โผล่อีกที่ตราด !! ส.ว.แฉรุกพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 130 ไร่ปลูกทุเรียน หวั่นนอมินีจีนเทา จี้กรมชลฯแจง

โผล่อีกที่ตราด !! ส.ว.แฉรุกพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 130 ไร่ปลูกทุเรียน หวั่นนอมินีจีนเทา จี้กรมชลฯแจง

ภายหลังที่คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม กรรมาธิการกฎหมาย และกรรมาธิการงบประมาณ วุฒิสภา ลงพื้นที่ตรวจสอบการตัดไม้บนภูเขา เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่า 2484 จ.จันทบุรี พบว่ามีการบุกรุกถากถางไม้ใหญ่ธรรมชาติไปมากกว่า 2 พันไร่ หรือป่าหายไปเกือบทั้งภูเขานั้น

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ประธานคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมจะเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล เช่น ตำรวจที่ทำคดีในพื้นที่ กรมป่าไม้ กรมชลประทาน จ.ตราด เป็นต้น

“ในส่วนของการบุกรุกพื้นที่ป่า 2484 จ.จันทบุรีนั้น ขณะนี้ 2 แม่ลูกที่ครอบครองพื้นที่ 900 ไร่ โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของพื้นที่บนเขานั้น ได้มาแสดงตัวพร้อมกับเอกสาร ภ.บ.ท.5 ที่อ้างว่าเป็นเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งไม่ถูกต้อง โดยอ้างกับตำรวจว่าพวกเขาเป็นเจ้าของที่ดิน 900 ไร่ ครอบครองมานานแล้ว และที่ผ่านมาได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งไถป่าตัดถนนขึ้นไปบนภูเขา เพื่อขึ้นไปเอาไม้ยางที่ปลูกเอาไว้ ซึ่ง 900 ไร่ ก็ปาเข้าไปเกือบทั้งภูเขาอยู่แล้ว และที่ผิดมากก็คือ ภ.บ.ท.5 ไม่ใช่เอกสารแสดงการเป็นเจ้าของที่ดินแต่อย่างใด แบบนี้คือรุกป่าโดยตรงเลย มีทั้งรุกป่า ลักลอบตัดหน้าดินเพื่อขนดินลงมาด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องแจ้งข้อกล่าวหาเรื่องนี้ให้ชัดเจนด้วย” นายชีวะภาพกล่าว

ADVERTISMENT

นายชีวะภาพกล่าวว่า นอกจากนี้ บริษัทที่ 2 แม่ลูกอ้างว่าไปทำสัญญาให้ตัดไม้ก็ต้องเรียกมาสอบให้หมด เพราะดูจากลักษณะความเสียหายนั้นมีความพยายามทำให้ดินเป็นขั้นบันได โดยมีจุดประสงค์ 3 อย่างคือ 1.เอาไม้ออกไป 2.เอาดินออกไป และ 3.เอาที่ดินไว้ปลูกทุเรียน

เมื่อถามว่า แล้วกรมชลประทานเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้ด้วย ประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กล่าวว่า เมื่อมีกระแสเรื่องตัดไม้เพื่อปลูกทุเรียน โดยนอมินีของกลุ่มทุนจีนออกมาจากสื่อต่างๆ มีการตรวจสอบพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีการแจ้งข้อมูลเข้ามาว่ามีการลักลอบปลูกทุเรียนในพื้นที่เกาะแก่งของอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง โดยพบอยู่ทางทิศใต้ของอ่างเก็บน้ำ พบการปรับพื้นที่เพื่อปลูกต้นทุเรียน ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของชลประทาน อีกจุดอยู่ทางทิศตะวันตกของอ่างเก็บน้ำ ในเขตพื้นที่ชลประทาน พบการปลูกทุเรียนและมะละกอบนพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ พร้อมทั้งมีสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว 2 หลัง ซึ่งไม่พบตัวผู้บุกรุกในพื้นที่ดังกล่าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอ่างเก็บน้ำ พบการบุกรุกพื้นที่กว้าง โดยมีการปรับพื้นที่ป่าให้กลายเป็นสวนทุเรียน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 130 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้างถาวร 2 หลัง แต่ไม่พบตัวผู้บุกรุก

ADVERTISMENT

เมื่อถามว่า เป็นพื้นที่ลับที่เข้าไปลอบปลูกทุเรียนใช่หรือไม่ นายชีวะภาพกล่าวว่า ไม่ใช่พื้นที่ลับ แต่ปลูกกันอย่างโจ๋งครึ่ม ข้อมูลเบื้องต้นเชื่อว่าคนที่เข้าไปดำเนินการปลูกทุเรียนในพื้นที่ดังกล่าวนี้เป็นนอมินีของทุนจีน ซึ่งในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ จะเชิญกรมชลประทานมาชี้แจงและให้ไปดำเนินการให้ถูกต้อง

“ตอนนี้แม้ว่าเรากำลังจะทำให้ผู้ยากไร้ที่ไม่มีที่ดิน ทำให้มีที่ทำกินเป็นของตัวเองอย่างเป็นที่เป็นทาง เช่น คทช.การนิคม ฯลฯ แต่เมื่อกลุ่มคนที่ได้ที่ดินเหล่านี้ยังมีความพยายามเอาที่ดินไปขาย และให้ความร่วมมือกับนายทุนต่างชาติในการถูกว่าจ้างนอมินี ว่าจ้างคนไทยแต่งงานด้วย เพื่อครอบครองที่ดิน ที่ส่วนใหญ่ครอบครองไม่ถูกต้อง ปัญหาแบบนี้ก็ยังเกิดขึ้นอยู่” นายชีวะภาพกล่าว

มีความจุอ่าง 36.800 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่ชลประทาน 39,000 ไร่ ครอบคลุม 15 หมู่บ้าน 5 ตำบล 2 อำเภอ อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการชลประทานตราด ได้ขอใช้ประโยชน์จากกรมป่าไม้เมื่อปี พ.ศ.2542

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image