09.00 INDEX ยิ่งเคลื่อนไหว ‘ประชามติ’ยิ่งตีบตัน อ่านผ่าน ข้อเสนอ 16 ข้อของ’ครม.’

ต้องยอมรับ “ท่าที” อันมาจาก “กรธ.” หรือ “คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ”ผ่าน “บท เฉพาะกาล”

สะท้อน “ความจริงใจ”

ขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับ “ท่าที” อันมาจาก “ครม.” หรือ “คณะรัฐมนตรี”จำนวน 16 ข้อ

สะท้อน “ความจริงใจ”

Advertisement

ไม่ว่าจะเป็นการคงอำนาจแห่ง “มาตรา 44” ให้อยู่ในมือของ “หัวหน้าคสช.” หรือ “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ”

เพื่อ “ถ่วงดุล” ในช่วง “เปลี่ยนผ่าน”

ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการ “2 จังหวะ”ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 กับ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 อันเป็น “ของใหม่”

Advertisement

เพื่อมิให้เกิด “ความวุ่นวาย”เหมือนก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 อีก

เป็น “ความจริงใจ” ที่สะท้อน “ความมั่นใจ” ในอำนาจอันได้มาจากกระบวนการ รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

ขณะเดียวกัน ก็เป็น”ความจริงใจ”ที่ยืนยัน “ความไม่มั่นใจ”

1 ไม่มั่นใจว่าโดยอำนาจของ”รัฐธรรมนูญ”จะสามารถกำหนดทิศทางของการเมืองภายใต้กระบวนการของ

“การเลือกตั้ง”ได้อย่างเบ็ดเสร็จ โอกาสของการ “พลิกผัน”และ”แปรเปลี่ยน”มีสูง

ขณะเดียวกัน 1 เป็นความไม่มั่นใจว่าผลงานนับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

เรื่อยมากระทั่งการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2560 จะถือได้ว่าเป็น “ความสำเร็จ”

เพราะหาก “สำเร็จ” ประชาชนย่อม “ชโย” โห่ร้อง

เพราะหากประชาชน “ชโย” โห่ร้อง ผลการเลือกตั้งย่อมเป็นของ”พรรค”และฝ่ายอันพวกเดียวกับกระบวนการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

มิใช่ “พรรคอื่น” มิใช่ “ฝ่ายอื่น”

เหตุเพราะ “ไม่แน่ใจ”ในผลงานและความสำเร็จจากรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 นั้นเอง

จึงจำเป็นต้อง “ต่อท่อ” แห่ง”อำนาจ”เอาไว้

ที่ชวนให้บังเกิดภาวะ “วิตกจริต” ยิ่งกว่านั้นก็คือ หากไม่มั่นใจในผลงานและความสำเร็จของรัฐประหาร

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557กระทั่ง “ตีตั๋ว”ล่วงหน้าผ่าน”บทเฉพาะกาล”

จะทำอย่างไรให้ “ผู้คน” บังเกิดความเชื่อถือและมั่นใจว่ากระบวนการในการทำ “ประชามติ” จะเกิดขึ้นได้

เพราะหากไม่เห็น”ชัยชนะ”ของการเลือกตั้งในปี 2560

การทำ “ประชามติ” ในเดือนกรกฎาคม 2559 ก็สามารถคาดหมายได้ไม่ยากว่าจะดำเนินไปอย่างไร

“ไม่ผ่าน” อย่างแน่นอน

เพราะผลการจะดำเนินไปเหมือนกับการเลือกตั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2550

นั่นก็คือ ชัยชนะเป็นของ”พรรคพลังประชาชน”

นั่นเท่ากับเปิดทางให้ นายสมัคร สุนทรเวช ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เปิดทางให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

เช่นเดียวกับหากผลประชามติเป็นเหมือนกับการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554

นั่นเท่ากับเปิดทางให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็น

นายกรัฐมนตรี”หญิง”คนแรกของประเทศไทย

นั่นก็คือ ชัยชนะของ “พรรคเพื่อไทย”

เมื่อมอง “ท่าที” และ”เจตนารมณ์”ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญประสานกับคณะรัฐมนตรีเช่นนี้

เป็นอัน”เชื่อ”ได้ว่า โอกาสของ”ประชามติ” ยากที่จะเกิดขึ้นได้

เพราะมองไม่เห็น “ชัยชนะ” จากการเลือกตั้ง ก็เท่ากับมองไม่เห็น”ชัยชนะ”จากการทำประชามติ

“ประชามติ” กับ”การเลือกตั้ง”จึงเป็นเรื่องเดียวกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image