09.00 INDEX ภาพจาก 200 สมาชิก วุฒิสภา สะท้อนถึง เลือกตั้งทั่วไป 2570
การได้รับเลือกด้วยคะแนนอันท่วมท้น ไม่ว่าของ นายมงคล สุระสัจจะ ไม่ว่าของ พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ ไม่ว่าของ นายบุญส่ง น้อยโสภณ ในตำแหน่งประธาน รองประธานวุฒิสภา
คือรูปธรรมในการยืนยันความเป็นจริงแห่ง “อำนาจ” ทางการ เมืองที่ดำรงอยู่ใน “วุฒิสภา”
แม้มิได้เป็นอำนาจ “เบ็ดเสร็จ” แต่ก็ “ใกล้เคียง” อย่างยิ่ง
นี่คือขนบและความเชื่อในทางการเมืองอย่างน้อยก็ถือว่าเป็นการพัฒนาแม้จะน้อยนิดเมื่อเทียบกับอดีตในยุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
กระนั้น ก็ต้องถือว่าฝ่ายที่ “กุมอำนาจ” อยู่ในมือกำชัยมาจาก
โครงสร้างของ “การเลือก” ที่แม้จะกำหนดโดยมีรากฐานความคิดมาจากกระบวนการ “รัฐประหาร” แต่ก็ยอมรับในความสามารถใน การบริหารจัดการ
อาจก่อให้เกิดความหดหู่หากมองจากด้านของกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “ส.ว.พันธุ์ใหม่” แต่นี่คือความเป็นจริง และความเป็นจริงในกระสวนเช่นนี้กำลังดำรงอยู่อย่างเป็น “บรรทัดฐาน” เตือนความคิดการเมือง “ก่อน” รัฐประหาร
หากประสบเด่นชัดในกระบวนการเลือกตั้งในอนาคตอันใกล้
ต้องยอมรับว่าสภาพความเป็น “สมัยใหม่” ในทางการเมืองของสัง คมไทยมิได้เป็นไปอย่าง “อารยะ” ตามธรรมนิยมของประชาธิปไตย อย่างเคร่งครัด
แต่สภาพเช่นนี้ก็รับรู้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และเด่นชัดยิ่งในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 นี้
กระนั้น การไม่ยอมจำนนของบางพรรคการเมืองก็สร้างโอกาสให้กับพรรคไทยรักไทย
การไม่ยอมจำนนของบางพรรคการเมืองก็สร้างโอกาสให้กับพรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล
เมื่อเผชิญกับการสกัดอย่างสำคัญจากรัฐประหาร 2 ครั้ง อาจมีการปรับ “ยุทธวิธี” โดยเฉพาะของพรรคเพื่อไทย ขณะที่พรรคก้าวไกลก็ยังยืนหยัดใน “ยุทธศาสตร์” ของตน
สถานการณ์ “การเลือก” 200 สมาชิกวุฒิสภาคือตัวอย่างบนเส้นทางการต่อสู้ก่อนเข้าสู่พื้นที่ท้องถิ่นและการเลือกระดับชาติ
สมรภูมิหลังเดือนพฤษภาคม 2570 จึงแหลมคมอย่างยิ่งยวด
ภาพที่เห็นในปัจจุบันก่อให้เกิด 2 แนวรบทางการเมือง 1 พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย 1 พรรคก้าวไกล
พรรคการเมือง “อื่น” ล้วนดำรงอยู่ ดำเนินในบท “ประกอบ”
ไม่ว่า พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย ที่อยู่ในฐานะเป็นรัฐบาล จึงเล่นบทในการบริหาร พรรคก้าวไกล ที่อยู่ในฐานะเป็นฝ่ายค้าน จึงเล่นบทในการตรวจสอบ ควบคุม
อาจมีสถานการณ์แทรกซ้อนเกิดขึ้นในสองรายทาง
แต่มั่นใจได้ว่าทิศทางใหญ่การเมืองไม่น่าจะพ้นการต่อสู้ 2 แนวรบนี้