาลนี้ทำได้มากเพราะสถาการณ์เอื้ออำนวยกว่าช่วงก่อน เพราะช่วงก่อนนั้นไม่มีใครกล้าเสนอกฎหมายเข้าสภา เพราะเกรงว่าจะถูกตีตก

“ร่างรัฐธรรมนูญเวลานี้มีการขอทูลเกล้าฯขอกลับมาพิจารณาใหม่เพื่อปรับแก้ไม่กี่มาตรา ซึ่งคาดจะทูลเกล้าฯถวายก่อน 18 กุมภาพันธ์แน่นอนเพราะเกือบเสร็จแล้ว ซึ่งหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายเรื่อง คือจะต้องทำเรื่องนั้นเรื่องนั้นเรื่องนี้ ให้เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนการเลือกตั้งนั้นคงจะไม่เกิดขึ้นเร็วๆนี้อย่างน้อยก็ใช้เวลาอีกหนึ่งปี และมาตรา 77 กำหนดว่าทันทีที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นในทุกขั้นตอนหากไม่ทำจะมีความผิด อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรา 44 ไม่ใช่มาตรการที่ยั่งยืน ทุกครั้งที่ใช้จะให้แต่ละหน่วยงานเสนอกฎหมายเข้าสภา เพราะสภามีหลายหูหลายตาช่วยให้รอบคอบ มาตรา 44 เป็นแค่กาปฐมพยาบาล แต่ถ้าคุณจะผ่าตัดต้องเข้าโรงพยาบาลคือสภา แต่ถ้าไม่ทันอย่างนั้น วันที่คสช.กลับบ้าน เขาจะออกมาตรา 44 ให่ม่เลิกคำสั่งคสช.ทั้งหมด และมาตรการจะหายไปทั้งหมดถ้าไม่มีมาตรการอะไรมารองรับ ซึ่งส่วนราชการเข้าใจและตกลงกันทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เรียกว่ากระบวนการปฏิรูป”นายวิษณุกล่าว

Advertisement

นายวิษณุกล่าวด้วยว่าจากที่ได้ร่วมประชุมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทางอธิบดีรายงานว่า มีคนมายื่นเรื่องขอจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา มีรายชื่อค้างอยู่ 2 หมื่นราย จำนวนนี้ 1.2 หมื่นราย มายื่นมาขอตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน แต่ที่ทำไม่ได้เพราะเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ จะให้อำนาจคนอื่นไปทำก็ทำไม่ได้เพราะติดกฎหมาย ดังนั้นจึงต้องมีการแก้ไข เช่นเดียวกับ อย. ที่มีคนมาขออนุญาติด้านเครื่องสำอาง อาหาร จำนวนมากแต่ก็ทำไม่ได้ ซึ่งล่าสุดได้ใช้ มาตรา 44 ในการดำเนินการไปแล้ว ซึ่งเรื่องคอขาดบาดตายใช้รัฐบาลจะดำเนินการโดยใช้ มาตรา 44 ไปก่อน แต่มาตรการ 44 แค่การปฐมพยาบาลเท่านั้น หากจะผ่าตัดต้องเข้าสภา ดังนั้นก็ต้องเสนอกฎหมายตามกระบวนการ เพราะวันที่รัฐบาลเลือกตั้งมาเขาก็จะเขียนมาตรา 44 ใหม่มารื้อกฎหมายที่ออกไปได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image